ข่าวประจำวัน » ​#สภาอุตฯโวย..!! รัฐออกพ.ร.ก. แรงงานไม่ศึกษาผลกระทบ

​#สภาอุตฯโวย..!! รัฐออกพ.ร.ก. แรงงานไม่ศึกษาผลกระทบ

6 July 2017
536   0

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สะท้อนปัญหาการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 โดยปราศจากการหารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องส่งผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรม จนทำให้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านจำนวนมาก ต้องรีบเดินทางออกนอกประเทศ แต่คาดว่า ม.44 ผ่อนผัน พ.ร.ก.ฉบับนี้จะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ 
BBC – นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสายแรงงาน ของ ส.อ.ท. เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า “การตัดสินใจประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมาของกระทรวงแรงงาน เป็นไปด้วยความฉุกละหุก ไม่มีการหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง และขาดการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น” 

        
        ผลกระทบที่ชัดเจนคือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารสมบูรณ์รวมทั้งกลุ่มที่เป็นแรงงานผิดกฎหมาย เกิดความวิตกจนต้องเดินทาง ออกจากประเทศเพราะเกรงกลัวความผิด เนื่องจากตาม พ.ร.ก.ฉบับใหม่นี้กำหนดโทษต่อผู้ละเมิดกฎหมายทั้งนายจ้างและลูกจ้างไว้ค่อนข้างรุนแรง 

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวกับสื่อในวันนี้ ถึงกรณีที่ภาคเอกชนท้วงติงให้ทบทวนเรื่องโทษปรับที่สูงเกินไปว่า ได้ให้แนวทางเรื่องนี้กับกระทรวงแรงงานไปแล้ว

พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 4 มาตราที่ ม.44 ชะลอการบังคับใช้

มาตรา 

สาระสำคัญ

บทลงโทษ

ม.101 

แรงงานต่างด้าว ที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน

ทั้งนี้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวฉบับนี้มีผลบังคับใช้เพียง 4 วันก่อนที่สหรัฐฯ จะเปิดเผยรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ฉบับล่าสุด ซึ่งประเทศไทยยังคงได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มที่ 2 บัญชีรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง (เทียร์ ทู วอทช์ลิสต์) เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน ซึ่งแหล่งข่าวในแวดวงธุรกิจตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินใจของกระทรวงแรงงานและรัฐบาลที่ประกาศใช้ พ.ร.ก. ดังกล่าวก็เพื่อหวังผลเชิงบวกต่อการพิจารณา ของสหรัฐฯ ในการจัดอันดับประเทศไทยในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปีนี้

รองประธาน ส.อ.ท. บอกว่า เห็นด้วยกับเนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์ของการใช้ พ.ร.ก.ฉบับนี้ ที่ต้องการให้การจัดหาแรงงานต่างด้าวมีระเบียบ เป็นไปตามมาตรฐานสากล และช่วยให้ประเทศไทยหลุดพ้นการถูกจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มเทียร์ 2 วอทช์ลิสต์ และการที่ได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป จากปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายหรือ IUU Fishing ที่สอดคล้องกับหลักกฎหมายสากล แต่ไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้ โดยไม่ได้ประเมิน ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

คาด ม.44 ยืดเวลาช่วยดึงแรงงานเข้าระบบมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เพื่อลดแรงกดดันที่เกิดขึ้นจากผลกระทบดังกล่าว ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวานนี้ (4 ก.ค.)ได้เห็นชอบการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557) ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. สั่งให้ชะลอหรือเลื่อนการบังคับใช้ 4 มาตราของ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าวออกไปก่อนเป็นเวลา 180 วัน โดยให้มีผลตั้งแต่วันทื่ 1 ม.ค. ปีหน้า โดย 4 มาตราดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การห้าม คนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน และเรื่องระวางโทษปรับนายจ้าง

นายสุชาติ ยอมรับว่าการชะลอบังคับใช้เงื่อนไขในกฎหมายดังกล่าว เป็นมาตรการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมต่างๆ ที่พึ่งพิงแรงงานจาก ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมา ลาวและกัมพูชา และคาดว่าระยะเวลา 180 วันน่าจะเพียงพอสำหรับการนำแรงงานที่ยังมีเอกสารไม่สมบูรณ์ ซึ่งคาดว่ามีอย่างน้อยราว 6 – 7 แสนคนเข้าระบบได้ทัน แต่ก็ยังมีความท้าทายอีกประการหนึ่ง คือ การนำแรงงานที่ยังไม่มีเอกสารใดๆ เข้ามาในระบบ ได้ทันตามกรอบเวลาดังกล่าวหรือไม่

จากข้อมูลของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน ประจำเดือน พ.ค. ระบุว่า มีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานในประเทศทั้งหมด 1.48 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวจาก 3 ประเทศคือ เมียนมา ลาวและกัมพูชา

มาตรการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเบื้องต้น

สำหรับมาตรการเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ส.อ.ท. ได้หารือกับกระทรวงแรงงานแล้ว โดยมาตรการหนึ่งที่สามารถทำได้ในระหว่างนี้คือ ให้นายจ้างพร้อมลูกจ้างแรงงานต่างด้าวที่ยังไม่มีเอกสารการจ้างงานไปแสดงตนว่าเป็นนายจ้างและลูกจ้าง ที่ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service) ของกระทรวงแรงงาน พร้อมยื่นเอกสารสำคัญประกอบ ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาในการตรวจสอบหลักฐาน 15 วันก่อนจะมีการออกหนังสือรับรอง (Certification of Identity) โดยจะมีเจ้าหน้าที่ทางการของประเทศที่แรงงานต่างด้าวมีถิ่นพำนักอยู่ร่วมอำนวยความสะดวก

“ทางการเมียนมาได้แสดงความจำนงจะเข้ามาอำนวยความสะดวกในเรื่องการตรวจสอบเอกสารสำหรับกรณีนี้ ขณะนี้ทางการไทยกำลังประสาน กับทางการลาวและกัมพูชาเพื่อให้เข้ามาให้บริการเรื่องนี้เช่นกัน” นายสุชาติกล่าว

ค่าใช้จ่ายสูง ขั้นตอนขอใบอนุญาตไม่คล่องตัว

ที่ผ่านมา ทางการไทยมีความพยายามในการดึงกลุ่มแรงงานต่างด้าวอยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีอุปสรรคหลายอย่างที่ทำให้การบริหารจัดการดังกล่าวยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

แหล่งข่าวจากสภาอุตฯ อีกราย บอกกับบีบีซีไทยว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคประการแรกคือค่าใช้จ่ายที่สูง กล่าวคือค่าใช้จ่ายบางส่วนต้องอยู่ในความ รับผิดชอบของลูกจ้าง แต่เพราะความต้องการของนายจ้างที่ต้องการใช้แรงงานสูงกว่าจำนวนแรงงานที่มี จึงทำให้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวตกเป็น ภาระของนายจ้างแทน ที่สำคัญใน พ.ร.ก.ฉบับใหม่มีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไว้ค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล

ประการที่สองคือ กระบวนการขอใบอนุญาตทำงานที่มีขั้นตอนค่อนข้างมาก ยุ่งยากกินเวลานาน จึงทำให้ผู้ประกอบการบางรายเลือกที่จะใช้แรงงาน ที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานแทน ดังนั้นหากภาครัฐไม่สามารถจัดการข้อจำกัดดังกล่าวในระยะยาวปัญหาการใช้แรงงานผิดกฎหมายก็จะยังไม่หมดไป


ทีมข่าว สำนักข่าว vihok news รายงาน