รศ.ดร.บุญเลิศ ไพรินทร์ กล่าวว่า
อาจจะเกิดช่องว่างทางการเมืองขึ้นไหมแล้วตามมาด้วยการยึดอำนาจหรือไม่ คำตอบอยู่ติดกับคำถามนิดเดียวเท่านั้น
ถ้าพรรคการเมืองส่วนใหญ่ที่มี สส จำนวนมากถูกครอบครองและหรือครอบงำโดยนักโทษชายทักษิณที่ได้รับการพักโทษนอกเรือนจำที่บ้านจันทร์ส่องหล้าคือสถานที่กักกันนักโทษชั่วคราว
ช่องว่างทางการเมืองอาจเกิดจากการยุบพรรคการจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคพลังประชารัฐ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาและเล็กกระจอกงอกง่อยอีกจำนวนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าเกิดช่องว่างทางการเมืองได้ประการหนึ่ง
นอกจากนี้ช่องว่างทางการเมืองอาจเกิดจากการผิดมาตรา 160(4)(5)แห่งกฏหมายรัฐธรมนูญคือไม่มีจริยธรรมจนเป็นที่ประจักษ์และละเมิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงของนายกอิ้งในกรณีครอบครองที่ดินธรณีสงฆ์ที่ออกโฉนดโดยมิชอบตามคำพิพากษาศาลฎีกามาแล้ว
ทำให้นายกอิ้งหลุดจากนายกรัฐมนตรีจะโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิตเหมือนปารีณา ไกรคุปต์ผู้ครอบครองที่สงวนแห่งชาติและหรือศาลรัฐธรมนูญถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี
ช่องว่างทางการเมืองอาจเกิดจากกรณีที่นายกอิ๊ง เสนอชื่อทวี สอดส่องเป็นรมต ยุติธรรมและหรือนฤมลฯ เป็นรมต เกษตรฯที่ผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรงขึ้นทูลเกล้าฯ นายกอิ๊งต้องพ้นจากนายกและถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเหมือนกรณีเศรษฐา ทวีสิน และกรณีอื่นๆอีกเป็นกระบุงด้วย
ในขณะเดียวกัน ความวุ่นวายยังอาจเกิดขึ้นได้จากการลงโทษข้าราชการประจำที่โรงพยาบาลตำรวจและกรมราชทันฑ์หลายตำแหน่ง จะก่อให้เกิดความระส่ำระสายทั้งวงการเมืองและวงข้าราชการประจำอย่างใหญ่หลวง
ช่องว่างทางการเมืองดังกล่าว ยังถูกตอกย้ำซ้ำเติมจากการเรียกร้องหาความเป็นธรรมให้กับวงการเมืองและราชการประจำจากมวลชนในสารพัดรูปแบบ ทำให้เกิดความระส่ำระสายและกระทบต่อความมั่นคงของประเทศทุกๆด้าน
จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ฝ่ายความมั่นคงที่จะต้องมีบทบาทเข้ามายับยั้งไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และประชาชนอันเนื่องมาจากช่องว่างและความวุ่นวายที่กระทบความมั่นคงดังกล่าวแล้ว
ด้วยเหตุผลดังได้กล่าวแล้วทั้งหมด จะไม่สามารถยับยั้งการปฏิวัติรัฐประหารได้ในที่สุด
โหนต่องแต่ง
10 กันยายน 2567