ในส่วนที่ตนอยากให้เป็นการแก้ปัญหาเชิงรุก คือบุคลากรของกรมราชทัณฑ์ ตั้งแต่อธิบดีกรมราชทัณฑ์ รองอธิบดีฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันอย่างเต็มที่ ซึ่งตนได้บอกกับอธิบดี และรองอธิบดี ว่า หากมีอะไรหย่อนยานต้องปรับปรุงกัน ทั้งคน บุคลากรทั้งหมดที่เราต้องดำเนินการ
ในส่วนของมาตรการ 10 มาตรการ ที่ได้เตรียมไว้และได้ให้กรมราชทัณฑ์ปฏิบัติ
1. แถลงความจริงจำนวนผู้ต้องขังที่ได้ตรวจเชิงรุกไปแล้วให้ทราบ 100%
2. แจ้งให้ทราบว่าจะตรวจเชิงรุกให้ครบทุกเรือนจำ ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขัง รวมถึงผู้บริหารระดับสูงของกรมราชทัณฑ์ โดยจะเริ่มในส่วนของ กรุงเทพฯ ปริมณฑลก่อน ซึ่งจากตัวเลข 55,198 คน ขณะนี้จะต้องตรวจให้ครบ
3. การสืบข้อเท็จจริงหรือการสืบสวนโรครวมถึงสาเหตุที่ติดเชื้อ หากไม่แน่ชัดจะแจ้งให้ทราบ หรือหากได้ความแน่ชัดต้องแจ้งให้ทราบโดยไม่ปิดบังอะไรทั้งสิ้น
4. การรักษาการณ์และเฝ้าดูคนไข้ทำไปแล้วจะทำไปตลอดเวลาไม่มีวันหยุดทุกคนต้องทำงานแข่งกับเวลา
5. การรักษา ประสานกับกระทรวงสาธารณสุข โดยวางเป้าหมาย ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravia) สำหรับผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเพื่อหาวิธีการรักษาและได้ผลดีที่สุดรวมทั้งการใช้สมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจรเข้าช่วยเหลือรักษาในขณะรอดูอาการโดยเฉพาะผู้ป่วยระดับสีเขียวที่ติดเชื้อและไม่แสดงอาการและอาการระดับสีเหลืองที่กำลังเริ่มแสดงอาการ
6 ผู้ต้องขังเป็นประชาชนคนไทยด้วยกันกับเราที่ต้องอยู่ในเรือนจำ ไปไหนไม่ได้การอยู่ในที่ถูกล้อมไว้ขยับขยายไปไหนไม่ได้เป็นอุปสรรคมากมายต่อการแก้ไขปัญหาประกอบกับห้องนอนมีนักโทษแออัด
7.จึงมีความจำเป็นต้องให้นักโทษและผู้คุมที่ไม่ติดเชื้อทุกเรือนจำฉีดวัคซีนโดยด่วน
8. ติดประกาศหน้าเรือนจำทุกแห่ง ให้แจ้งให้ทราบว่ามีผู้ต้องขังติดเชื้อกี่คนและไม่ติดเชื้อกี่คนหายแล้วกี่คน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และจะปรับตัวเลขทุกวันเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ
9. ผู้บัญชาการเรือนจำทุกคนจะทำรายชื่อผู้ติดเชื้อและปรับปรุงเป็นรายวัน เพื่อให้ญาติผู้ต้องขังทุกคนสามารถเข้าตรวจสอบได้ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการตั้งแต่ 8.00 น.ถึง 18.00 น.
10. กระทรวงยุติธรรมและกรมราชทัณฑ์ จะรีบวางแผนเตรียมตัวรับการระบาดครั้งนี้ และการระบาดครั้งหน้า และให้ดำเนินการโดยรีบด่วน ประชุมพิจารณาเพิ่มบุคลากร เช่น พยาบาล แพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ รวมถึงพื้นที่ ในการรองรับดูแลรักษาผู้ต้องขัง เพราะโรคระบาดได้เข้ามาสู่ชีวิตสังคมคนไทยแล้วทั้งในวันนี้และในอนาคตถือเป็นความท้าทายของกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์เป็นอย่างมากเพราะคุณลักษณะของผู้ต้องขังที่ต้องติดเชื้อถูกจำกัดในเรื่องของกฎหมาย ที่ให้ต้องจองจำ ประกอบกับจำนวนผู้ต้องขังที่มีอยู่มากเกินไป สถานที่ปัจจุบันตลอดจนเจ้าหน้าที่จะเข้ามาดูแลสามารถรองรับได้
“หากยังไม่สามารถชะลอหรือหยุดหยั้งการแพร่เชื้อได้ จะมีการพิจารณาในการพักโทษรูปแบบพิเศษ และขณะนี้ประมวลกฎหมายยาเสพติดอยู่ในขั้นตอนของรัฐสภา เชื่อว่าต้นเดือนหน้าจะเข้าสู่การพิจารณา หากมีการประกาศใช้ จะมีนักโทษส่วนหนึ่งจะได้รับการปรับอัตราโทษ ประมาณ 50,000 คน เช่น การติดกำไลอีเอ็ม จะพิจารณาละเอียดให้รอบคอบ ทั้งสิ่งแวดล้อม และข้อเท็จจริง ตลอดจนสภาวะของผู้ต้องขัง เพื่อกำหนดนโยบายการพักโทษขึ้นมา รวมทั้งกฎหมายต่างๆ เพื่อให้กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม และสังคมได้ประโยชน์ด้วยกัน ตลอดจนสิทธิขั้นพื้นฐานผู้ต้องขัง”