29 กรกฎาคม 2560 หลายคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ จิต ภูมิศักดิ์ เป็นใครทำไมแดง พวกล้มเจ้ายกย่องหนักหนา จิตร ภูมิศักดิ์ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) จิตรเป็นบุตรของศิริ ภูมิศักดิ์ กับแสงเงิน ฉายาวงศ์ มีชื่อเดิมว่า สมจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็น จิตร เพียงคำเดียว ตามนโยบายตั้งชื่อให้ระบุเพศชายหญิงอย่างชัดเจน ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
สารานุกรมเสรี – พ.ศ. 2479 จิตรติดตามบิดา ซึ่งรับราชการเป็นนายตรวจสรรพสามิต เดินทางไปรับราชการยังจังหวัดกาญจนบุรี และเข้ารับการศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนประจำจังหวัดกาญจนบุรี จนถึงปี พ.ศ. 2482จิตรย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ อีก 7 เดือนบิดาก็ได้รับคำสั่งย้ายไปรับราชการในเมืองพระตะบอง ซึ่งสมัยนั้นเป็นเมืองในการปกครองของไทย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา) จิตรจึงย้ายตามไปด้วย และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่นั่น
พ.ศ. 2490 ประเทศไทย ต้องคืนดินแดนเมืองพระตะบองให้กัมพูชา จิตรจึงอพยพตามมารดากลับเมืองไทย ระหว่างที่ครอบครัวภูมิศักดิ์ ยังอยู่ที่พระตะบอง นางแสงเงินเดินทางไปค้าขายที่จังหวัดลพบุรี ขณะที่จิตรและพี่สาว เดินทางมาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานคร โดยจิตรเข้าเรียนที่โรงเรียนเบญจมบพิตรหรือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรในปัจจุบัน และสอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในที่สุด
บิดาและมารดาของ จิตร ภูมิศักดิ์ แยกทางกัน หลังจากนั้นหลายปีต่อมาบิดาของ จิตร ภูมิศักดิ์ ก็ได้แต่งงานใหม่กับ นางสงวน สร้างครอบครัวใหม่ที่จังหวัดสระบุรี โดยมีบุตรด้วยกัน 5 คน เป็น หญิง 4 คน และ ชาย 1 คน(คนกลาง)
ชื่อเสียงของ จิตร ภูมิศักด์ น่าจะโด่งดังในสาธารณชนวงกว้างเป็นครั้งแรก จากกรณี โยนบก เมื่อครั้งที่เขาเป็นสาราณียากร ให้กับหนังสือประจำปี ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2496 ในครั้งนั้นเขาได้เปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่ “ซ้ำ ๆ ซาก ๆ” ของหนังสือประจำปี โดยลงบทความสะท้อนปัญหาสังคม ประณามผู้เอารัดเอาเปรียบในสังคม ซึ่งรวมถึงรัฐบาลด้วย รวมทั้งชี้ให้เห็นค่านิยมอันไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้คนนับถือกันมานาน
โดยบทความเหล่านั้น มีทั้งที่จิตรเขียนเอง ร่วมแก้ไข หรือเพื่อน ๆ คนอื่นเขียน ผลก็คือระหว่างการพิมพ์หนังสือ ที่เนื้อหาโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่งผลถูกตำรวจสันติบาลอายัด และมีการ “สอบสวน” จิตรที่หอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเหตุการณ์นั้น จิตรถูกกลุ่มนิสิตที่นำโดยนายสีหเดช บุนนาค คณะวิศวกรรมศาสตร์ตั้งศาลเตี้ยจับ “โยนบก” ลงจากเวทีหอประชุม ทำให้จิตรได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาลและพักรักษาตัวอยู่หลายวัน ต่อมาทางมหาวิทยาลัยได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาโทษและมีมติให้จิตร ภูมิศักดิ์ถูกพักการเรียนเป็นเวลา 1 ปี คือในปี พ.ศ. 2497 จากการกระทำความผิดกรณีข้อคงามปลุกระดมในหนังสือพิมพ์
ระหว่างถูกพักการเรียน จิตรได้ไปสอนวิชาภาษาไทยที่โรงเรียนอินทร์ศึกษา แต่สอนได้ไม่นาน ก็ถูกไล่ออกไป เนื่องจากถูกกล่าวหาว่ามีหัวก้าวหน้ามากเกินไป ใส่ร้ายป้ายสี ชาติของตนเอง จิตรจึงไปทำงานกับหนังสือพิมพ์ไทยใหม่ ที่เป็นฝั่งเอียงซ้าย ที่มีฐานจากพรรคคอมมิวนิสต์ ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ที่จิตรได้สร้างสรรค์ผลงานการวิจารณ์ โดยใช้นามปากกา “บุ๊คแมน” และ “มูฟวี่แมน”
ปี พ.ศ. 2498 เขากลับเข้าเรียนอีกครั้งและสำเร็จปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิตในปี พ.ศ. 2500 จากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์และศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร จนกระทั่งถูกจับในข้อหา “สมคบกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายใน และภายนอกราชอาณาจักรและกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์” เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เขาถูกคุมขังอยู่จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2507 จึงได้รับการปลดปล่อยและพ้นจากข้อหาของทางการ
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2508 ความจริง ความกระจ่างของตัวตนเขาจึงปรากฎ จิตรได้เดินทางสู่ชนบทภาคอีสาน เพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสตแห่งประเทศไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจากจีน เพราะไทยยินยอมให้สหนัฐตั้งฐานทัพในอู่ตะเภา เพื่อทำสงครามเวียดนาม แล้วเริ่มรุกล้ำมายังดินแดนของจีน โดยมีเป้าหมายของจิตต่อสู้กับรัฐบาล เพื่อเปลี่ยนแปลงการปครอง ล้มล้างระบอบกษัตริย์ ในนาม “สหายปรีชา” แต่จีนมีเป้าหมายเพียงให้ไทยยุติให้สหรัฐตั้งฐานทัพยังอู่ตะเภา
จิตร ถูกอดีตกำนันตำบลคำบ่อ อาสาสมัคร และทหาร ล้อมยิงจนเสียชีวิต ตายด้วยกระสุนปืนที่ทุ่งนากลางป่าละเมาะ บ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ขณะร่วมกับคอมมิวนิสต์ ก่อวินาศกรรม ปล้นสะดม โจมตีฐานเจ้าหน้าที่ จนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ไทย เมื่อจีนตกลงกับไทยที่จะยกเลิกฐานทัพอู่ตะเภา จีนจึงประกาศปิดสถานีวิทยุปักกิ่ง และยกเลิกสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงทำให้จิตร แท้ที่จริงแล้วคือสัญลักษณ์ของขบวนการล้มเจ้า หรือ พรรคคอมมิวนิสต์ก็แค่นั้นเอง
ทีมข่าว สำนักข่าว vihok news