โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
นิติศาสตร์ดุษฎีบันทิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมและเป็นอาจารย์สอบวิทยานิพนธ์ และค้นคว้าอิสระให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศึกษากรณีอัยการจัดการมรดก ระหว่างประเทศ ซึ่งทำหน้าที่ เสมือน ทนายความ
จากสภาพความเป็นมาของสภาพปัญหา สภาทนายความ เป็นองค์กรปกครองตนเอง ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ มีสมาชิกส่วนมาก 95% เป็นทนายความ
หลักการสำคัญ คือวัตถุประสงค์สภาทนายความ ที่ต้องส่งเสริมความสามัคคี/ผดุงเกียรติศักดิ์ วิชาชีพ และควบคุมมรรยาท ทนายความ ไม่ใช่การเฝ้าดูว่า จะวิวาทกับ สมาชิก ด้วยกัน และจ้องจะหาเหตุเพื่อลงโทษสมาชิก สภาทนายความ เพื่อเอาใจคนนอก
สภาทนายและ กรรมการ ทุจริตสมาชิกสภาทนายความถามนายกมา
จะข้ามปีไม่มีคำตอบ ? ยิ่งอยู่ไปนานวัน คณะกรรมการแตกแยกเป็น 2-3 ฝ่ายให้เห็นเป็น ที่ประจักษ์กรรมการสภาทนายความไม่เดินตามรูปแบบเพื่อเป็นหลักประกันแก่สมาชิก ไม่มีความสามัคคี ทำให้ องค์กร สภาทนายความขาดความน่าเชื่อถือ
การดำเนินกิจการสภาทนายความที่ผิดไปจากวัตถุประสงค์สร้างความ เหลื่อมล้ำ เสียหายแก่องค์กรผู้บริหารไม่กล้าหาญพอที่จะใช้อำนาจนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ และไม่นำความก้าวหน้าไปสู่ในทางกฏหมาย โดยไม่ได้ให้ความรู้ในทางกฏหมายแก่ประชาชน อย่างแท้จริง จ้องแต่ปกป้องผลประโยชน์แก่พวกพ้องตนเอง โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่รัฐตั้งงบประมาณมาให้เพื่อช่วยเหลือประชาชน
อย่างกรณีคดีจัดการมรดก สภาทนายความต้องมีบทบาท ให้แก่เพื่อนสมาชิกทนายความ คดีมรกดกมาตรา 1713 เป็นคดีสิทธิในครอบครัว เป็นเรื่องส่วนตัว เป็นกฏหมายโดยเฉพาะอัยการ“ไม่สามารถทำได้เลย
ภายในประเทศ
พนักงานอัยการจึงตั้งหน่วยงาน สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ
การยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกโดยพนักงาน อัยการ
กรณี มาตรา 1713 ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้
”คำว่าก็ได้“ (หมายถึง) กรณี
(1) เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอกราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
ส่วนใน(วงเล็บสอง)นั้น เป็นกรณี�(2) เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้องในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
(ในกรณีนี้ “ถ้าทายาททุกคนเต็มใจก็ไม่ใช่อำนาจของพนักงาน อัยการที่จะทำได้”)�(3) เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใด ๆ การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
ทั้ง“สาม”กรณีดังกล่าวนี้จะต้องเป็นกรณีคุ้มครองสิทธิประชาชน
ระหว่างประเทศ เท่านั้น
เหตุที่อัยการและ ศาลจะต้องมาให้เจ้าพนักงานจัดการมรดก ให้กับผู้ยากไร้ สภาทนายความไม่เคยต่อสู้ เพื่อสมาชิกทนายความ ยังไร้ชึ่งความสามารถที่จะปกป้อง สภาพผู้ยากไร้
ไม่สามารถพึ่งสภาทนายความได้ ประชาชนจึงต้องไปพึ่งอัยการและเจ้าพนักงานศาล นำพาอาชีพทนายความไปสู่ความตกต่ำ องค์กรสภาทนายความเดินถอยหลังไปสู่ความ เหลื่อมล้ำ เสื่อมความสามัคคีอาชีพหลักของประชาชนไม่สามารถปกป้องได้
ผู้บริหารสภาทนาความส่วนใหญ่ขาดทักษณะในการเป็นผู้นำ ไม่กล้าแม้แต่จะตรวจสอบพรรคพวกตนเองเพราะกลัวเสียคะแนนในการเลือกตั้ง ถ้อยทีถ้อยอาศัย ที่จะมีขึ้นในครั้งต่อไป แท้จริงแล้วเฉพาะอัยการทำคดีอาญา มากพอแล้ว ยังต้องมารับหน้าที่และรับบทบาท“เป็นทนาย”
ในการจัดการมดก ให้กับผู้ยาก
จึงเป็นเงื่อนไขของพนักงานอัยการตามกฎหมายที่จะมีอำนาจทำได้ ในการแย่งอาชีพทนายความ จึงไม่ใช่หน้าที่พนักงานอัยการ แต่ที่พนักงานอัยการต้องทำหน้าที่ สภาทนายความไม่ใส่ใจที่จะแก้ไข้ปัญหาเหล่านี้ จึงเป็นกรณีศึกษา
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม