31 ก.ค.60 จากน้องสาวคนเล็กในครอบครัวชินวัตร ผู้ยอมทำตามคำขอร้องของพี่ชาย ผันตัวเองจาก “นักธุรกิจ” มาเป็น “นักการเมือง” และใช้เวลาหาเสียงเพียง 49 วัน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็สามารถพาตัวเองก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่มีอำนาจสูงสุดทางการเมือง ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้สำเร็จ ถึงวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับต้องเผชิญทุกข์หนักที่สุดในชีวิต ทั้งลุ้นผลทางอาญาของคดีจำนำข้าว ในวันที่ 25 ส.ค.นี้ ว่าจะถูกทำให้สิ้นอิสรภาพหรือไม่
BBC – ขณะเดียวกัน เธอยังต้องพยายามทุกทางเพื่อคัดค้านการดำเนินการของรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่อาจทำให้เธอสิ้นเนื้อประดาตัววยยับยั้งพฤติกรรมก้าวร้าวของเกาหลีเหนืออย่างจริงจัง
จำนวนเงิน 35,717 ล้านบาท คือตัวเลขที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ถูกเรียกชดใช้ จากการเดินหน้าโครงการรับจำนำข้าวในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โทษฐาน “ปล่อยให้มีการทุจริต” และ “ไม่ระงับยับยั้งความเสียหาย” ตามถ้อยคำที่ระบุไว้ในคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 1351/2559 ซึ่งออกมาเมื่อปลายปีก่อน
เส้นทางการยึดทรัพย์ ยิ่งลักษณ์
2555 ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ รบ.ยิ่งลักษณ์ เรื่องทุจริตโครงการจำนำข้าว
2556 ป.ป.ช. ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนคดีจำนำข้าว
2557 1.ป.ป.ช. แจ้งข้อกล่าวหายิ่งลักษณ์ 2.ยิ่งลักษณ์ถูก ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด ด้วยมติเอกฉันท์ 7:0 เสียง
2558 1.ป.ป.ช. แจ้งให้กระทรวงการคลังเรียกค่าเสียหายจำนำข้าวจากยิ่งลักษณ์ 2.ประยุทธ์ตั้ง “คกก.สอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด” เพื่อพิจารณาข้อเท็จจริง
2559 1.ส่งเรื่องให้ “คกก.พิจารณาความรับผิดทางแพ่ง” ให้พิจารณาต่อ โดยสรุปตัวเลขค่าเสียหาย 35,717 ล้านบาท 2.ประยุทธ์ใช้ ม.44 คุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเรียกค่าเสียหายจำนำข้าว 3.รมว.คลังลงนามในคำสั่งทางปกครองเรียกค่าเสียหายจากยิ่งลักษณ์ 4.ยิ่งลักษณ์ฟ้องศาลปกครองขอให้เพิกถอนคำสั่งเรียกค่าเสียหาย พร้อมขอให้ทุเลาการบังคับใช้
2560 1.ศาลปกครองยกคำขอให้ทุเลาการบังคับใช้ 2.กระทรวงการคลังตั้ง “คณะทำงานเพื่อการสืบทรัพย์” 3.คณะทำงานเพื่อการสืบทรัพย์ ส่งข้อมูลบัญชีธนาคารให้กรมบังคับคดี ซึ่งสั่งอายัดทรัพย์สินไว้ 7 จากทั้งหมด 12 บัญชี 4.ยิ่งลักษณ์ยื่นศาลปกครองขอให้ทุเลาการบังคับใช้คำสั่งเรียกค่าเสียหายอีกครั้ง
ขณะนี้ กรมบังคับคดีได้เริ่มต้นกระบวนการยึดทรัพย์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ด้วยการอายัดบัญชีเงินฝาก จำนวน 7 เล่ม (ทั้งหมดอยู่ในธนาคารกรุงเทพ) จากทั้งหมด 12 เล่ม จากข้อมูลที่คณะทำงานเพื่อการสืบทรัพย์ กระทรวงคลัง ส่งมอบมาให้
แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครอง ตั้งแต่ปลายปีก่อน เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของกระทรวงการคลัง ที่เธอมองว่า “ออกมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย” แต่บัดนี้คดีก็ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก ส่วนคำขอทุเลาการบังคับใช้คำสั่ง ก็เคยถูกตีตกไปแล้วครั้งหนึ่ง แม้จะยื่นคำขอเข้าไปใหม่ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ผลที่แตกต่างไปจากเดิม
คำถามที่หลายคนคงอยากรู้ก็คือ ปัจจุบัน อดีตนายกฯหญิง ผู้ซึ่งเพิ่งมีอายุครบ 50 ปีไปเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีเงินเหลืออยู่เท่าไร และเพียงพอจะจ่ายให้กับตัวเลขที่ถูกสั่งยึดหรือไม่ ?
จากการตรวจสอบข้อมูลในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นไว้ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำนวน 9 ครั้ง ทั้งในฐานะ ส.ส. รมว.กลาโหม และนายกฯ ก็ปรากฎว่า ในการยื่นครั้งแรก เมื่อครั้งมาเป็น ส.ส. ในวันที่ 2 ส.ค. 2554 เธอแจ้งว่ามีทรัพย์สิน 547 ล้านบาท และในการยื่นครั้งหลังสุด เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ครบหนึ่งปี ในวันที่ 6 พ.ค.2558 เธอแจ้งว่ามีทรัพย์สิน 579 ล้านบาท
โดยการยื่นบัญชีฯต่อ ป.ป.ช. เมื่อสองปีก่อน ในส่วนของเงินฝากนั้น เธอแจ้งว่ามีบัญชีเงินฝาก 16 บัญชี กระจายอยู่ในสถาบันการเงิน 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ 7 เล่ม ธนาคารกสิกรไทย 4 เล่ม ธนาคารยูโอบี 3 เล่ม และบริษัทหลักทรัพย์ธนชาต อีก 2 เล่ม มีเงินฝากรวมกัน 24 ล้านบาทเศษ
ทรัพย์สินอื่น ๆ ของยิ่งลักษณ์
45.69 ล้านบาท
มูลค่ารวมของอัญมณี นาฬิกาข้อมือ กระเป๋าถือ และเครื่องประดับ
* 51 ชิ้น 41.78 ล้านบาท อัญมณี อาทิ จี้เพชร 13.5 กะรัต, แหวนไพลินพร้อมเพชร ฯลฯ
* 9 เรือน 1.81 ล้านบาท นาฬิกาข้อมือ อาทิ โรเล็กซ์ สายทองคำฝังเพชร, คาเทียร์ สายโลหะสีทองสลับเงิน ฯลฯ
* 7 ใบ 2.1 ล้านบาท กระเป๋าถือยี่ห้อแอร์เมส
ที่มา: บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. หลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 1 ปี
แต่ทรัพย์สินของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ที่มีมูลค่ามากที่สุด ก็คือ โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 162 ล้านบาท โดยบ้านหลังที่มีมูลค่ามากที่สุด ก็คือบ้านหลังที่เธอใช้ “ซุกหัวนอน” อยู่ในปัจจุบัน ในซอยนวมินทร์ 111 ซึ่งถูกตีมูลค่าไว้ที่ 110 ล้านบาท ขณะที่ทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่ามากรองลงมา คือ ที่ดิน 14 แปลง ที่มีมูลค่ารวมกัน 117 ล้านบาท ตามมาด้วยเงินลงทุน 115 ล้านบาท และเงินให้กู้ยืม 108 ล้านบาท
ในบัญชีทรัพย์สินฯของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังรวมเงิน 1.5 ล้านบาทของ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร บุตรชายคนเดียวเอาไว้ด้วย ซึ่งน่าสนใจว่ารัฐบาล คสช. จะยึดทรัพย์ในส่วนนี้ไปด้วยหรือไม่
ทรัพย์สินของ ยิ่งลักษณ์
รายการ มูลค่า (บาท)
เงินสด 14,298,120
เงินฝาก (16 บัญชี) 24,908,420
เงินลงทุน 115,531,804
เงินให้กู้ยืม 108,301,369
ที่ดิน (14 แปลงใน กทม. เชียงใหม่ และเชียงราย) 117,186,350
โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง (36 แห่ง) 162,368,182
ยานพาหนะ (รถยนต์ 9 คัน) 21,990,000
สิทธิและสัมปทาน 569,189
ทรัพย์สินอื่น เช่น นาฬิกา กระเป๋า เครื่องประดับ ฯลฯ 45,690,000
ทรัพย์สินของบุตรชาย 1,535,795
(-)หนี้สิน (-)33,070,803
รวม 579,308,428
ความเสียหายที่ต้องชดใช้จากโครงการจำนำข้าว 35,717,273,028
ที่มา: บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยื่นไว้ต่อ ป.ป.ช. ในโอกาสพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ครบหนึ่งปี เมื่อวันที่ 6 พ.ค.2558
ทั้งนี้ เธอแจ้งมี “รายได้” หลังพ้นจากตำแหน่งนายกฯ 9.5 ล้านบาทต่อปี โดยส่วนใหญ่มาจากเงินปันผลในบริษัทต่าง ๆ ที่เธอถือหุ้นอยู่ อาทิ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รวมกับกองทุนต่างๆ อีกนับสิบ รวมเป็นเงิน 4 ล้านบาท เงินจากดอกเบี้ย 2.3 ล้านบาท เงินจากค่าเช่ากว่า 8 แสนบาท และจากแหล่งอื่น ๆ โดยเป็นเงินทุนเลี้ยงชีพในฐานะอดีต ส.ส. 3 แสนบาทเศษ
ยานพาหนะ 9 คันของยิ่งลักษณ์
เบนซ์ 4 คัน 8.6 ล้านบาท
รุ่น S280, SLK200, E240, VITO
* ปอร์เช 5.2 ล้านบาท รุ่นเคย์แมน
* บีเอ็มดับเบิลยู 4.1 ล้านบาท รุ่น 730 Lise
* โฟล์กสวาเกน 3 ล้านบาท รุ่นคาราเวล
* รถอื่น ๆ อีก 2 คัน 1.09 ล้านบาท แลนด์โรเวอร์ และโตโยต้า วีออส
ที่มา: บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. หลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 1 ปี
Getty Images
เวลานี้ ที่พึ่งเดียวที่จะทำให้บรรดาทรัพย์สินที่กล่าวถึงข้างต้นไม่ถูกยึดเอาไป ก็คือ ศาลปกครอง เช่นเดียวกับที่พึ่งซึ่งจะทำให้เธอยังสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ ก็คือ ศาลฎีกาฯ
อย่างไรก็ตาม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ได้ออกมายืนยันแล้วว่า ผลการตัดสินของทั้ง 2 คดีจะไม่ผูกพันกัน คือต่อให้ศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาในวันที่ 25 ส.ค.นี้ ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่มีความผิด กระบวนการยึดทรัพย์ก็จะยังเดินหน้าต่อไป จนกว่าศาลปกครองจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น
วิบากกรรมของนายกฯคนที่ 3 จากตระกูลชินวัตร จึงว่าใช่จะจบลงได้โดยง่าย
ทีมข่าว สำนักข่าววิหคนิวส์