2. มีการจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีก 10 ฉบับ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอิสระ และการเลือกตั้งที่เอื้อต่อการสืบทอดอำนาจ และใช้อำนาจต่อไปในอนาคต
3. ถึงแม้ พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง ประกาศใช้แล้วก็ไม่ยกเลิกคำสั่ง คสช. ทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ จากนั้นก็ใช้ ม.44 ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขเนื้อหาสาระของกฎหมายพรรคการเมือง โดยเฉพาะการรีเซตสมาชิกพรรคทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นกระบวนการของการนำไปสู่การสืบทอดอำนาจ
4. การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สอดรับการสืบทอดอำนาจหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การตั้งคำถามประเด็นการเมือง ให้ประชาชนตอบทั้ง 4 ข้อ และคำถาม 6 ข้อ รวมถึงการลงพื้นที่ที่มีความถี่สูง มีการอัดฉีดเม็ดเงินในการผลักดันโครงการต่างๆ จำนวนมาก
5. เครือข่ายของผู้มีอำนาจหลากหลายฝ่ายได้เดินสาย ขยายฐานรวบรวม นักการเมือง พรรคการเมือง รวมถึงการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ เพื่อเป็นฐานรองรับการเข้าสู่อำนาจตามยุทธศาสตร์สืบทอดอำนาจ
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า การประกาศตัวเป็นนักการเมือง ที่มาจากทหาร และไม่ปิดทางตนเองในการเป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในการเดินไปสู่เป้าหมายในการสืบทอดอำนาจ และเชื่อว่านับจากนี้เป็นต้นไป อาจมีการใช้ ม.44 และใช้อำนาจต่างๆ เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมาย
แต่การจะดำเนินการไปสู่เป้าหมายได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขปัจจัยหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง ก็คือ การใช้อำนาจในช่วงหนึ่งปีกว่าๆ หลังจากนี้ไปจะต้องพิสูจน์ให้สังคมเห็นว่าท่านนายกฯ และรัฐบาล รวมทั้งบริวารแวดล้อม ของท่านตั้งใจทำงาน ใช้อำนาจเพื่อส่วนรวม ไม่ได้ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของตนเอง และพวกพ้อง และไม่แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ แต่อย่างใด แต่ถ้าใช้อำนาจเพื่อตนเอง และพวกพ้องปล่อยให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ หนทางแห่งการสืบทอดอำนาจก็อาจจะไม่โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไปตามใจปรารถนาก็ได้
Cr.mgr
สำนักข่าววิหคนิวส์