วันที่ 5 มีนาคม 2566 ศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ รายงานตรวจพบจุดความร้อน หรือฮอตสปอต ในช่วงเช้าจำนวน 88 จุด กระจายอยู่ในพื้นที่หลายอำเภอ เช่น อำเภออมก๋อย 16 จุด, ฮอด 11 จุด, ดอยเต่า 9 จุด, แม่วาง 7 จุด, เชียงดาว 7 จุด, แม่ออน 7 จุด, พร้าว 5 จุด, แม่แตง 5 จุด, จอมทอง 4 จุด, สันทราย 3 จุด, สันกำแพง 3 จุด, กัลยาณิวัฒนา 3 จุด, ดอยสะเก็ด 2 จุด, ไชยปราการ 2 จุด ส่วน เวียงแหง ดอยหล่อ หางดง 1 จุด และแม่แจ่ม เกิดขึ้นอำเภอละ 1 จุด
.
โดยไฟป่าและการเผาที่ยังเกิดขึ้นติดต่อกันนานนับสัปดาห์ แม้อยู่ในช่วงประกาศห้ามเผา ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2566 ทำให้เกิดการสะสมฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในอากาศ โดยเฉพาะในตัวเมืองเชียงใหม่ที่ถูกปกคลุมด้วยหมอกควันสีเทาจนท้องฟ้าไม่สดใส ขณะที่ค่า PM 2.5 ในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่หลายจุดเกินค่ามาตรฐาน อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
.
ส่วนดัชนีคุณภาพอากาศ หรือ AQI ของเชียงใหม่วันนี้ แอปพลิเคชัน AirVisual รายงานเมื่อเวลา 09.00 น. ยังอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพติดท็อป 10 ของโลก โดยมีคุณภาพอากาศแย่อยู่ในอันดับ 6 มี AQI สูงกว่า 186 ไมโครกรัม ขณะที่อันดับ 1 ของโลกในวันนี้คือ เมืองธากา ประเทศบังกลาเทศ AQI สูงกว่า 322
——————————-