กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงในโลกออนไลน์กันพอสมควร เมื่อเพจ Pitbullzone ของ มาร์ค พิทบูล ได้โพสต์เกี่ยวกับข้อกฎหมายการเป่าแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นข้อความที่ ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม หรือ ทนายสุกิจ ได้โพสต์เกี่ยวกับช่องโหว่ของกฎหมายเรื่องนี้เอาไว้ ซึ่งระบุว่า ขี้เมาได้เฮ!…ขับรถได้ กฏหมายให้สันนิษฐานว่า “เมา”แต่กฏหมายไม่ได้ บัญญัติถึงบทลงโทษว่า “หากฝ่าฝืนไม่เป่ามีบทลงโทษ”ฐานใด
“ตำรวจจึงไม่มีสิทธิ์ใช้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ เครื่องวัดลมหายใจตรวจหรือเป่าได้ ทั้งยังไม่มีกฏหมายรองรับ ตำรวจก็ไม่เจ้าหน้าที่เทคนิคทางการแพทย์”หลายวันก่อนผมมีโอกาสไปดื่มกินกับเพื่อนที่เป็นอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผมเลยเตือนเพื่อนไปว่า “ดื่มมากๆ เดี๋ยวผ่านด่านตรจ จะโดนจับเป่าแอลกอฮอล์” เพื่อนผมตอบสวนมาว่า
“มึงไม่รู้หรือไงว่า ไอ้เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ มันมีคุณสมบัติเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ คนที่จะใช้อุปกรณ์นี้ได้ ต้องเป็นเจ้าหน้าที่เทคนิคทางการแพทย์เท่านั้น ที่สำคัญคือ มันต้องเป็นเครื่องของราชการ ที่มีเลขครุภัณฑ์เท่านั้น เครื่องที่ตำรวจซื้อมาใช้เองนั้นมันไม่มีอะไรรับรองมาตรฐาน และตำรวจก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เทคนิคทางการแพทย์ ลองไปเปิดอ่านกฎหมายดูแล้วจะรู้”
เพื่อคลายความสงสัยว่าไอ้สิ่งที่เพื่อนหมอผมพูดนั้น เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เมื่อผมได้ค้นหาข้อมูลถึงกับอึ้งกิมกี๋กับประโยคที่ว่า
“….การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำเครื่องเป่ามาใช้วัดกับคดีเมาไม่ขับนั้นยังไม่มีกฏหมายรองรับความเป็นมาตราฐานสากล….”
และที่อึ้งกิมกี่ยิ่งกว่า คือ
“…ตำรวจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญการเป่าหรือทดสอบว่าผู้ขับขี้เมาหรือไม่ ทั้งตำรวจยังมิได้ผ่านทดสอบและอบรมจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และตำรวจ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ เครื่องย่อมมีค่าความผิดพลาดเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดได้…”
เพื่อนหมอผมพูดจริง ตามนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8809/2549 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2557 โดยเพิ่มเติมในมาตรา 142 วรรคสี่โดยกำหนดข้อสันนิษฐานไว้ว่า กรณีผู้ขับขี่เมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น หากไม่ยอมให้ทดสอบโดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้ขับขี่ขณะเมาสุรานั้น ผู้ขับขี่ปฏิเสธไม่เป่าได้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานขณะปฎิบัติตามหน้าที่
การทดสอบเป็นไปตามหลักเกณท์ตามกฏกระทรวงฉบับที่ 16(พ.ศ.2537)และกฏกระทรวงฉบับที่ 21(พ.ศ.2560)ตามความพระราชบัญญัติจารจรทางบก พ.ศ.2522. ชึ่งมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นแนวทาง
ทั้งนี้ตำรวจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญการเป๋าหรือทดสอบว่าผู้ขับขี่เมาหรือไม่ ทั้งตำรวจยังมิได้ผ่านทดสอบและอบรมจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และตำรวจ ไม่ใช่เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ เครื่องย่อมมีค่าความผิดพลาดเกินเกณฑ์มาตรฐานกำหนดได้
ประกอบเครื่องที่ตำรวจใช้นั้นนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เปิดช่องประมูลกับเอกชนจำนวน 610 เครื่องๆราคาประมูลเครื่องละไม่เกิน 500บาท การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำเครื่องเป่ามาใช้วัดกับคดีเมาไม่ขับนั้นยังไม่มีกฏหมายรองรับความเป็นมาตราฐานสากล
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยืนยันว่าเพื่อให้เครื่องสามารถตรวจวัดค่าปริมาณแอลกอฮอล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลการวัดที่ถูกต้องแม่นยำ และใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี ซึ่งเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจควรต้องผ่านการสอบเทียบ ตามรอบระยะเวลา 6 เดือน โดยที่จะมีสติกเกอร์ติดรับรองไว้ที่ตัวเครื่อง ปัญหาด้านเครื่องมือตรวจวัดแอลกอฮอล์ เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีจำนวนจำกัด และเครื่องมือตรวจวัดบางเครื่องถูกใช้งานมากว่า 15 ปีส่งผลให้เกิดการชำรุดระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ได้
ผมไม่ได้มีเจตนาส่งเสริมให้ขี่เมาขับรถ หรือ สร้างความลำบากใจให้ตำรวจ
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
Cr.pitbullzone