นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ ที่แสดงความคิดเห็นทางการเมือง ในทิศทางเดียวกับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนจะเป็น “ศิลปินแห่งชาติ” ได้โพสข้อความ
หลัง เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกและประโยชน์ตอบแทนของศิลปินแห่งชาติ (ฉบับที่ 3 )พ.ศ. 2563 โดยการแก้ไข เพิ่มเติม รายละเอียดประเด็นสำคัญ ตอนหนึ่งปรากฎดังนี้ “หากปรากฏว่าศิลปินแห่งชาติผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในควำมผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ คณะกรรมการโดยมติด้วยคะแนนเสียงอย่างน้อยสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่อาจยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติได้เมื่อได้ยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใดเป็นศิลปินแห่งชาติตามวรรคสอง ให้งดการจ่ายประโยชน์ตอบแทนตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติ”ได้มีการโพสต์ข้อความว่า
พร้อมแสดงรายละเอียด “ศิลปินแห่งชาติ” ในทุกสาขา เท่าที่ผมพอมีประสบการณ์มาบ้าง รายชื่อต่างๆที่มีการเสนอเข้ามาในแต่ละปี จะได้รับการ “ชักเข้าชักออก” อย่างเป็นทางการอยู่ 2 ขั้นตอน คือ
1.”คณะอนุกรรมการ” ในแต่ละสาขา ( ประมาณ 3-5 คน ตามปกติจะมี “ศิลปินแห่งชาติ” ได้รับเชิญเข้าร่วมเป็นอนุกรรมการในแต่ละสาขาด้วย 1-2 คน เช่นในปีที่ผมได้เป็น “ศิลปินแห่งชาติ” อนุกรรมการที่นำเสนอชื่อและต่อสู้ให้ผม คือ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล )
2.คณะกรรมการกลาง ( 15 คน ) ที่จะ “ขักเข้าชักออก” อีกครั้ง และอาจจะมีการสอดไส้ได้ในทุกขั้นตอน เช่นรายชื่อที่เคยมีการเสนอไว้ก่อนหน้าในแต่ละปี แทนที่จะอยู่ในลำดับขั้นตอนก่อนหลัง เพื่อนำมาพิจารณาใหม่ในปีถัดไป ก็อาจถูกชักออก ให้ Out of Orbit ( หลุดวงโคจร ) ไปเลย แล้วนำเอารายชื่อใหม่เข้ามาสมทบ
แต่กระนั้น ถ้าหากไม่มีตัวแทนของ “อนุกรรมการ” เข้าไปยืนยันต่อสู้ให้ใน “คณะกรรมการกลาง” ( ที่เรียกว่า “ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม” 15 คน ที่อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้เชิญเข้ามาจาก “บุคคลภายนอก” ) และรายชื่อที่ผ่านขั้นตอนมาจาก “คณะอนุกรรมการ” นั้นก็อาจถูกชักเข้าชักออกอีกครั้งได้ โดยไม่ได้มีหลักทั้งในเรื่อง Milestone ( รากเหง้าเชิงประวัติ ) และในเรื่อง Priorities ( ไทม์ไลน์ก่อนหลัง ) ซึ่งเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ ทั้งในเรื่องข้อมูลความรู้ การประเมินผลงาน และ อคติทางการเมือง
หมายเหตุ : คณะกรรมการกลาง และ คณะอนุกรรมการ ในแต่ละสาขา ที่เข้ามาทำหน้าที่เลือกคัด “ศิลปินแห่งชาติ” ในแต่ละปี มีเบี้ยประชุม และค่าเดินทางในการมาประชุมทุกครั้งจากเงินภาษีของประชาชน แต่ประชาชนกลับไม่ค่อยทราบความโปร่งใสว่า คณะกรรมการทั้ง 2 ขุดดังกล่าว มีหลักเกณฑ์ในการเลือกสรร และมีกำหนดเวลาในการทำงานอย่างไร ( โดยมักจะอ้างว่าเป็นการ “พิจารณาลับ” ของกระทรวงวัฒนธรรม )
ขณะที่ก่อนหน้านั้น นายสุชาติ ได้มีการเคลื่อนไหววิพากษ์วิจารณ์ ในโอกาสครบรอบ 6 ปีรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 และเหตุการณ์การก่อจลาจล โดยการปลุกระดมของแกนนนปช. จนสุดท้ายนำไปสู่การเผาบ้านเผาเมือง สร้างความเสียหายให้กับประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล จำนวนหลายข้อความ ตัวอย่างอาทิ “ศิลปินแห่งชาติ” มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง อันเนื่องมาจาก “การสังหารหมู่ประชาชน” เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553
รวมถึงการแสดงความเห็นร่วมกับความคิดของ นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ด้วยข้อความว่า “ผมก็เชื่อเช่นนั้น และเชื่อว่า “ศิลปินแห่งชาติ” ทุกคน ทุกสาขา มีหน้าที่ตรวจสอบ “ความถูกต้อง” อันเนื่องมาจากการสังหารหมู่ประชาชนเมื่อปี 2553 การตรวจสอบว่าอะไรผิด อะไรถูก เพื่อให้เกิดความถูกต้องทางจริยธรรม เป็นภารกิจสำคัญของคนทำงานศิลปะ หาใช่เป็น “ความประพฤติเสื่อมเสีย” ไม่”