อดีตอาจารย์จุฬาฯ แฉองค์กรสิทธิมนุษยชน “แอมเนสตี้” ประจำภูมิภาคเอเซีย พยายามวิ่งเต้นหลายหน่วยงานขอเปิดอีกรอบ หลังถูกปิดไป 2 ปี เพราะไม่ส่งรายงาน รายละเอียดให้ครบถ้วน ออกโรงเรียกร้อง รมว.แรงงาน อย่ายอมเด็ดขาด ชี้สร้างความปั่นป่วนแม้แต่เรื่องไฟใต้ ซ้ำหนุนบอยคอตประเทศไทย
วันนี้ (15 ก.พ.) เฟซบุ๊ก Somkiat Osotsapa ของนายสมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณีองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องให้ทางการไทยปล่อยตัวนายฮาคีม อัล โอไรบี อายุ 25 ปี นักฟุตบอลสัญชาติบาห์เรน ที่ลี้ภัยมาอยู่ประเทศออสเตรเลีย แต่ถูกจับกุมขณะมาเที่ยวประเทศไทย ว่า องค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำภูมิภาคเอเซีย เคยมีที่ทำการที่ประเทศไทย แต่ถูกปิดไปสองปีแล้วเพราะไม่ส่งรายงาน รายละเอียดให้ครบถ้วน ซึ่งหัวหน้าเป็นชาวสิงคโปร์
นายสมเกียรติ ระบุว่า องค์กรนี้เป็นภัยกับประเทศและมิตรประเทศรอบบ้านของไทยทั้งหมด เข้ามาวุ่นวายเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ตอนนี้มาวิ่งเต้นเอากับกระทรวงแรงงาน ขอมาเปิดที่ทำการในไทยอีกครั้ง อย่ายอมเด็ดขาด ได้ยินว่าไปวิ่งหลายหน่วยงานระดับสูงของไทย รังเกียจมาก แต่ไม่พูดตรงๆ และเสนอว่า รมว.แรงงานอย่ายอมเด็ดขาด ซึ่งในวันที่ 21 ก.พ. นี้ จะตัดสินว่าจะอนุญาตให้องค์กรนี้เปิดหรือไม่ เชื่อว่าจะทำให้การแก้ไขปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ง่ายขึ้น
“รมว.แรงงานอย่ายอมเด็ดขาด ไปแล้วไปเลย ไปตั้งที่สิงคโปร์ จีน ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม อินโดนิเซีย รัสเซีย มาเลเซียก็ได้ อาจโดนประหาร จับเข้าคุก ภัยต่อความมั่นคงของชาติ ไม่มีใครกล้าพูด ผมพูดเอง ไม่มีชาติไหนเอา ผมรู้จักคนก่อตั้งด้วยซ้ำ อย่าชักศึกเข้าบ้าน เกิดสงครามย่านนี้จะเหนื่อย แอมเนสตี้ประจำประเทศไทยก็เลิกเถอะ ต้องต่อใบอนุญาตทุก 2 ปี ด่าทุกเรื่อง อยู่ฝั่งบอยคอตไทยแลนด์ด้วย ก็บอยคอตออกไปซิ กระทรวงแรงงานมีหน้าที่ดูแลความมั่นคงของประเทศด้วย ติดเรื่องความมั่นคงของชาติ” นายสมเกียรติ กล่าว
นายสมเกียรติ ยังกล่าวอีกด้วยว่า ก่อนหน้านี้รัฐบาลรับกลุ่มเอ็นจีโอที่มีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อประเทศเข้ามาเยอะ จึงเสนอให้กวาดล้างกลุ่มเอ็นจีโอที่เป็นภัยต่อชาติอื่นๆ ให้เสร็จในสามเดือนนี้ เพราะประเทศอื่นๆ ไล่ออกไปหมดแล้ว มีกฏหมายเข้มงวดด้วย ไม่ใช่เรื่องสร้างงานให้คนไม่กี่คน
สำหรับองค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีสำนักงานใหญ่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เข้ามาในประเทศไทยโดยเป็นที่รู้จักในงานครบรอบเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งคณะกรรมแอมเนสตี้ในประเทศไทยเพื่อร่วมประชุมแอมเนสตี้ระดับนานาชาติในปี 2536 และตั้งสำนำนักงานในประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2546 โดยจดทะเบียนในฐานะสมาคมตามกฎหมายภายใต้ชื่อ “แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย” อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยมีสองหน่วยงาน ได้แก่ องค์กรแอมเนสตี้ ประเทศไทย มีสำนักงานย่านลาดพร้าว และองค์กรแอมเนสตี้ ประจำภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานที่อาคารคิวเฮ้าส์ เพลินจิต ชั้น 6
Cr.mgronline
สำนักข่าววิหคนิวส์