\\\\\\\\\\\………………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฏหมาย
“ศึกษากรณีตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ ในคดีที่ศาลลงโทษจำคุก จำเลยโทษจำให้รอการลงโทษ” เป็นกรณีศึกษา
ข่าวทนายคนดังฟ้อง คณะบุคคล ที่ตั้งตัวเองเป็นประธานชมรม เป็นนักบุญช่วยเหลือคนทุกข์ยากเดือดร้อนด้วยทุนของตนเอง และโอ๋อวดตนเองเป็นบุคคลสาธารณะ หรือสื่อมวลชน
กล่าวหาทนายคนดังว่า “ ทำคดีทุก ประเภท มุ่งประสงค์ต่อผลอันเกิด
จาก การกระทำผิดต่อกฏหมาย (ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเต้นคดี ) เพื่อให้ผู้กระทำผิดพ้นผิดสร้างพยานหลักฐานเท็จ เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับข้อสันนิษฐานตามกฏหมายให้ได้รับโทษน้อยลงต่อความเป็นจริง หรือไม่ต้องรับโทษนั้น
เป็นเหตุให้ทนายคนดัง เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง ประธานชมรม นักบุญคนนี้ เป็นจำเลยต่อศาล ในความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 326 ชึ่งมีโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และการกระทำของจำเลยนี้ ได้กระทำผิดด้วยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 328 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท เป็นบทลงโทษให้จำเลยผู้กระทำผิดต้องได้รับโทษหนักขึ้น นั้น
กรณี ถ้าศาลมีคำพิพากษาว่า ลงโทษจำเลยมีความผิดตามประมวลหมายอาญามาตรา 328 ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโทษจำคุกให้ รอการลงโทษ ถามว่า โจทก์ จะอุทธรณ์ ขอให้ ศาลสูง ไม่รอการลงโทษได้หรือไม
คดีอาญาเรื่องใด ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาอัตราโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดเป็นสำคัญ
ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฏหมายอาญา 326 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 20000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ ยังใช้สิทธิอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องขอให้ ศาลที่นั้งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น รับรองหรืออนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
ด้วยผลของการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 แม้จะมีบทลงโทษเพียง 2 ปี แต่ มีโทษปรับ (สองแสนบาท) เป็นบทลงโทษที่หนักขึ้น
ศาลฎีกาได้วินิจฉัย เป็นบรรทัดฐาน ว่าถ้าบทหนักไม่ต้องห้าม ก็ถือว่าทุกบทไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ด้วย คดีของโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2561
ด้วยเหตุดังกล่าว ถ้าโจทก์เห็นว่าที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยนั้น ยังไม่สาสมกับความประพฤติของจำเลยที่ได้กระทำความผิด โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธร ณ์ ขอศาลอุทธรณ์ ลงโทษจำเลยได้ตามที่กฎหมายกำหนดได้
ถ้าเห็นว่า การรอการลงโทษนั้น ไม่ทำให้จำเลยรู้สัมนึกการที่จำเลย ยืนยันว่า โจทก์ประกอบอาชีพทนายความ ทำคดี มุ่งประสงค์ต่อผลอันเกิดจากการกระทำผิดต่อกฏหมาย (ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งเต้นคดี ) เพื่อให้ผู้กระทำผิดพ้นผิดหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดให้รับโทษหรือรับโทษน้อยลง เกินกว่าความเป็นจริง ด้วยการพยานหลักฐานเท็จก็ดีพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องที่ร้ายแรง
แม้จะปรากฏว่าจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน หรือมีเหตุอื่นดังที่จำเลยอ้างว่า”เป็นนักบุญช่วยเหลือคนทุกข์ยากเดือดร้อน นั้น ก็เพียงการสร้างภาพ ให้ผู้ไม่รู้ความจริง กดไลน์ กดแชร์ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
แม้จำเลยจะอ้างเป็นสื่อมวลชน มีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาหรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น ๆ แต่ก็หาอาจกระทำการใด ๆ ที่เป็นการก้าวล่วงหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น นั้นได้
จึง ไม่ใช่ แสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม อันเป็นวิสัยของประชาชนพึ่งกระทำ พฤติการณ์การกระทำความผิดไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรับฟังเพื่อรอการลงโทษและเหตุอื่นๆ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2563
จึงเป็นกรณีศึกษา
ดร. สุกิจ พูนศรีเกษม