การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้
เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมาย ของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่น
“ตามที่กฎหมาย
…………………\\\\\\\\\…………………………………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษากรณี”ศาลอาญาเพิกถอนหมายจับ สว ทรงเอ
ข้อเท็จจริงในคดีนี้ปรากฏว่า มีนายตำรวจฝ่ายสืบสวน ท่านหนึ่งยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับ”สมาชิกวุฒิสภา “ผู้พิพากษาเวร ที่ศาลอาญาได้พิขารณาคำร้องแล้ว ได้เรียกไต่สวนแล้วจึงออกหมายจับให้ตามคำขอ
หลังจากที่ศาลออกหมายจับแล้ว ได้ปรากฏต่อ ท่านอธิบดีศาลอาญาและท่านรองอธิบดีศาลอาญาในภายหลังว่า ผู้ต้องหาเป็นวุฒิสภา และผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูงในรัฐบาล จึงไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี มีการออกหมายไปโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ศาลอาจมีคำสั่งให้เพิกถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมายเช่นว่านั้นได้ โดย
ขอให้ผู้พิพากษาเวรท่านนั้น เพิกถอนหมายจับผู้ต้องหาและระงับการดำเนินการตามหมายจับไว้ชั่วคราว หมายจับอาจสิ้นผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 59 วรรคสี่ คำสั่งที่ศาลอาญาที่ให้เพิกถอนหมายจับ จึงเป็นดุลยพินิจที่มีกฏหมายรองรับ ไม่เป็นการผิดหลงหรือผิดพลาดแต่อย่างไร เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยชอบแล้ว
นอกจากนี้ ศาลมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ร้องขอออกหมายจับ จัดการแก้ไขเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องตามที่เห็นสมควรก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้มีคำพิพากษาที่ศาลจังหวัดอยุธยาได้อ่านเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2555 คือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2555
การที่มีบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นตำรวจ หรือนักการเมือง นำข้อมูลที่สนทนาในห้องท่นอธิบดีศาลอาญามาเปิดเผย อันเป็นการลดคุณค่าู้พิพากษา ศาลมีอำนาจ เรียกผู้เกี่ยวข้องมาไต่สวนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้ นอกจากนี้ยังมีความผิดฐาน ดูหมิ่นศาลด้วย