3 พ.ย.63 – ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงทางออกของสถานการณ์การเมืองโดยการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ว่า ฝ่ายต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน แต่คณะนี้การชุมนุมของราษฎรไปไกลเกินกว่าการมีคณะกรรมการสมาฉันท์แล้ว ตนจึงเสนอให้มีการทำประชามติ ตามกลไกรัฐธรรมนูญ เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง โดยใช้ มาตรา 66 แต่การตั้งคำถามผิดเงินไขรัฐธรรมนูญที่ห้ามถามเรื่องบุคคลหรือเรื่องที่เป็นความขัดแย้ง จึงเสนอให้ให้คำถามเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมาย ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมทางการเมืองที่ฝ่าฝืนกฎหมายชุมนุมสาธารณะ หรือมีการกระทำที่ก้าวล่วงรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 อันเป็นเหตุให้กระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและมีผลกระทบต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ในส่วนของการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์นั้นเห็นด้วยที่จะร่วมกันหาทางออกให้ประเทศ แต่ส่วนตัวเชื่อว่า คณะกรรมการฯชุดนี้ ไม่สามารถหาทางออกได้ เพราะดูจากหน้าตาอดีตนายกรัฐมนตรีที่ประธานรัฐสภาจะเทียบเชิญเข้าร่วมเป็นกรรมการฯ นั้น เชื่อว่า แต่ละคนมีความฝักใฝ่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว จึงตั้งข้อสังเกตว่าจะให้คณะกรรมการฯชุดนี้ เป็นเครื่องมือบีบให้นายกรัฐมนตรีลาออกหรือไม่ รวมถึงการปฏิรูปสถาบัน และแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 1 หมวด 2 ตามข้อเรียกร้อง ตนจะดำเนินการฟ้องคณะกรรมการฯทั้งหมด
“ผมไม่ได้ตั้งธงไว้ล่วงหน้า แต่หากสถานการณ์การชุมนุมคลี่คลาย ก็ไม่จำเป็นต้องทำประชามติ แต่หากยังมีความขัดแย้งมากอยู่ก็ต้องใช้ประชามติเป็นเครื่องมือ ซึ่งทางออกนี้เป็นอีกหนึ่งทางออกที่จะไม่ต้องไปถึงการปฏิวัติยุบสภา หรือ ให้นายกรัฐมนตรีลาออก ก็จะสามารถหาทางออกได้”นายไพบูลย์ กล่าว