ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #อาลัย ‘รัฐบุรุษแห่งตำนาน’ คู่แผ่นดิน ‘พล.อ.เปรม’ ถึงแก่อสัญกรรม

#อาลัย ‘รัฐบุรุษแห่งตำนาน’ คู่แผ่นดิน ‘พล.อ.เปรม’ ถึงแก่อสัญกรรม

26 May 2019
2217   0

พลเอกเปรม ติณสูรานนท์ ประธานองคมนตรี ได้ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยวัย 99 ปี เมื่อเวลา 05.00 น.โดยประมาณ โดยมีอาการหยุดหายใจ และได้นำส่งโรงพยาบาล พระมงกุฎ ก่อนหน้านี้ท่านมีอาการเช่นนี้มา 3 ครั้ง แต่ก็ปลอดภัยดี

ก่อนแก่อนิจกรรม สิ่งที่พลเอกเปรม ได้บอกกับพลเอกเกษม นภาสวัสดิ์ เลขานุการส่วนตัวว่า ต้องการคือ ร่วมจัดงานพระบรมราชาภิเษกให้สำเร็จ และในวันเปิดประชุมสภาท่านได้พยายามจะเข้าร่วมประชุม แต่งชุดขาวแล้ว แต่ร่างกายไม่ไหว จนกระทั้งเสียชีวิต

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี รัฐบุรุษ ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี 2523 ถึง 2531

ภายหลังสงคราม พลเอกเปรมรับราชการอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนทักกี พร้อมกับพลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ และพลเอกวิจิตร สุขมาก เมื่อปี 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จังหวัดสระบุรี

พลเอกเปรมได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพลตรี เมื่อปี 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้านี้ ท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า “ป๋า” และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า “ลูก” จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือ ป๋าเปรม และคนสนิทของท่านมักถูกเรียกว่า ลูกป๋า และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน
พลเอกเปรม ย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน ในปี 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อปี 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2521

นอกจากยศ พลเอก แล้ว พลเอกเปรม ยังถือว่าเป็นหนึ่งในบุคคล ที่ในปัจจุบันที่มิใช่พระบรมวงศานุวงศ์ ที่ได้รับยศ พลเรือเอก ของกองทัพเรือ และ พลอากาศเอก ของกองทัพอากาศ ด้วย จากการพระราชทานโปรดเกล้าฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 ในระหว่างที่ พลเอกเปรม ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ (แต่โดยมากจะนิยมใช้ พลเอก มากกว่า)

ในปี 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกเปรมได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วงปี 2511 – 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร

พลเอกเปรมเข้าร่วมรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร

พลเอกเปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก
ในช่วงนั้น พลเอกเปรมได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพลเอกเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายไกรสร ตันติพงษ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัติย์ และประธานสส. และต่อมานายไกรสร ได้มาทำหน้าที่ที่ปรึกษาและทีมยุทธศาสตร์การเมือง ของพลเอกเปรม แก้ปัญหาทั้งนอกและในสภา ซึ่งตลอดระยะเวลาของพลเอกเปรมในการบริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย เช่น การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาล และเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศ การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยอย่างได้ผล โดยนำนโยบายการใช้ “การเมืองนำการทหาร” ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 66/2523 เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด

พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42: 3 มีนาคม 2523 – 29 เมษายน 2526 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบกับการเสนอให้ยืดอายุการใช้บทเฉพาะกาลของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มีการเลือกตั้งในวันที่ 18 เมษายน 2526

สมัยที่ 2 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43: 30 เมษายน 2526 – 4 สิงหาคม 2529 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากรัฐบาลแพ้เสียงในสภา ในการออกพระราชกำหนดการขนส่งทางบก มีการเลือกตั้งในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529

สมัยที่ 3 สมัยที่ 3 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44: 5 สิงหาคม 2529 – 3 สิงหาคม 2531 สิ้นสุดลงภายหลังการยุบสภา ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เนื่องจากเกิดปัญหาขึ้นในพรรคประชาธิปัตย์ เกิดกลุ่ม 10 มกรา ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นเอกเทศภายในพรรค กลุ่ม 10 มกรา นี้ลงมติไม่สนับสนุนพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ที่รัฐบาลเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภา จนทำให้พระราชบัญญัติไม่ผ่านการเห็นชอบ พรรคประชาธิปัตย์แสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวจากการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล พลเอกเปรมจึงประกาศยุบสภา มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531

ในช่วงปลายรัฐบาลพลเอกเปรม ขณะที่กำลังจะมีการเลือกตั้ง มีกระแสการคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 จากกลุ่มนักวิชาการ

ภายหลังการเลือกตั้ง ในคืนวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 หัวหน้าพรรคการเมืองที่จะร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคชาติไทยเป็นแกนนำ ได้เข้าพบพลเอกเปรมที่บ้านพัก เพื่อเชิญให้มาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 4 แต่พลเอกเปรมปฏิเสธ ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม 2531 จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศขณะนั้น) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17

หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

บุคลิกส่วนตัวพลเอกเปรมเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย จะให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นเรียกขานว่า เตมีย์ใบ้ และได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 สิงหาคม 2531 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกเปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 สิงหาคม 2531 จากนั้นในวันที่ 29 สิงหาคม 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 สิงหาคม 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี

มีนักวิชาการและสื่อว่า พลเอกเปรมมีบทบาทในการเมืองไทย แม้รัฐบาลทหารหลังรัฐประหารปี 19 กันยายน 2549 และ 22 พฤษภาคม 2557 ปฏิเสธข่าวนี้

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เกิดที่ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา ชื่อ “เปรม” นั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุล “ติณสูลานนท์” พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2462 เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวน 8 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์) มีพี่น้องคือ

พลเอกเปรม ชื่นชอบดูการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะกีฬามวยและฟุตบอล มักเปิดโอกาสให้นักกีฬาเข้าพบเพื่อคารวะ และให้กำลังใจ ก่อนจะเดินทางไปแข่งขันในต่างประเทศอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังชื่นชอบการร้องเพลง ระยะหลังได้ฝึกหัดเล่นเปียโนกับ ณัฐ ยนตรรักษ์ และประพันธ์เพลงเป็นงานอดิเรก พลเอกเปรมมีผลงานเพลงบันทึกเสียงจำหน่าย บรรเลงดนตรีโดย กองดุริยางค์ทหารบก

รางวัลและเกียรติยศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้รับพระราชทานยศ “นายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดน” เป็น พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก นายกองใหญ่ เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี 2528

เบื้องหลังที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้ ที่ท่านไกรสร ตันติพงษ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นอาจารย์สอนยุทธศาสตร์การเมืองการปกครอง และเป็นอาแท้ๆของผม ที่อาจถูกมองว่าเป็นกุนซือ ที่อยู่เบื้องหลังที่คนไทยน้อยคนจะทราบ ได้เล่าให้ผมฟังว่า พลเอกเปรม คือบุตรบุญธรรมของสมเด็จย่า หลังจากการสวรรคตของในหลวงในรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร โดยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จย่าได้รับมาเป็นบุตรบุญธรรม ท่านจึงมีความใกล้ชิดกับในหลวงในรัชการที่ 9 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นอย่างมาก และได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี จากในลวงในรัชการที่ 10 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราบจนกระทั้งถึงแก่อนิจกรรม

คำพูดสุดท้ายที่พลเอกเปรม ได้ฝากให้เลขาคนสนิทฝากมาถึงผม ให้ทำภาระกิจเพื่อชาติบางประการ โดยท่านบอกว่า “ท่านเชื่อมือ” คือสิ่งที่ประทับใจและจะเป็นสิ่งที่ผมจะจดจำตลอดไป

แม้พลเอกเปรม ท่านจะจากไป ผมในฐานะประชาชนคนธรรมดา จะยังคงสืบต่อเจตนารมณ์ ของพลเอกเปรม ในการปกป้องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน ต่อไปจนสุดกำลัง ดั่งที่ท่านไกรสร ตันติพงษ์ อาจารย์ผมได้เน้นย้ำและสั่งสอนให้ปกป้อง จนถึงท่ีสุด

“ตำแหน่งอยู่ได้ไม่นาน แต่ตำนานอยู่ตลอดไป”

ดร.เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
26 พฤษภาคม 2562

สำนักข่าววิหคนิวส์