แถลงข่าวร่วม 3 ฝ่าย ผลจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายสำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ปีงบประมาณ 2566
วันนี้ 13 มีนาคม 2566 วันนี้ 11 พฤษภาคม 2565 เวลา 10.00 น. ณ สโมสรนายทหารสัญญาบัตรกองพลทหารราบที่ 15 ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 เปิดการแถลงผลจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายสำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน และเน้นย้ำนโยบายในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยมีหัวหน้าส่วนราชการกำลัง 3 ฝ่าย ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวผลการปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงปัจจุบัน ด้านการปราบปรามยาเสพติดและการบังคับใช้กฎหมาย บูรณาการจัดทำบัญชีผู้ค้ารายใหญ่ รายย่อย ร่วมกัน ระหว่าง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 9 และกองกำลังตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดคดียาเสพติด จำนวน 12,863 คดี รวมผู้ต้องหา จำนวน 13,350 ร้าย และสามารถตรวจยึดของกลาง ยาบ้า จำนวน 4,688,888 เม็ด ,ยาไอซ์ จำนวน 1,037 กิโลกรัม , เฮโรอีน จำนวน 110 กิโลกรัม และออกคำสั่งตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติด โดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 9 จำนวน 142 คดี มูลค่าทรัพย์สิน 38,683,683 บาท
ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดร่วมกันของชุมชน ผ่านโครงการบำบัดฟื้นฟู โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน(CBTX) ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 1,081 ราย ด้านการบำบัดรักษา ถือว่าเป็นนโยบายเร่งด่วนและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เน้นการสร้างชุมชนปลอดภัย ป้องกันคนในชุมชนตกเป็นเหยื่อของผู้ติดยาเสพติดที่มีพฤติการคุ้มคลั่ง ก้าวร้าวโดยสภาประชาธิปไตยตำบลเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองส่งรายชื่อ ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกคัดกรองผู้ป่วยยาเสพติด ปัจจุบันผู้ป่วยยาเสพติดที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเข้ารับการบำบัดรักษา จำนวน 214 ราย
พลตำรวจตรี ปราบพาล มีมงคล รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 กล่าวรายงานผลการแก้ไขปัญหายาเสพให้ห้วงที่ผ่านมารับผิดชอบ 7 จังหวัดภาคใต้ มีการจับกุมไปกว่า 26,000 กว่าคดี พร้อมของกลางทั้งหมด ในปีงบนี้ตั้งแต่ห้วงเดือนตุลาคม 2565 ถึงกุมภาพันธ์ 2566 ยึดทรัพย์ไปแล้ว 300 กว่าล้านบาท ส่วนเส้นทางการลำเลียงมีการขนย้ายไปยังประเทศที่สาม ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนร่วมกันสกัดกั้นไว้ได้
ด้าน นายนันทพงศ์ สุวรรณรัตน์ ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า ศอบต.ในฐานะหน่วยงานหลักมิติด้านการพัฒนา โดยการนำกลุ่มเป้าหมาย ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด เข้ารับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพิ่มศักยภาพความรู้ให้มีความสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพตามความต้องการเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ จนสามารถเลี้ยงชีพและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2561-2565 มีผู้ผ่านการฝึกฝนอาชีพ 1,699 คน ส่วนในปีงบประมาณ 2566 ตั้งเป้าไว้ 130 คน ดำเนินการไปแล้ว 90 คน เพื่อการสร้างโอกาสที่ดีให้กับกลุ่มผู้ตกเป็นทาสยาเสพติด สามารถกลับเข้ามาดูแลครอบครัว อยู่ร่วมกับสังคมต่อไปได้
นายรัชพล ปาละกูล ผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์ป้องกันและปราบยาเสพติดภาค 9 กล่าวว่า อยากให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด แจ้งข่าวผู้กระทำความผิด จะได้รับส่วนตอบแทนในการแจ้งแต่ละครั้ง สำหรับผู้ที่ติดยาเสพติดให้เข้ามารับการบำบัดรักษาในระบบ ส่วนการจับกุมผู้หลบนี้ไปต่างประเทศ ที่ผ่านมาได่ประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านจับกุมผู้หลบหนีได้หลายราย และของกลางที่ได้จากการจับกุมทั้งหมด จะเก็บไว้ที่องค์การอาหารและยา เมื่อคดีสิ้นสุดของกลางเหล้านี้จะถูกทำลายทั้งหมด ส่วนทรัพย์สินที่ยึดมาได้จะใช้เป็นทุนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทั้งการบำบัดรักษา และเป็นรางวัลให้กับผู้แจ้งเหตุ
ในส่วนของฝ่ายปกครอง นายสนั่น สนธิเมือง รองผู้ว่าราชการ จังหวัดปัตตานี กล่าวรายงานผลการปฎิบัติงาน ซึ่งเป็นไปตามแผนของรัฐบาลและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า 4 หลัก คือ การป้องกัน การปราบปราม การบำบัด และการฟื้นฟู ร่วมกับสถานศึกษาในการให้ความรู้กับกลุ่มนักเรียนนักศึษาลดปัญหาผู้เสพหน้าใหม่ ส่วนการปราบปราบใช้ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านหนุนเสริมงานปราบปรามร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และการบำบัดร่วมกับสาธารณสุข รพ.ธัญญารักษ์ บำบัดผู้คุ้มคลั่งจากยาเสพติด และมีการจัดตั้งศูนย์ฟื้นฟูสรรมภาพทางสัมคมในทุกอำเภอ ตลอดจนขับเคลื่อนงานตามนโยบายแม่ทัพภาคที่ 4 อย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าแก้ไขปัญหายาเสพติดให้คลอบคลุมทุกมิติ เพื่อขจัดภัยแทรกซ้อนที่กระทบต่อความมั่นคงและความสุขของพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และขอความร่วมมือให้ทุกคนช่วยแจ้งเบาะแสยาเสพติดมาทุกช่องทาง สายด่วน 1341 สายตรงแม่ทัพภาคที่ 4 โทร.061-173299 และหน่วยเฉพาะในพื้นที่เพื่อร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป