ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » ​#อิสรา แฉยับ!!คำถามจำนำข้าวที่ปูไม่กล้าตอบ

​#อิสรา แฉยับ!!คำถามจำนำข้าวที่ปูไม่กล้าตอบ

25 July 2017
1751   0

                25 กรกฎาคม 2560เปิดหมด! 35 คำถาม สนช. จัดชุดใหญ่ ขีดเส้นซัก “ยิ่งลักษณ์” คนเดียว สารพัดปัญหาทั้งการไม่ระงับยับยั้งโครงการข้าว จำนำหรือซื้อขาด รู้หรือไม่มีทุจริต ไม่ยอมฟังคำถามเตือน ป.ป.ช.-สตง. ใครควรรับผิดชอบ

          เป็นการขบเหลี่ยมเฉือนฟันกันจนสภาแทบระอุ!
อิสรา – ระหว่างฝ่ายกรรมาธิการ (กมธ.) ซักถามฯ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กับฝ่าย “บิ๊กรัฐมนตรี-ทีมทนาย” ตัวแทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีไม่ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว

ด้วยเหตุที่ว่า “อดีตนายกฯ” ไม่เข้ามาชี้แจงด้วยตัวเอง ทำให้ สนช. ต้องแก้เกมหารือ “ลับ” ตีกรอบคำถามซัก “ยิ่งลักษณ์” อย่างเดียว จากทั้งหมด 60 คำถาม เลือกเฟ้นเน้น ๆ เหลือ 35 คำถาม
แม้ฝ่ายผู้แทน น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะอ้างว่ามีสิทธิ์ตามข้อบังคับก็ตาม แต่ สนช. ที่เป็นผู้กำหนดญัตติซักถามก็ไม่ใยดีแม้แต่น้อย เนื่องจากเห็นว่าเป็นคำถามที่ “จำเป็น” ต้องให้ “นารีขี่ม้าขาว” เป็นผู้ตอบเท่านั้น !
สำนักข่าวอิศรานำคำถามทั้ง 35 ข้อดังกล่าวมาเปิดเผยต่อสาธารณชน ดังนี้
ข้อ 1 ตามที่หน่วยงานต่าง ๆ มีหนังสือทักท้วงการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวอย่างเป็นทางการ ในตัวเลขความเสียหายของรัฐจากอนุกรรมากรปิดบัญชีของกระทรวงการคลัง 3 ฉบับ วันที่ 9 ต.ค. 55 เสียหาย 3.2 หมื่นล้านบาท วันที่ 23 พ.ค. 56 เสียหาย 2.2 แสนล้านบาท และวันที่ 10 ต.ค. 56 เสียหาย 3.3 แสนล้านบาท หนังสือจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. 2 ฉบับ และหนังสือจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 4 ฉบับ เสนอให้รัฐบาลทบทวนและยุติโครงการ แต่รัฐบาลไม่ฟัง จนขณะนี้มีตัวเลขยืนยันความเสียหายมากกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งไม่รวมกับการลดค่าข้าวในสต็อกที่เหลือ จากตัวเลขดังกล่าวจะเป็นภาระของประเทศต่อไปนั้น ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบแบ่งเป็น 2 ข้อย่อย คือ
1.1.ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาเป็นนายกรัฐมนตรีและเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้ทราบเรื่องความเสี่ยงของโครงการ ข้อทักท้วง เนื้อหาสาระ ข้อเสนอแนะ หรือตัวเลขความเสียหายเหล่านั้นหรือไม่

1.2.หากความเสียหายยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องจนส่งผลกระทบต่อสถานการณ์คลังของประเทศ ทำไมผู้ถูกกล่าวหาไม่ระงับยับยั้ง หรือสั่งชะลอเพื่อแก้ปัญหา หรือความเสียหายเกิดขึ้นเสียก่อน แต่กลับปล่อยให้ดำเนินการต่อไป ทั้งที่มีข้อทักท้วงจากหน่วยงานต่าง ๆ

ข้อ 2 ตามที่มีหน่วยงาน เช่น ป.ป.ช. สตง. และสถาบันวิจัยพัฒนาประเทศ (TDRI) แจ้งเตือนเรื่องความสูญเสียจากการดำเนินนโยบายจำนำข้าวเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท อีกทั้งปรากฏข่าวเป็นการทั่วไปเกี่ยวกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในกระบวนการรับจำนำข้าว การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) และการนำข้าวออกมาขายในราคาต่ำในโครงการของกระทรวงพาณิชย์นั้น ท่านกล่าวอ้างว่าการเลิกนโยบายของรัฐจะต้องมีกระบวนการผ่านหน่วยงาน ครม. และรัฐสภานั้น

ในฐานะดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ท่านตระหนักหรือไม่ว่า ท่านอยู่ในฐานะที่สามารถสั่งการให้ยุติ ชะลอ หรือทบทวนการดำเนินนโยบายได้ทันที ตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และการที่ท่านมิได้ตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใช่หรือไม่

ข้อ 3 ตามที่ท่านได้กล่าวอ้างว่านโยบายการรับจำนำข้าวมีมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (อดีตนายกรัฐมนตรี) จนถึงยุคของท่าน รวมเวลาเกือบ 33 ปี ท่านทราบหรือไม่ว่าหลักการของการรับจำนำข้าว รัฐบาลก่อนหน้านั้นจะรับจำนำข้าวจากเกษตรกรในราคาไม่สูงกว่าราคาตลาด ในช่วงราคาข้าวตกต่ำ เพื่อให้เกษตรกรมีเงินทุนหมุนเวียนชั่วคราว และเกษตรกรสามารถไถ่ถอนข้าวดังกล่าวเพื่อขายในตลาด เมื่อราคาตลาดสูงขึ้น แต่รัฐบาลของท่านตั้งราคารับราคาจำนำข้าวสูงกว่าราคาตลาดประมาณร้อยละ 50 จึงเป็นไปไม่ได้ที่เกษตรกรจะกลับไถ่ถอนคืน 

ฉะนั้นการดำเนินการดังกล่าวจึงไม่ใช่การรับจำนำข้าว แต่เป็นการแทรกแซงตลาด อันเป็นการ ขัดกับหลักการค้าสากล ทั้งในกรอบ WTO และหลักเศรษฐกิจการตลาด ที่นานาประเทศ รวมถึงประเทศไทยยึดถือ เท่ากับว่ารัฐบาลของท่านดำเนินธุรกิจค้าข้าวเสียเอง จึงส่งผลกระทบต่อธุรกิจการค้าข้าว การส่งออกข้าว และทำลายกลไกการผลิตข้าวและการตลาดข้าว

ข้อ 4 โครงการรับจำนำข้าวเป็นโครงการหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) กำหนดมาให้ดำเนินการตามแนวทางทักษิณคิด เพื่อไทยทำ ซึ่งใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งขณะนั้นใช่หรือไม่

ข้อ 5 ขอทราบความหมายของการรับจำนำข้าวตามเจตนารมณ์ของโครงการที่ท่านดำเนินการและผลประโยชน์สุดท้ายที่ต้องการ

ข้อ 6 หากโครงการจำนำข้าวเกิดผลเสียหาย ทำให้ต้องใช้งบประมาณที่ได้จากภาษีของประชาชนของคนทั้งชาติมาแก้ปัญหาจำนวนมากมาย และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไม่ทราบเวลาสิ้นสุด ในฐานะผู้นำรัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบต่อสภาที่เป็นตัวแทนของคนในชาติอย่างไร

ข้อ 7 ท่านทราบหรือไม่ว่าการนำตัวเลขการสูญเสียเป็นกรณีองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) มาใช้อ้างอิงนั้น เป็นกรณีที่เปรียบเทียบกันมิได้ เนื่องจากกรณี ปรส.เป็นกรณีที่รัฐต้องเข้ามาแก้ปัญหาเอ็นพีแอลจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ แต่กรณีรับจำนำข้าวเป็นนโยบายเฉพาะกรณีที่เข้าข่ายโครงการประชานิยม

ข้อ 8 หากในอนาคตท่านมีโอกาสกลับมาเป็นรัฐบาล ท่านจะดำเนินนโยบายรับจำนำข้าวในลักษณะที่ผ่านมาอีกหรือไม่ อย่างไร จะป้องกันการคอร์รัปชันได้อย่างไร จะจัดหางบประมาณมาอย่างไร และป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

ข้อ 9 จากโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด ท่านอ้างว่าจะเป็นการยกระดับรายได้เกษตรกรให้เท่าเทียมกัน ท่านสามารถทำได้อย่างไร ในขณะมีโรงสีเข้าร่วมโครงการเพียง 700 โรง จาก 4 หมื่นโรง โดยเฉพาะชาวนาที่ยากจนรายเล็ก ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนในการขนส่ง

ข้อ 10 เมื่อท่านเป็นรัฐบาล ได้ดำเนินการโดยกำหนดเป็นนโยบายโครงการรับจำนำข้าว 1.5 หมื่นบาท/ตัน ราคาดังกล่าวเป็นราคาสูงกว่าราคาในตลาดโลก คำถาม เหตุใดจึงยังหาเสียงว่าเป็นการรับจำนำข้าวแทนที่จะบอกว่าเป็นนโยบายรับซื้อข้าว ท่านมีเจตนาอย่างไรในการกำหนดนโยบายดังกล่าว

ข้อ 11 เมื่อได้รับข้าวจากการจำนำข้าวแล้ว จำเป็นต้องฝากเก็บไว้ในโกดังข้าว คำถาม โกดังเก็บข้าวเป็นโกดังของรัฐบาล หรือเอกชน มีกระบวนการเก็บและรักษาข้าวอย่างไร มีมาตรการป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นขณะเก็บข้าวอย่างไร และเจ้าของโกดังที่เข้าโครงการได้รับผลประโยชน์อย่างไร

ข้อ 12 รัฐบาลตั้งราคารับจำนำข้าวจากเกษตรกรในราคาสูง และรัฐบาลได้ระบายข้าวให้ผู้ประกอบการเฉพาะรายในราคาต่ำกว่าราคาจำนำ ทำให้ราคาตลาดต่ำกว่าราคารับจำนำ จึงไม่มีเกษตรกรซื้อข้าวคืน เพื่อมาขายให้ตลาดในราคาต่ำกว่า รัฐบาลได้ทำลายกลไกราคา และตลาดข้าวในประเทศ โดยพยายามเป็นผู้ค้าข้าวรายใหญ่ ผูกขาด ทำให้กลไกในประเทศถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง เกิดความเสียหายต่อโรงสีรายย่อย ระบบการค้าเสรี และกลไกตลาด และปัญหาเกษตรกรไม่พึ่งพาตนเอง คำถาม ได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

ข้อ 13 โครงการับจำนำข้าวกำหนดราคารับจำนำ 1.5 หมื่น/ตัน แต่ราคาตลาด 6-9 พันบาท/ตัน กำหนดสูงเช่นนี้ คำถาม มีเกษตรกรกี่รายได้ไถ่ถอนข้าวคืน หากไม่มี จะกล่าวได้หรือไม่ว่า โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ แท้จริงแล้วคือโครงการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรนั่นเอง

ข้อ 14 เมื่อก่อนเริ่มโครงการ นายกิตติรัตน์ แถลงว่า ถ้ารัฐบาลทำโครงการรับจำนำข้าวแล้ว ทำให้รัฐเสียหายมากกว่า 6 หมื่นล้านบาท ที่เป็นรัฐบาลชุดก่อนใช้ชดเชยประกันรายได้ รัฐบาลเพื่อไทยคงดำรงอยู่ไม่ได้ และไม่ต้องถามว่าจะรับผิดชอบอย่างไร ต่อมาปรากฏข้อมูล รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานอนุฯปิดบัญชีโครงการข้าว รายงานความเสียหาย 6.8 แสนล้านบาท สำหรับโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 4 โครงการขาดทุน 5.1 แสนล้านบาท ทำให้ต้องนำเอางบประมาณภาษีของคนทั้งชาติมาแก้ปัญหา อีกทั้งใช้วงเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของความเสียหาย หรือสิ้นสุดโครงการ ขอถามให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบเป็นรายข้อย่อยดังนี้

14.1.ความเสียหายเกิดขึ้นนี้ มีผลประโยชน์ใดเกิดกับชาวนาอย่างยั่งยืนหรือไม่

14.2.ตามที่ได้แก้ข้อกล่าวหาว่า ได้สั่งตั้งกรรมการชุดต่าง ๆ แก้ปัญหา ผลปรากฏว่าความเสียหายหมดไปหรือไม่

14.3.อดีตนายกรัฐมนตรีจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโครงการในรัฐบาลของท่านอย่างไร

ข้อ 15 การรับจำนำข้าวทุกเมล็ด โดยไม่เลือกพันธุ์ข้าว 1.5 หมื่นบาท/ตัน ข้าวเปลือกเหนียว 2 หมื่นบาท/ตัน ทำให้ชาวนารีบเก็บเกี่ยว นับว่าเป็นการทำลายพัฒนาพันธุ์ข้าว และคุณภาพข้าว เมื่อราคาต่างจากประเทศเพื่อบ้าน ทำให้มีการสวมสิทธิ์ เวียนเทียนข้าว จะขอถามให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบเป็นรายข้อย่อยทีละข้อดังนี้

15.1.รัฐบาลทราบปัญหานี้หรือไม่ ดำเนินการแก้ไขอย่างไร ได้ผลหรือไม่

15.2.มีการสอบสวนและลงโทษผู้กระทำความผิดหรือไม่ ผลคดีเป็นอย่างไร

15.3.ถ้าไม่มีการดำเนินคดี เพราะเหตุใด และเหตุใดจึงไม่ลงโทษ
ข้อ 16 โครงการรับจำนำข้าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม ให้เกิดความสูญเปล่า เป็นเงินสูญเปล่าก้อนแรก การเก็บข้าวไว้ในโกดังกลางกว่า 1 ปี การเก็บข้าวไว้ในโกดังแบบปกติ คือไม่มีห้องเย็น จะทำให้ข้าวเหลืองและมีมอด ปัญหาดังกล่าวทำให้มูลค่าข้าวลดลงปีละ 5 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าข้าวในโกดังหายไปปีละกว่า 5.2 พันล้านบาท และเสียรายได้ข้าวคุณภาพ 2 ชนิดที่เคยขายได้ในราคาสูง คือข้าวหอมมะลิ เก็บไว้ในโกดังหลายเดือน และข้าวนึ่งที่ไทยครองเป็นอำนาจหนึ่ง แต่รับจำนำข้าวทำให้โรงสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นสี ทำให้ไม่สามารถซื้อข้าวเปลือกเป็นข้าวนึ่งส่งออกได้ อีกอย่างคือพฤติกรรมชาวนาขยายพื้นที่ปลูกข้าว เพื่อเอาผลผลิตมาขาย ทำให้ต้นทุนสูง สิ้นเปลือง น้ำ ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ทำให้ผลผลิตอาหารลดต่ำลงอีกด้วย
ส่วนของโรงสีเองได้กู้เงินมาขยายการผลิต ทำให้ปัจจัยปัจจุบันเรามีกำลังการผลิตในการสีข้าวถึง 90 ล้านตันต่อปี แต่ผลผลิตข้าวให้สีเพียง 35 ล้านตัน เมื่อระบบแข่งขันเอกชนถูกทำลาย แต่ให้แข่งขันของรัฐ ไทยจึงเปลี่ยนจากผู้ผลิตและค้าข้าว มาเป็นข้าวคุณภาพ เพราะไม่ได้ซื้อข้าวเหมือนเอกชน การส่งออกไทยลดลง พ่อค้าข้าวส่งออก พนักงานในธุรกิจการส่งออก และธุรกิจ Logistic หลายหมื่นคนต้องตกงาน ปัญหาสุดท้ายปัญหาการระบายข้าวหากรัฐบาลยังใช้นโยบายจำนำข้าวเหมือนเดิม แต่วางแผนระบายข้าวในโกดังออกทั้งหมด การระบายใกล้เคียงนำข้าวเข้าโกดัง ทำให้ราคาข้าวในฤดูใหม่ไม่สูงเหมือนปีที่ผ่านมา แต่ถ้ายกระดับสูงกว่าตลาดโลกในฤดูหน้า ต้องซื้อข้าวเข้ามากกว่าขายออก และปีต่อไปทำแบบเดียวกัน
แต่ละปีรัฐบาลนำข้าวไปทิ้งทะเล เพราะทำให้สะสมภาระหนี้สาธารณะทุกปี หากไม่อยากสะสม รัฐบาลต้องขายข้าวทั้งหมดในโกดัง เพื่อหาเงินมาจำนำ ขายข้าวเก่าเกิดปัญหา 2 ประการ ประการแรก นายหน้านักการเมืองบางคนนำข้าวจำนำในฤดูใหม่แลกกับข้าวใหม่ ผลคือข้าวในโกดังยังเป็นข้าวเก่า แต่บัญชีข้าวเปลี่ยนเป็นข้าวใหม่ การระบายข้าวทำให้ข้าวตลาดลด ขาดทุนรัฐจะมากขึ้น คำถาม ทราบถึงความสูญเปล่าขั้นต้นหรือไม่ ป้องกันแก้ไขหรือไม่เพียงใด
ข้อ 17 รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยกระดับราคาซื้อข้าวเปลือกของเกษตรกรสูงขึ้น 1.5 หมื่นบาท/ตัน แต่ต้นทุนหลังจำนำข้าว คำนวณซื้อข้าวเปลือกรัฐบาล บวกแปรสภาพข้าวสาร 2,188 บาท/ตัน เก็บรักษา 2 ปี 1.4 พันบาท/ตัน ต้นทุนรวมอยู่ที่ 18,624 บาท/ตัน โดยยังไม่รวมค่าขนส่ง และค่าดำเนินงานของหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง แต่ราคาข้าวเปลือกในเดือน ต.ค. 54 เฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 10,400 บาท/ตัน ขาดทุนเบื้องต้น 8.2 พันบาท/ตัน
รัฐบาลทราบตัวเลขการขาดทุนนี้ และปล่อยให้จำนำข้าวดำเนินการต่อไป จนกระทั่งเกิดความเสียหายต่อระบบคลังอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดหนี้สาธารณะมูลค่ามากมายมหาศาล ไม่ก่อประโยชน์แก่ประเทศอย่างยั่งยืน เนื่องจากไทยไม่ได้ผลิตข้าวรายใหญ่สุด จึงไม่สามารถชี้นำราคาตลาดโลกได้อย่างแท้จริง ทำให้ไม่เกิดผลกระทบต่อกลไกในตลาดโลก ทำให้ราคาข้าวไทยแพงกว่า ปริมาณส่งออกลดลง ประกอบกับต้นทุนสูงกว่าราคาจำหน่าย ทำให้เกิดการขาดทุน รายได้จากการส่งออก ไม่เป็นไปตามประมาณการรายได้ คำถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แก้ไป

ทีมข่าว สำนักข่าว vihok news