ภัยธรรมชาติ จะหนักอีกรอบ 20 มีนาคม 2562 โดยเฉพาะแผ่นดินไหว อันจะเป็นยกสุดท้ายสู่การเปลี่ยนแปลง ตามกรอบเวลา 18 ก.พ.2562-24 มี.ค.2562 จะเปลี่ยนแปลงไปทางสันติสุข หรือ นองเลือด ก็เท่านั้นเอง
เกมส์เลือกตั้ง เป็นเกมส์ลบ เดินหมากมาตาไหนในกระดานก็หายนะ ปลายทางก็จะจบมิต่างจอมพลประภาศ จารุเสถียร และจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีหลักคือ จอมพลถนอม ให้จอมพลประภาศ ทุจริตคอรัปชั่น จนเป็นต้นเหตุของการถูกขับไล่
ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้แก่ จอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นบุตรชายของจอมพลถนอมและเป็นบุตรเขยของจอมพลประภาส
การปกครองในยุคของ ถนอม–ประภาส นั้นเรียกกันโดยทั่วไปว่า เป็นยุคระบอบเผด็จการทหารและมีการวางทายาททางการเมืองกันอย่างชัดเจน
รัฐบาลเผด็จการทหารภายใต้การนำของจอมพล ถนอม กิตติขจร ประกาศลาออก เมื่อเย็นวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในช่วงท้ายของเหตุกาณ์นองเลือด 14 ตุลา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อจัดตั้งรัฐบาลพลเรือนแทน
ในคืนวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จอมพลถนอม กิตติขจร พร้อมครอบครัว ได้ลี้ภัยการเมืองไปอยู่บอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ แต่ถูกคนไทยที่อาศัยอยู่ที่นั่นขับไล่ จึงย้ายไปอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ก่อนจะกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 กลายเป็นชนวนให้เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา ในปีพ.ศ. 2519 ได้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของจอมพลถนอม จนนำไปสู่การยึดทรัพย์สินที่ได้มาโดยไม่สุจริตต้องเป็นจำนวนมาก
ดวงเมืองที่วางไว้ 24 มีนาคม 2562 ก็ตกภพโลกาวินาศ อันตรงกับการเลือกตั้งของ จอมพล ป. พิบูลณ์สงคราม 26 กุมภาพันธ์ 2500 สุดท้ายจอมพล ป. พิบูลณ์สงคราม ที่ถูกเรียกว่า “เลือกตั้งสกปรก”
บั้นปลายชีวิตของจอมพล ป. ในเย็นวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เมื่อถูก ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายทหารรุ่นน้องที่ไว้ใจและมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้ กระทำการรัฐประหาร ซึ่งได้หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตามเพียง 2 คน ไปอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่นั่น ครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางรัฐบาลญี่ปุ่นถือว่าพิบูลสงครามเป็นผู้ที่มีบุญคุณต่อญี่ปุ่น[11] เคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย
จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี โดยก่อนตาย ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนคนปกติ ยังรับประทานอาหารมื้อเที่ยงพร้อมกับครอบครัวและคนสนิทได้เหมือนปกติ แต่ทว่าเมื่อถึงเวลาเย็นก็ได้ทรุดลงและถึงแก่ความตายอย่างกะทันหัน (ซึ่งในเรื่องนี้บางส่วนเชื่อกันว่าเป็นการลอบวางยาพิษ ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านั้น จอมพล ป. เริ่มได้สานสัมพันธ์กับ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎรยุคก่อตั้งมาด้วยกัน แม้ครั้งหนึ่งทั้งคู่จะเคยเป็นศัตรูทางการเมืองกันมาก่อนก็ตาม
ร่างจอมพล ป. ได้มีพิธีฌาปนกิจขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น ก่อนที่จะมีการนำอัฐิกลับคืนสู่ประเทศไทยในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2507 โดยมีพิธีรับอย่างสมเกียรติจากทั้ง 3 เหล่าทัพนั้นคือการจบชีวิต อย่าน่าอนาถของจอมพบ ป. พิบูลณ์สงคราม
สิ่งที่น่าสนใจคือ ใครคือคนกำหนดวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 เป็นวันเลือกตั้ง มีวัตถุประสงค์อะไร กระทำโดยไม่รู้ หรือกระทำโดยเจตนา(ไส้ศึก) เกมส์นี้อันที่จริงเดินไม่ยาก หากมีความแม่นยำในยุทธศาสตร์ “เสียสละเพื่อชาติ” ก็จะมิเดินซ้ำรอยประวัติศาสตร์ ใช้คนให้ถูก เลือกคนให้เป็น นำพาชาติเข้าสู่การปฏิรูปประเทศ เข้าสู้แดนศิวิไลซ์ แค่นี้ประเทศก็จะสันติสุขโดยง่าย ทุกศึกทุกสงครามมิได้เอาชนะด้วยสรรพกำลัง ทุกศึกทุกสงครามเอาชนะด้วยสติปัญญาทั้งสิ้น ด้วยความปราถนาดี
“ฟ้าครามครื่นคลืนฝน จนแผ่นดินต้องสั่นไหว ฟ้าสีทองผ่องอำไพ สันติสุขจะมีชัยในแผ่นดิน “
ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
14 มีนาคม 2562
อ้างอิง
เลือกตั้ง สกปรก