ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสต์ระบุข้อความว่า..
ความหมายของ คณะสงฆ์
…………………\\\\\……………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
เปิดมุมมองข้อกฎหมายแจ้งความดำเนินคดี แพรรี่ ในความผิด ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ นั้น ต้องดู ประวัติศาสตร์ของกฎหมายไทย เช่น กฎพระสงฆ์ ซึ่งเป็นกฎหมายท่ีใช้ในการปกครองพระสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่๑
อันเป็นรากฐานของ การกําหนดบทบัญญัติในพ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ในหลายมาตราน้ัน ได้บัญญัติมุ่งเอาโทษ ให้ไว้แก่บุคคลทั้ง ๒ ฝ่าย
คือ ฝ่ายพระสงฆ์และฝ่ายฆราวาส เมื่อประพฤติตน อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อพระพุทธศาสนาไว้อย่างชัดเจน
ที่รัฐจะต้องให้ความคุ้มครองความบริสุทธิ์ ของศาสนาพุทธอันเป็นศาสนาประจําชาติไทย ด้วยการกําหนดให้การประพฤติ ผิดพระธรรมวินัยของพระภิกษุในข้อร้ายแรงในสายตาของพุทธศาสนิกชนน้ัน
เป็นความผิดและมีโทษทางอาญา และให้ถือว่าการกระทําความผิดอาญาขณะ เป็นพระภิกษุสงฆ์เป็นเหตุเพิ่มโทษในบทบัญญัติแห่งความผิดต่าง ๆ เพราะได้
กระทําผิดในขณะครองสมณะเพศอันเป็นสถานะท่ีได้รับความเคารพและศรัทธา อย่างสูงในสังคมไทย และย่ิงไปกว่านั้นเพื่อให้เกิดผลในการปกป้องพระพุทธศาสนา มากที่สุดควรจะมีการบัญญัติบทลงโทษสําหรับประชาชนผู้รู้เห็นเป็นใจหรือ มีส่วนร่วมในการก่อให้พระภิกษุสงฆ์กระทําความผิดนั้น ๆ ด้วย
กรณีทนาย ธ.ไปแจ้งความดำเนินคดีกับคุณไพรวัลย์ ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 44 ตรี “ผู้ใดใส่ความคณะสงฆ์…อันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย หรือความแตกแยก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท นั้น
เป็น”กฏหมายโดยเฉพาะ “ที่ใช้กับพระสงฆ์” ตำรวจผู้รับแจ้งความ นั้น จะต้องดำเนินคดีไปตามกฏหมายต่อไป ผิดหรือถูกนั้น เป็นเรื่องของขบวนการยุติธรรมที่จะต้องพิจารณาตามลำดับชั้นศาล
ที่ทนายเดชา กับ ทนายกองทัพธรรมอย่าง ทนายอนันชัย กับ ทนายเกิดผล นั้น เป็นเพียงความเห็นในทางกฏหมาย ยังไม่ถึอว่าเป็นที่สุด
ส่วน ที่ทนาย ธ. เอาความเจ็บป่วยของทนายเกิดผลออกมาประจานทางสื่อ นั้น เป็นเรื่องส่วนตัวนั้น ย่อมมีความผิดจรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
เป็นสิ่งที่ ทนาย ธ ต้องออกมาขอโทษ สังคม และทนายเกิดผล แม้ท่านจะไม่ได้เอ่ยชื่อ แต่ประชาชนและสังคมเค้าเชื่อว่าท่านได้นำเรื่องส่วนตัวของทนายเกิดผลมาบั่นทอนการทำหน้าที่ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอ นั้นพฤติการณ์ดังกล่าว จึงไม่ใช่วิชาชีพนักกกฏหมายพึงกระทำ
ความเห็นของท่านนั้นในทางกฏหมาย ย่อมต้องมีบุคคลเห็นต่างได้ แม้แต่ขบวนการยุติธรรม ยังต้อง มี สามลำดับชั้น คือศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เพื่อถ่วงดุลกัน
ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันไปได้ นับประสาอะไรกับพระสงฆ์และฆราวาส ที่จะมีความเห็นต่างกันไม่ได้
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม