อีก 2 วันรู้ผลแก้รธน.ได้หรือไม่
3 พรรคใหญ่ลุ้นชิงได้เปรียบ
10 กันยายน 2564 การเมืองจะเข้มข้นและได้ลุ้นกันอีกครั้ง เพราะเป็นวันโหวตวาระ 3 แก้รัฐธรรมนูญจะผ่านได้หรือไม่ และหากแก้ได้แล้ว ก็ยังต้องไปลุ้นวิธีการคิดคะแนน ส ส บัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์ อีกต่อหนึ่ง
เพราะในร่างแก้ไขรธน.60 ที่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาในวาระที่ 2 นั้น เนื้อหาหลักๆมีเพียง
1.เลือกตั้งส.ส.เขต 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน
2.บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ใบหนึ่งเลือกส ส .เขต อีกใบเลือกส.ส.บัญชีรายชื่อ
มองผิวเผิน น่าจะผ่านได้ไม่มีปัญหา เพราะเป็นแนวทางที่กมธ.เสียงข้างมากได้แก้ไขปรับปรุงเอง แม้ในชั้นแปรญัตติ จะพลั้่งเผลอออกแบบไปไกลว่าหลักการที่ผ่านความเห็นชอบในวาระ 1 คือไปก้าวล่วงอำนาจกกต. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรธน. เรื่องกรอบเวลาการประกาศรับรองผลเลือกตั้งจากเดิม 2 เดือนเป็นภายใน 1 เดือน
แต่การเมืองเป็นเรื่องไม่แน่นอน ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรจริงๆ เมื่อมีข่าววงในว่า อาจไม่รื่นไหลผ่านวาระ 3 แบบง่ายๆอย่างที่คิดแต่แรก
การกลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบแบบรัฐธรรมนูญปี 40 ไม่ใช่แค่ปุจฉาจะถอยหลังลงคลองหรือไม่เท่านั้น แต่ยังมีความกังขาด้วยว่า บัตรเลือกตั้ง 2 ใบจะเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใหญ่ที่บางคนต้องการให้’ใหญ่กว่านี้’ได้จริงหรือไม่
เนื่องจากรธน.40 ที่ออกแบบเพื่อให้พรรคการเมืองเข้มแข็งนั้น พรรคที่ได้เปรียบ ผ่านประสบการณ์ดังกล่าว และกลายเป็นพรรคการเมืองใหญ่ขนาดตั้งรัฐบาลได้พรรคเดียว ฝ่ายค้านตรวจสอบไม่่ได้เพราะจำนวนส.ส.ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ก็คือพรรคของตระกูลชินวัตร ซึ่งยังมีความพร้อมทั้งบุคคลากร ยุทธปัจจัย สายสัมพันธ์ที่แน่นปึ๊กกับพรรคและนักการเมืองที่ผลัดเปลียนเวียนหน้าย้ายพรรคโน้นมาพรรคนี้ รวมทั้งยังมีปฏิกริยาเคลื่อนไหว ทดสอบรัฐบาลและ’บิ๊กตู่’หัวปั่นไม่จบไม่สิ้น
แม้ตอนนี้รัฐบาลและพปชร.ยังใช้’สายตรง’และสั่งการนักการเมืองที่ว่าให้ซ้ายหันขวาหันได้ แต่หากเข้าสู่เวทีเลือกตั้่ง ก็ไม่มีหลักประกันใดๆว่า จะไม่ย้ายค่ายเปลี่ยนโปรเหมือนกลยุทธ์ที่พปชร.ใช้ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา
แกนนำและศูนย์กลางอำนาจไม่มั่นใจในเรื่องนั้ เป็นเหตุให้ท่าทีของส.ว.บางส่วนเริ่มมีสัญญาณบางอย่างในการโหวตเห็นชอบวาระ 3 ซึ่งนอกจากเสียงสนับสนุนจะต้องเกินกว่าครึ่งหนึ่งของรัฐสภาหรือสองสภารวมกันแล้่ว ในจำนวนนี้ ยังต้องใช้เสึยงส.ว.ไม่น้อยกว่า 1ใน 3 ของเสียงส.ว.ทั้งหมด คือประมาณ 84 เสียง
ขณะที่หลักเกณฑ์ กติกา รวมถึงวิธีรวมคะแนนและคิดจำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่ได้ระบุไว้ในร่างแก้ไขฉบับนี้ เพียงบัญญัติไว้ในวรรคสอง มาตรา 91 ให้ไปกำหนดรายละเอียดต่างๆในพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.อีกทีหนึ่ง
จึงจะเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องไปลุ้นไปติดตามในชั้นการแก้ไขกฎหมายลูก ว่าสุดท้ายจะกลับไปใช้แบบระบบคู่ขนาน Mixed Member Majoritarian หรือ MMM ตามรัฐธรรมนูญ ปี 40 หรือไม่
หรือจะเปลี่ยนไปใช้แบบเยอรมัน หรือระบบจัดสรรปันส่วนผสม Mixed Member Proportional หรือ MMP ที่ส.ว.บางส่วน อาทิ นายวันชัย สอนศิริ ได้พูดสนับสนุน โดยให้เหตุผลว่าเป็นระบบที่สะท้อนคะแนนเสียงของประชาชน และสอดคล้องกับคะแนนนิยมที่เป็นจริงของการเลือกพรรคการเมืองนั้นๆ โดยจะนำคะแนนพรรคไปใช้คิดคำนวณจำนวนส.ส.ที่พรรคพึงจะมี
วิธีคิดแบบ MMP นี้ พรรคก้าวไกลก็เห็นด้วยและสนับสนุน เช่นเดียวกับพรรคขนาดกลาง เช่น ปชป. และชพน. เพราะมีโอกาสจะได้แชร์จำนวนส.ส.จากพรรคการเมืองใหญ่ได้มากกว่าระบบ MMM และระบบ MMA หรือจัดสรรปันส่วนคะแนน Mixed Member Apportionment ที่ใช้ในการนับคะแนนเลือกตั้ง มี.ค.62 ที่ผ่านมา
2 พรรคใหญ่ 2 ขั้ว พปชร.และเพื่อไทย คงได้ประลองพลังกันอีกรอบ เพราะคงมุ่งหวังความได้เปรียบ สำหรับศึกเลือกตั้งครั้่งหน้า โดยมีก้าวไกลเฝ้าดูอยู่ไม่ห่าง หวังอานิสงส์จากวิธีคิดส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์อยู่เช่นกัน
ประจักษ์ มะวงศ์สา