11 ส.ค.60 เพจเครือข่ายคณาจารย์และบุคลากรอุดมศึกษาไทย ได้ออกแถลงการณ์ คัดค้านใช้ ม.44 แทรกแซงการบริหารมหาวิทยาลัย โดยระบุว่า
มติชน – ตามที่รัฐบาลภายใต้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 256 ร่วมกับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 37/2560 เรื่องการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของสถาบันอุดมศึกษา ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2560 โดยอ้างว่า เนื่องจากการบริหารงานของอุดมศึกษาของรัฐที่ผ่านมา มักปรากฎปัญหาการได้มาซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหาร และส่งผลขัดขวางต่อการดำเนินการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้นจึงเห็นควรให้สามารถที่จะแต่งตั้งบุคคลใดที่มิได้เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หรือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาดํารงตําแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดีหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะได้ ทั้งยังให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี ให้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวได้โดยเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ หากเห็นสมควร
แถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า คำสั่งของ คสช. ดังกล่าวถือเป็นการใช้อำนาจภายใต้การนำของรัฐบาลทหาร เข้าแทรกแซงการบริหารจัดการกิจการของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีกฎระเบียบในการบริหารและจัดการมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว คำสั่งฯดังกล่าวไม่เพียงแต่เป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม หากแต่ยังเป็นคำสั่งที่ออกมาโดยมิได้ผ่านการปรึกษาหารือกับประชาคมนักวิชาการและบุคคลากรภายในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศแต่อย่างใด การเปิดช่องให้สามารถแต่งตั้งบุคคลที่มิได้สังกัดสถาบันอุดมศึกษามาดำรงตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อการบริหารมหาวิทยาลัยได้ ยังสร้างข้อกังขาต่อการที่สถาบันอุดมศึกษาไทยจะสามารถถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ตั้งแต่ระดับสถาบันไปจนถึงคณะและภาควิชาอีกด้วย อนึ่ง คำสั่ง คสช. ดังกล่าว นับเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ในการแทรกแซงความเป็นอิสระของสถาบันอุดมศึกษา นับตั้งแต่ผนวกเอาผู้บริหารของมหาวิทยาลัยของรัฐเข้า เป็นส่วนหนึ่งของรัฐ ผ่านการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถที่ จะดำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการองค์กร ที่ปลอดพ้นจากการแทรกแซงหรือตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง เครือข่ายคณาจารย์และบุคคลากรอุดมศึกษาไทย จึงขอเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว และให้รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ยุติการกระทำการใดๆที่แทรกแซงมหาวิทยาลัยอีกต่อไป
ลงชื่อศ.เกียรติคุณ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ. เกียรติคุณ สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.(พิเศษ) ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ Southeast Asian Study มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.กรพนัช ตั้งเขื่อนขันธ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ สังกัดวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อ.ก่อพงศ์ วิชญาปกรณ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ดร.กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์ ม.อุบลราชธานี กษมาพร แสงสุระธรรม อ.กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไพ นักวิชาการอิสระ ผศ.ดร.กาญจน์ นทีวุฒิกุล นักวิชาการอิสระ อ.กิตติ วิสารกาญจน มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.กิติมา ขุนทอง มหาวิทยาลัยราชภัฎ สกลนคร กิตติมา จารีประสิทธิ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิชกุล มหาวิทยาลัยมหิดล อ. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อ.กุลธีร์ บรรจุแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา อ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.ดร.เกษมพัฒน์ พูลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กำพล จำปาพันธ์ นศ.ปริญญาเอก) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกรียงไกร จินะโกฎิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำนักข่าววิหคนิวส์