ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #แค่พยานบอกเล่า ! ดร.สุกิจ ชี้คดีบอส พยานขาดความน่าเชื่อถือ

#แค่พยานบอกเล่า ! ดร.สุกิจ ชี้คดีบอส พยานขาดความน่าเชื่อถือ

14 August 2020
722   0

ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายได้โพสข้อความระบุว่า

พยานผู้เชียงชาญพิสูจน์หลักฐานเรื่องความเร็วของ นายวรยุทธหรือ
“บอส”อยู่วิทยาเป็พยานบอกเล่า

โดยสุกิจ พูนศรีเกษม

คดีของนายวรยุทธหรือ”บ้อส”อยยู่วิทยา นั้นสังคมถกเถียงกันอยู่ว่า พยาน
ผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความเห็นต่อสือนั้นเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร

พยานที่เกี่ยวกับกับคดีนั้นหมายถึงพยานที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ชึ่งศาลฎีกาได้ให้แนวทางไว้ตามหลักฏหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 95 บัญญติว่า ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่พยานประเภทแรก คือ เป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงหรือที่เรียกกันว่า ประจักษ์ พยาน ศาลฎีกาที่ 12498/2558

หากพยานผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ให้การจากความจากองค์ความรู้ของตนเอง หรือไม่ใช่องค์ความรู้ทางวิทยาศาตร์ที่ได้รับการยอมรับ..ต้องถือว่า พยานผู้เชี่ยวชาญนั้น ไม่น่าเชื่อถือ.. เป็นพยานที่ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่า สิ่งที่เขาพูดนั้น เป็นความรู้จริง

ผู้เขียนขอยกคดีตัวอย่างให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้ได้ปรากฏไว้เป็นบรรทัดฐาน ในคดี”ผู้พันตึ้ง ” ” สถาบันนิธิเวชโรงพยาบาลตำรวจ กับสถานบันนิติวิทยาศาลสตร์กระทาวงยุติธรรมชึ่งมีคุณหญิงพรทิพย์ ฯเป็นผู้อำนวยการ ต่างวีนิจฉัยผลเลือดและความเห็นต่างกัน แต่ศาลไม่เชื่อคุณหมอพรทิพ ฯ เนื่องจากเป็นแพทย์ทาง “พยาธิ “จึงไม่ความน่าเชื่อถือ

คดีนาย”บ้อส” เป็นที่ประจักร์ต่อสังคมว่า พนักงานสอบสวนก็ดี พยานผู้เชียวชาญตรวจสอบความเร็วก็ดี ไม่ได้เป็นอยู่ในเหตุการณ์ขณะเกิดเหตุ พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการซึ่งปกติศาลก็รับฟัง”
แต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป ” ตำพิพากษาศาลฎีกที่4299/2534

ปัญหาที่ถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบคือ พยานผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเร็วของรถยนต์นายวรยุทธหรือบ้อส อยู่วิทยาเป็นหน่วยงานกองพิสูจน์หลักฐานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตามข่าว มีพตอ.ธนสิทธิ แตงจั่นลงพื้นที่เกิดเหตุพร้อมกับดร. สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ ที่อ้างว่าเป็นพยานหลักฐานใหม่นั้น เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษา “กองพิสูจน์หลักฐาน

ให้ความเห็นตรงกันว่า “นายบ้อส”ขับรถถด้วยความเร็วสูง177กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง พนักงานสอบสวนจึงสอบปากคำ พตอ.ธนสิทธิไว้เป็นพยาน

ขัดแย้งกับ ความเห็นของ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม หัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ “ชึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางนิติวืทยาศาสตร์”คดีเสี่ยชูวงค์”ที่ได้รับการยอมรับ ต่อสังคม เป็นพยานที่มีน้ำหนักว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นเป็นความจริง

พยานได้ตรวจสภาพความเสียหายของรถ ทําให้ทราบลักษณะทิศทางการชนของรถ ความเร็วของ รถ ความแรงของการชน สีของรถคันที่ชนติดอยู่ ระดับความสูงต่ำหรือตําแหน่งที่ชนกัน คราบเลือดหรือ ชิ้นเนื้อ เส้นผมของ ผู้ตายร่องรอยความเสียหายของรถแต่ละคันที่ชนกัน ซึ่งเมื่อนํารถคู่กรณี มาวางเทียบตําแหน่งเข้าด้วยกันแล้วพิจารณาประกอบกับร่องรอยบนถนนแล้วจะสามารถบอกทิศ ทางการชนกันของรถได้ กล้องวงจรปิดเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบผู้คำนวณความเร็วรถเฟอร์รารี่ของนายวรยุทธ หรือ”บ้อส “ว่ามีความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม.ไว้เป็นพยาน

พนักงานอัยการจึงมีคำสั่งให้สอบ พตอ.ธนสิทธิ ใช้หลักอะไรในการคำนวนความเร็ว พยานให้การใหม่ว่า เป็นการคำนวนผิด แท้จริงแล้วความเร็วนั้นไม่เกิน 79กิโลเมตรต้อหนึ่งชั่วโมง “ข้อหาขับรถด้วยความเร็วสูง เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้นจึงต้องยุติ”ตามความเห็นชี้ขาดของท่านรองอัยการสูงสุด ที่สั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดไปแล้ว

นอกจากนี้ ผลการตรวจร่างกายผู้ต้องหา โรงพยาลรามา ทำรายงานเป็นหนังสือถึงพนักงานสอบสวนตามข่าว พบสารแปลกปลอม “โคเคน”ในเลือดเป็นยาเสพติดประเภท2 พนักงานสอบสวนหารือไปยังโรงพยาบาลตำรวจให้ความเห็นว่า สารแปลกปลอมที่โรง
พยารามาต้องพบนั้นเพียงแต่ ก่อปฎิกิริยาเป็น”โคเคน”เท่านั้นไม่ได้อยู่ในความหมายของพรบ.ยาเสพติดให้โทษ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นพยานบอกเล่า

ศาลฎีกาจึงได้ว่าแนวทางไว้ว่า จะดำเนินคดีกับผู้ต้องหาฐานเสพยาเสพติดได้นั้นตำรวจจะต้องมีพยานรู้เห็นผู้ต้องหาเสพ”โคเคน” หากพยานหลักฐานฟังได้เพียงว่าตรวจพบสารเสพติดในเลือดของผู้ต้องหา เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ กรณียังเป็นที่สงสัย ก็ยังไม่อาจเอาผิดกับจำเลยในข้อหาเสพได้ เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2555

ดังนั้น คณะทำงานของอัยการ เสนอความเห็นถึง”อัยการสูงสุด”ว่า ให้ตำรวจดำเนินคดีกับ”นายบ้อส”ในความผิด”ฐานเสพ”โคเคน”ขณะขับรถตามที่กระแสสังคมกดดัน”ต้องนำ”บอส”อยู่วิทยา ขึ้นสู่ศาลให้ได้นั้น ต้องระวังทีมกฏหมาย ของตระกูลอยู่วิทยา “อาจดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องได้

การที่มีนักวิชาการมีชื่อเสียงคนหนึ่ง ไปออกรายการทีวีดังช่องหนึ่ง บอกว่า”ไม่ต้องพูดถึงความเร็ว”ของรถ “แค่เสพโคเคนขับรถ” ก็มีความผิดฐานขับรถประมาท”แล้วนั้น

นักวิชาการท่านนี้ “เท่าที่ทราบเป็น”วิศวกรแค่วิศวเคมี”(ไม่ใช่สายงานโดยตรง)แม้จะมีใบอบรมจากจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย”ก็ใช่นักกฏหมาย”และนักวิชาการท่านนี้ ถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการให้”ความเห็นโดยไม่มีกฏหมายรองรับ” หลายคดี ”

“ปัญหาข้อกฏหมาย” การเสพ”โคเคน”ขับรถ”นั่น เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย”เท่านั้นไม
ได้เป็น”สาเหตุของการขับรถ”โดยประมาท “อย่างที่ท่านวิชาการท่านนี้ให้ความเห็น
ปัญหาคือ “ผู้ต้องหาให้การปฎิเสธ” คำให้การของนักวิชาท่านนี้จึงเชื่อถือไม่ได้

ที่ พตอธนสิทธิ แตงจั้น ชี้แจงต่อคณะกรรมการธิการฝ่ายกฏหมายมีนายสิระ เจนจาคะ
เป็นประธานกรรมธิการ พยานชี้แจงว่า ความเร็วของรถที่นายวรยุทธหรือ”บ้อส “อยู่วิทยาขับขี่นั้นแท้จริงนั้นความเร็ว 177กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง

สาเหตุที่ให้การครั้งที่สอง ว่าใช้ความเร็ว 79กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมงนั้น เพราะผู้บังคับบัญชาสั่ง”ให้ไปให่การเป็นในทิศทางเดียวกันกับ ดร.สายประสิทธิฯนั้น “แต่บอกชื่อไม่ได้ ”

พยานยังอ้างหลังให้การแล้วไปพบตำรวจเมื่อจะขอให้การใหม่ ว่าความเร็วนั้น แท้จริง177กิโลเมตรต่อหนึ่งชั่วโมง แต่พนักงานสอบสวนอ้างว่าได้ส่งสำนวนไปยังอัยการนั้น “ยิ่งไม่น่าเชื่อถือ หากข้องอ้างของ พตอ.ธนะสิทธิ ฯเป็นความจริง ก็น่าจะทำหนังสือถึงพนักงานอัยการเป็นหนังสือขอถอนตำให้การที่อ้างนายสั่งได้ น่าเชื่อว่าพยานปากนี้ ให้การปรักปร่ำผู้ต้องหาไปตามกระแสสังคม

ส่วนพยานปากดร.สธนฯได้ร่วมกันตรวจที่เกิดเหตุพร้อมกับพตอธนะสิทธิเกี่ยวกับเรื่องความเร็วของรถนั้น จึงไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ที่อัยการสูงสุด จะสั่งให้พนักงานสอบดำเนินคดีได้ เมื่อเป็นตำรวจให้การกลับไปกลับมาอย่างนี้ ผู้บังคับบัญชายังนิ่งเฉยไม่ดำเนินคดีกับตำรวจประเภทนี้ ย่อมทำให้กระบวนการยุติธรรมของไทยขาดความเชื่อมั่นในขบวนการยุติธรรม