ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » ​#ความยุติธรรมคดี7ตุลา.!! ยังไม่จบ

​#ความยุติธรรมคดี7ตุลา.!! ยังไม่จบ

4 August 2017
576   0

              1.อัญเชิญกระแสพระราชดำรัสรัชกาลที่ 9  “…การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมให้คนดีให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”

               ด้วยความเคารพต่อศาลอำนาจตุลาการ เสมอ ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงคดี7ตุลาบางแง่มุม ดังนี้

2.ข้อเท็จจริงแห่งคดี
(1) สมชาย1.เป็นนอมินีหรือร่างทรงทักษิณใช่หรือไม่? ถ้าใช่ ผิดกฎหมายหรือไม่?

(2) สมชาย1.คือผู้สั่งการหรือใครเป็นคนสั่ง หรือจำเลยที่ 2,3,4และตำรวจทั้งหลายเขาทำเองจัดการเองตามลำพัง

ใช่หรือไม่?

(3) ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯกดดัน ต่อรอง ต่อสู้ด้วยมือเปล่าใช่หรือไม่?

(4) ศาลปกครองกลางพิพากษาว่า เจ้าหน้าที่มีความผิดจริง กระทำการเกินกว่าเหตุ(ดูคำอธิบายของกรรมาธิการวุฒิสภา คุณรสนา โตสิตระกูล) ต้องปรับด้วย(ยังไม่ถึงที่ืสุด คาดว่ารอคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุด)

(5) คณะกรรมาธิการวุฒิสภาเคยมีการศึกษาและรายงานต่อวุฒิสภาและประชาชนทั่วไปทราบว่า มีการกระทำเกินกว่าเหตุในคดีนี้

(หมายความถึง
1.ไม่เป็นไปตามขั้นตอนแผนกรกฎ/ขั้นตอนเจรจาก่อน/วิธีดันคนออก/ใช้น้ำสลาย/ใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุม,แต่ตำรวจใช้การปาแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุมโดยตรงทำให้เนื้อฉีกขาดได้ 2.ใช้แก๊สน้ำตาจากจีนที่หมดอายุและมีสารที่มีอานุภาพเท่าระเบิดซีโฟร์ และ 3.ขว้างตรงใส่ฝูงชน(ไม่ใช่วิถีโค้ง) ทำให้แขนขาขาดเสียชีวิต)
3. ยังกำกวมอยู่ ใครจะช่วยตอบข้อสงสัยอย่างยิ่งข้อนี้
(1) มาตรา69 บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี ซึ่งการกระทำใดๆที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้…การที่ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคพลังประชาชน

                 เมื่อ2ธันวาคม2551 (สมัยสมัครและสมชาย) ได้อำนาจโดยวิธีการซื้อเสียงที่เชียงราย เป็นการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ไม่เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้(รวมถึงก่อนหน้านี้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อวันที่30พฤษภาคม2550) ประชาชนก็มีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีข้อสงสัยก็คือว่า”สิทธิต่อต้านโดยสันติวิธี” ดุลพินิจของศาลมีว่าอย่างไร? และขอบเขตแค่ไหน?
4. ยกตัวอย่างในคำวินิจฉัยของศาลฎีกาฯ 
(1) “จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่าแก๊สน้ำตาจะก่อให้เกิดอันตราย(แก่ร่างกายและเสียชีวิต)แก่ผู้ชุมนุมได้

(ความสงสัย:ชุมนุมตั้งแต่เช้า ราว 06.00-23.00น.ถึงค่ำ และทางตำรวจก็รู้อยู่เต็มอกว่าประชาชนล้มตายแขนขาขาด เป็นจำนวนมาก การสื่อสารก็ทันสมัยไม่สามารถติดต่อได้เลยหรือ? และยังมีเสียงตำรวจตะโกนอย่างบ้าคลั่งระหว่างยิงแก๊สน้ำตาว่า”อยู่ได้อยู่ไป”)

(2) “…โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของแผนรักษาความสงบ(กรกฎ/48)แล้วจึงจำเป็นต้องใช้แก๊สน้ำตาเพื่อช่วยเหลือดังกล่าว”

(ข้อสงสัย:เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของแผนรักษาความสงบ…ขัดแย้งกับรายงานของคณะกรรมาธิการวุฒิสภาและศาลปกครองกลางหรือไม่?)

(3) “จำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ว่าแก๊สน้ำตาก่อให้เกิดอันตรายจากแก่ผู้ชุมนุมได้ และข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปทำร้ายผู้ชุมนุมให้ได้รับอันตรายแก่กายและเสียชีวิต” 

(ข้อสงสัย:คาดไม่ได้

               แต่เห็นผู้ชุมนุมแขนขาดขาขาดและเสียชีวิต ในช่วงเหตุการณ์ยาวนานมาก และตำรวจยังตะโกนอย่างบ้าคลั่ง น่าจะสั่งให้ยุติได้…ที่สำคัญหลังจากนั้นผู้บัญชาการเหล่าทัพ

                ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้สร้างปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ผ่านจอโทรทัศน์ช่อง3 เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่16ตุลาคม 2551 หลังพิธีพระราชทานเพลิงศพน้องโบว์เพียง3วัน) 
5. ข้อเสนอต่อพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

(1) การให้สังคมรับรู้อย่างกว้างขวาง โดยใช้ภาษาสุภาพ…อยากให้ผู้ชุมนุม ผู้บาดเจ็บ พิการ และญาติผู้เสียชีวิตออกมาแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุดว่าศาลฎีกาวินิจฉัยนั้นตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ ความจริงคืออะไร?

(2) การให้ผู้ชุมนุมผู้เสียหายฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ากระทำเกินกว่าเหตุ เพราะยังอยู่ในอายุความ ฟ้องให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

(3) เรื่องพิจารณาอย่างรอบคอบในการยื่นหนังสือต่อ ป.ป.ช.และศาลต่อไป 
               ขอให้พี่น้องจงร่วมใจกันปกป้องพลังศีลธรรม และร่วมกันปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคมไทยอันเป็นที่รักยิ่งของเรา.

Cr:จุ๋ม ด่านเกวียน
สำนักข่าววิหคนิวส์