นายสุนทร รักษ์รงค์ นายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้และเลขาธิการสภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สคยท.) ได้โพสข้อความทางเฟสบุ๊คระบุว่า
20 ก.ค.2560 มีการจดทะเบียนบริษัทร่วมทุนยางพาราไทย ที่ผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทยโม้หนักหนา ว่าจะเป็นนวัตกรรมใหม่ในการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา โดยมีการลงขันกันระหว่าง กยท.และบริษัท 5 เสือ ถือหุ้นคนละ 200 ล้าน หรือร้อยละ 16.67 รวมเป็นเงิน 1200 ล้าน ซึ่งได้จ่ายเงินไปแล้ว 25% ของทุนเรือนหุ้น
ทราบข่าวมาว่าบริษัทเอกชนถูกบังคับให้มาลงหุ้น หลังจากมีการประชุมคณะกรรมการควบคุมยาง ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และกยท.ก็ถือหุ้นเพียง 1 ใน 6 ตามหลักธุรกิจ กยท.จึงเป็นเสียงส่วนน้อย ผมวิเคราะห์ว่าเอกชนเขาไม่อยากมีปัญหากับรัฐบาลทหารก็ปล่อยเลยตามเลย กยท.อยากทำอะไรก็ทำไป ( เด่วมรึงก็รู้ )
ไม่ถึง 3 เดือนที่ตั้งบริษัทร่วมทุนยางพาราไทย ซึ่งได้ประมูลยางแผ่นรมควันในตลาดกลาง 6 แห่งของ กยท.ไปประมาณ 1 หมื่นตัน ราคาที่ประมูลสูงสุดที่ตลาดกลางบุรีรัมย์ 61.19 ปริมาณยาง 306 ตัน ปริมาณการรับซื้อสูงสุดที่ตลาดกลางสงขลา 4,000 ตัน ราคาเฉลี่ย 56.80 บาทและยางส่วนใหญ่ยังคงค้างที่ตลาดกลาง ไม่สามารถขนยางนำไปทำเป็นยางลูกขุนได้ กยท.ฝันหวานว่าผู้ร่วมทุน คือ 5 เสือจะรับซี้อยางต่อ คิดแบบหน่อมแน้ม มันไม่มีพ่อค้าคนไหนยอมซื้อของแพงไปขายถูกหรอกครับ และยางที่บริษัทร่วมทุนซื้อไป เริ่มมีการเช็คบิลกันแล้วว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ และใครคือผู้โชคดีที่ได้ขายยางได้ราคาแพงในตอนนั้น และงานนี้คงเป็นคดีขึ้นศาลกันอีกยาว เพราะมีการยื่นฟ้องไปบางส่วนแล้ว
ผลจากการที่ กยท.เอาบริษัทร่วมทุนยางพาราไทยมาสร้างความปั่นป่วนในตลาดกลางยางพารา และการออกมาตรการกำหนดราคากลางที่ขัดกับกลไกตลาด จนทำให้ตลาดกลางต้องปิดตัวลงในช่วงที่ผ่านมา และสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรที่จะนำยางมาขาย เพราะต้องถูกกดราคาจากพ่อค้าอย่างไม่มีทางเลือก ซึ่งนำไปสู่ปัญหาราคายางตกต่ำอย่างผิดปกติในขณะนี้ รวมทั้งเครดิตของตลาดกลางยางพาราต้องพังทะลายลงในพริบตา ใครจะรับผิดชอบครับ
การยางแห่งประเทศไทยต้องตอบคำถามของเกษตรกรชาวสวนยางและสังคมด้วย ว่าจะเอายังงัยต่อไปกับบริษัทร่วมทุนฯ และต้องเปิดเผยโครงสร้าง คณะกรรมการ อำนาจการบริหารงาน และแผนงานขั้นต่อไปในอนาคตของบริษัทร่วมทุนฯ เพราะ กยท.เอาเงินของเกษตรชาวสวนยางมาลงทุน
บอร์ด กยท.และผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ต้องหยุดฉลาดแต่เรื่องโง่ๆเสียที ช่วยฟังเสียงของเกษตรอย่างจริงใจด้วย ก่อนจะมีผลงานชิ้นโบว์ดำที่ชื่อว่าบริษัทร่วมทุนยางพาราไทย อย่างน่าอดสู และทำให้เกษตรกรชาวสวนยางเดือดร้อนกันทั้งประเทศ
สำนักข่าววิหคนิวส์