…………;;………;;……#########…………;……;;……
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
นิติศาสตร์ดุษฎีบันทิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาร่วมและเป็นอาจารย์สอบวิทยานิพนธ์ และค้นคว้าอิสระให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ความเป็นมาและสภาพปัญหา นางสรารัตน์ หรือแอม รังสิวุฒาภรณ์ ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในความผิดฐานลักทรัพย์ ต่อมา ถูกศาลออกหมายจับฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ในความผิดฐานลักทรัพย์ตำรวจได้ของกลางจากบุคคลอื่น ส่วนความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ในคดีที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าฆ่าผู้ตายชื่อ“ก้อย” นั้น ศาลรับฟังว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมเป็น พยานเป็นบอกเล่า แล้วลงโทษประหารชีวิต จึงเป็นกรณีศึกษา
คดีนี้ได้ความจากคนรักของผู้ตายรับฟังได้ว่า ก่อนที่ผู้ตายจะถึงแก่ความตาย ๑ วัน ผู้ตายไปดูหมอแล้วเอารูปของนางสรารัตน์ หรือแอม รังสิวุฒาภรณ์ ผู้ต้องหาให้หมอดูแล้วทักว่า ถูกบุคคลในรูปถ่ายทำคุณไสยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
นับตั้งแต่กระบวนการยุติธรรมเบื้องต้นตั้งแต่ในชั้นฝากขังของพนักงานสอบสวน ครั้งที่ ๑ พนักงานสอบสวนได้แนบรายงานประจำวันในวันจับกุมมาพร้อมกับคำร้อง ระบุว่ามีการล่อซื้อโดยสั่งซื้อในวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๖ และได้รับมาอยู่ในครอบครองในวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๖ ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันจับกุมผู้ต้องหาในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ตามรายงานประจำวันแนบท้ายฝากขังได้ความว่า
จ.ส.ต.คงศักย์ โสภณกุล ยอมรับว่า พ.ต.อ.ปทักข์ ขวัญนา ผู้กำกับ ๕ บก.ป. เป็นผู้สั่งการให้สั่งซื้อสารไซยาไนด์ และนำไปเป็นของกลางในคดีและส่งไปตรวจพิสูจน์ โดยของกลางสั่งซื้อจาก หจก.เอ็มแอนด์พี อิมเป็กซ์ ที่อยู่ ๒/๘ ถนนเจ้าคุณทหาร แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบังกรุงเทพ ๑๐๕๒๐ ได้รับกล่องพัสดุ จากบริษัทเคอรี่ ชื่อผู้ส่ง www.mpimpex.co.th หมายเลขพัสดุ KBLBG๐๐๐๑๒๒๘๒E๘ เป็นจุกสีเขียว แล้วนำไปเป็นของกลางในคดีนี้ส่งไปตรวจพิสูจน์พฤติการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่สุจริตตั้งแต่แรก
ในระหว่างฝากขังครั้งที่ ๖ พนักงานสอบสวนไม่ได้ผัดฟ้องต่อศาลภายในกำหนด เมื่อพ้นอำนาจการควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนแล้ว ศาลต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไปตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๒๙๔/๒๕๕๐ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้ฝากขังต่อ ชึ่งเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน
ทนายจำเลยจึงยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนรายงานกระบวนการที่ผิดระเบียบว่าการอนุญาตให้พนักงานสอบสวนฝากขังต่อ มิไม่ได้ทำต่อหน้าผู้ต้องหา และไม่ได้ถามผู้ต้องหาว่าจะคัดค้านหรือไม่ ศาลไม่มีอำนาจไต่สวนตามรายงานกระบวนการของศาลฉบับพิสดารว่าถามผู้ต้องหาแล้ว “ไม่ค้าน”
ทั้งที่ผู้ต้องหาแท้งลูกและนอนอยู่โรงพยาบาล กรมราชทันฑ์ได้ส่งตัวผู้ต้องหาไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ แต่ศาลได้ระบุไว้ในรายงานกระบวนการพิจารณาว่า ถามผู้ต้องหาแล้ว “ไม่ค้าน” ทนายจำเลยจึงขอให้ศาลเบิกตัวจำเลยมาศาล เพื่อให้โอกาสทนายจำเลยถามค้าน ศาลอนุญาต
กรมราชทันฑ์มีหนังสือถึงศาล ๒ ฉบับแจ้งเหตุขัดข้องไม่สามารถนำตัวมาศาลในนัดที่ ๖ ก็ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏแก่ศาลเอง
แต่ศาลก็ได้อนุโลมให้พนักงานสอบสวนฝากขังต่อ แม้จะเป็นดุยพินิจของศาล ทนายจำเลยเห็นว่าคำสั่งศาลไม่น่าจะชอบด้วยกฏหมาย ต้องปล่อยตัวจำเลยไปทันที
แล้วนำจำเลยมาฟ้องภายหลังได้ภายในอายุความ กรณีดังกล่าวไม่มีผู้ต้องหาคนไหนจะไม่ออกมาสู่อิสรภาพอย่างแน่แท้
ยิ่งก่อนถูกจับกุม ผู้ต้องหาได้ตั้งครรภ์ ผู้ต้องหาก็ไม่ได้หลบหนีไปไหน สิทธิเสรีภาพของประชาชนย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฏหมายศาลจะต้องปฎิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด
ถึงแม้จะหาใช่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายในอายุความ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีอาญามาฟ้องได้ก็ตาม แต่ทำให้จำเลยเสียสิทธิอันพึงที่จะได้รับการปล่อยตัวในระหว่างที่พนักงานสอบสวนมิได้ฝากขังภายในกำหนด ศาลก็ต้องปฎิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด
ในชั้นตรวจพยานหลักฐาน พ.ต.ท.ภานุพงศ์ จันตระกูล ได้ปิดข้อความดังกล่าวไว้โดยเอากระดาษปิดทับไว้ในรายงานประจำวันที่ตำรวจสั่งซื้อชายาไนด์มาเป็นของกลาง และประทับตรายางอันเป็นการปกปิดข้อเท็จจริง โดยมุ่งเอาผิดกับผู้กระทำผิดสถานเดียวเพราะกลัวกระแสสังคม แต่ต้องจำนนด้วยหลักฐาน เนื่องจากของกลางตรวจค้นพบในถุงดำเป็นขวดไซยาไนด์ฝาสีชมพู ส่วนของกลางที่ส่งไปตรวจพิสูจน์เป็นจุกสีเขียวที่สั่งซื้อทางออนไลน์
ศาลวินิจฉัยว่า จำเลยที่ ๑ อยู่กับผู้ตาย สองต่อสองและใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากที่สุด ย่อมรู้ดีว่าเกิดอะไรขึ้นแก่ผู้ตายแต่จำเลยที่ ๑ ก็ไม่ได้เข้าเบิกความให้ข้อเท็จจริงแก่“ศาลและแก่สังคม” เพื่อให้โอกาสโจทก์และโจทก์ร่วมถามค้าน เชื่อว่าจำเลยที่ ๑ ไม่ได้ความเป็นอิสระที่จะตัดสินใจเองได้และต้องอยู่ภายใต้การชี้นำของทนายความ
คำวินิจฉัยดังกล่าว มีผลกระทบต่อ“วิชาชีพทนายความ”ทั้งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และขัดต่อปริญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษย์ชนของสหประชาชาติ ข้อ ๑ ที่บัญญัติว่า “มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระเสรีเท่าเทียมกัน ทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิทุกคนได้รับการประสิทธิประสาท เหตุผลและมโนธรรมและการปฏิบัติกันต่อฉันท์พี่น้อง………..สิทธิของบุคคล มันเป็นคนละซีกอกับเจตจำนงค์ของมหาชน”
ปัญหาดังกล่าวนี้ หากให้เป็นบรรทัดฐาน ถ้าคดีไหนประชาชนให้ความสนใจ กระแสสังคมมีคำพิพากษาไปเสียก่อนแล้ว จำเลยย่อมต้องถูกลงโทษทุกคดีนั้น “ย่อมขัดต่อหลักนิติธรรม”
แม้จะเป็นดุลยพิจของศาลในการับฟังพยานหลักฐานก็ตาม แต่กระบวนการยุติธรรมของศาลมี ๓ ระดับชั้นด้วยกัน เป็นการถ่วงดุลย์อำนาจของศาลแต่ละระดับชั้น คือ ชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
“กระแสสังคม”ไม่ใช่ศาลที่จะมาวินิจฉัยความผิดถูกของจำเลย ศาลสถิตยุติธรรมตามระดับชั้นเท่านั้นที่จะเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หลายๆ คดีที่ศาลชั้นต้นตัดสิ้นตาม“กระแสสังคม”เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลสูงผลของคำพิพากษาย่อมเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นในความผิดฐานลักทรัพย์โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็น แม้การกระทำของจำเลยดังกล่าวอาจจะเป็นพิรุธจริง แต่การกระทำอันเป็นพิรุธของจำเลยเช่นนี้ ยังไม่เพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยเป็นคนร้าย การที่จำเลยยืนอยู่ใกล้ริมน้ำกับผู้ตายสองต่อสอง ภายหลังจากที่เงินของผู้ตายได้หายไปนั้นเป็นเพียงพฤติการณ์ที่น่าสงสัยว่าจำเลยที่ ๑ น่าจะเป็นคนร้ายเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานอื่นมาสืบประกอบเพื่อยืนยันให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจริง
จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีมาโดยตลอดว่าจำเลยมิได้กระทำผิด พยานโจทก์เป็นที่สงสัยจึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ วรรคสอง…ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕/๒๕๓๓ และคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙/๒๕๓๕
สาเหตุการตาย “แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพ ระบุสาเหตุการตายว่า “ระบบไหลเวียอนโลหิตล้มเหลว” ประกอบกับแพทั้่ย์ที่รักษาผู้ตายเบิกความว่าผู้มีประวัติฆ่าตัวตาย ด้วย โรคชึมเศร้า และในวันเกิดเหตุผู้ตายขาดยาด้วย
แม้ในการชันสูตรพลิกศพผู้ตายจะมีสารไซยาไนด์ในกระเพาะอาหารผู้ตายก็ตาม ก็ได้ความจากนางสาวปานทอง ศรีพัฒนพรหม ซึ่งปฏิบัติหน้าที่บริหารจัดการวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ได้เบิกความว่า“สารชายาไน้ด”มีในหน่อไม้ดอง สอดสอดกับคำให้การของโจทก์ร่วมว่าที่บ้านโจทก์ร่วมมีหนอไม่ดองไว้ในความครอบครอง
ในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน จำเลยตั้งครรภ์อยู่ถูกตำรวจสอบสวนเป็น เวลานานย่อมมีอาการอ่อนเพลียจึงมีเหตุสมควรสงสัยว่าน่าจะเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยมีความอ่อนเพลีย ที่จำเลยให้การซัดทอดถึงจำเลยที่ ๓ ทั้งร่างกายและจิตใจย่อมมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือคำให้การของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงเป็นคำพยานบอกเล่าที่ไม่มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกา ๑๐๒๙/๒๕๔๘
คดีนี้เป็นคดีที่มีอัตราโทษสูงศาลจะต้องฟังพยานโจทก์จนเป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๗๖ เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาล้วนแต่เป็นพยานบอกเล่าย่อมไม่อาจรับฟังเป็นโทษแก่จำเลยได้
ดังสุภาษิตและมุมมองของขบวนการยุติธรรมที่ว่า “ปล่อยคนผิดร้อยคนดีกว่าจับผู้บริสุทธิ์คนเดียวมาลงโทษ” “หรือคำที่ว่ายกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลย” จึงเป็นกรณีศึกษา
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม