ข่าวประจำวัน » แชร์เตือนภัย!! “กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์” เตือน ยาลดน้ำหนัก 25 ยี่ห้อเสี่ยงกินแล้วถึงตาย!?!

แชร์เตือนภัย!! “กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์” เตือน ยาลดน้ำหนัก 25 ยี่ห้อเสี่ยงกินแล้วถึงตาย!?!

2 July 2017
1066   0

วิหกนิวส์ต้องบอกเลยว่าจากข่าวการเสียชีวิตเหตุจากกินยาลดความอ้วนเกินขนาดนั้นมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งตามหน้าหนังสือพิมพ์ และส่วนใหญ่ล้วนพบว่าในยาลดความอ้วนนั้นมีสารที่มีชื่อว่า ไซบูทรามีน เป็นส่วนผสมอยู่ด้วย
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตรวจพบสารไซบูทรามีน ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ต่อไปนี้
Asia Slim
BURN SLIM LIPO9
Double Pure ดับเบิ้ลเพรียว ชนิดชงดื่ม รส องุ่น+มัลเบอร์รี่
IDOL SLIM COFFEE
lishou
lishou FULING JIAONANG
NINETRICAPS
Piano KARO
Seoul Slim โซล สลิม
Skinny Slim King Diet สูตร 1
Skinny Slim King Diet สูตร 2
Slim Express (สลิม เอ็กซ์เพรส)
SLIMING DIET
SUPER BURN ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มีฟินน์
แคปซูล ผงบุก Plus Q10 ผงบุกขอนแก่น
แคปซูล ผงบุก สูตรสำหรับคนดื้อยา
แคปซูล วากะเมะ
แคปซูลผงบุก
ดับเบิลเพรียว (Double Pure)
บาชิ ควิกสลิมมิ่ง แคปซูล
ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม P – MARK Lishou

รู้จักกับ สารไซบูทรามีน (Sibutramine)
สารไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นสารเคมีอินทรีย์ ลักษณะเป็นผงแป้งสีขาว คล้ายเกลือหรือน้ำตาล ไม่มีกลิ่น มีคุณสมบัติออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ ซิโรโทนิน, นอร์อีพิเนฟริน และโดปามีน ในเวลาปกติการถ่ายทอดกระแสประสาท ตัวเซลล์ประสาทจะมีการหลั่งสารสื่อประสาททั้ง 3 ประเภทนี้ เมื่อหลั่งสารเสร็จแล้วสารสื่อประสาทพวกนี้ต้องถูกกำจัดออกเพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการถ่ายทอดกระแสประสาทนานเกินไป แต่ถ้าร่างกายได้รับสารไซบูทรามีนเข้าไป จะทำลายสารสื่อประสาทให้การถ่ายทอดกระแสประสาทอยู่ได้นานขึ้น จึงส่งผลทำให้มีความรู้สึกไม่หิวหรืออิ่มเร็วขึ้น ซึ่งถือเป็นคุณสมบัติพิเศษของสารไซบูทรามีน ซึ่งยาตัวนี้ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาในปี 2540 จัดเป็นยาที่ได้รับการควมคุมดูแลเป็นพิเศษและแพทย์ต้องเป็นผู้พิจารณาการใช้ยาเท่านั้น ซึ่งในการรักษาโรคอ้วนแพทย์จะใช้สารนี้ควบคู่กับการออกกำลังกายและควมคุมอาหาร พบว่าน้ำหนักลดลง 5-10 เปอร์เซ็นต์ และยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้อีกด้วย
ต่อมาภายหลังมีการศึกษาผลกระทบจากการใช้สารไซบูทรามีน พบว่า มีภาวะไตวาย ผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดตีบตัน และอาจทำให้ถึงกับเสียชีวิต ปี 2553 ทางประเทศในยุโรปจึงประกาศยกเลิกไม่ให้ใช้ยานี้ รวมทั้งในประเทศไทยด้วยที่เรียกเก็บยาที่มีสารไซบูทรามีนออกจากท้องตลาด และยกเลิกทะเบียนยาไซบูทรามีน
แต่ปัจจุบันผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักยังแอบเจือปนสารไซบูทรามีนเข้าไปในผลิตภัณฑ์ยาลดความอ้วนและอาหารเสริมลดน้ำหนักที่มาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์กาแฟลดน้ำหนัก อย่างเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2558 พบผลิตภัณฑ์กาแฟลดน้ำหนักยี่ห้อ Brazil Potent Slimming Coffee มีการโฆษณาว่ามีผลช่วยลดน้ำหนักสำหรับคนดื้อ (ลดยาก) เมื่อสำนักงานสาธารณสุขตรวจสอบกลับพบว่ามีส่วนผสมของสารไซบูทรามีน อีกทั้งยังไม่ได้ผลิตในประเทศไทย ไม่มีการแสดงฉลากภาษาไทย และไม่ได้รับอนุญาตจากอย.อีกด้วย
แม้ว่าทางอย.จะยกเลิกการขึ้นทะเบียนของสารไซบูทรามีน แต่ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักอีกหลายยี่ห้อที่แอบเจือปนสารไซบูทรามีนอยู่เป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าไม่มีทางทราบว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีสารไซบูทรามีนเจือปนอยู่จนกว่าจะรับประทานเข้าไปแล้วมีอาการข้างเคียง ได้แก่ อาการปากแห้ง รับรู้รสชาติแปลกๆ คลื่นไส้ ท้องผูก มีปัญหาการนอนหลับ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ปวดประจำเดือน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและไขข้อ และผลข้างเคียงที่รุนแรง คือ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ และเกิดอาการทางจิตประสาท เป็นเหตุให้เสียชีวิต
แต่สุดท้ายแม้ว่าจะมีข่าวการเสียชีวิตจากการยาลดความอ้วนหรือบทความเตือนเกี่ยวกับผลเสียของการรับประทานยาลดความอ้วนมากเพียงใด ผู้หญิงปัจจุบันนี้ล้วนแต่มีความต้องการทำตามค่านิยมของสังคมที่เชื่อว่าผอมแล้วจะสวย มีหน้ามีตาในสังคม มีแต่คนชื่นชอบ จึงตามกระแสสังคมด้วยการรับประทานยาลดความอ้วนเพื่อความผอมอย่างเร่งรัดโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ตามมา