.
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อดัตประธานรัฐสภา กล่าวว่า
แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเพิ่มความแข็งแกร่งยั่งยืนอย่างแท้จริง
โดย รศ. ดร. ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ,อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
โลกปัจจุบัน ตกอยู่ภายใต้ภาวะวิกฤต 7 วิกฤตสงคราม คือ
1. สงครามการค้าการลงทุน
2. สงครามเงินตรา
3. สงครามเทคโนโลยี
4. สงครามข่าวสาร
5. สงครามความเชื่อ
6. สงครามวัฒนธรรม
7. สงครามอาวุธ
ในประเทศไทย เราก็มีปัญหาหลัก ของชาติ คือ ความไม่เป็นธรรม และความเหลื่อมล้ำในสังคม เห็นได้จาก 5 ด้าน คือ
1. ด้านรายได้ และทรัพย์สิน
2. ด้านสิทธิ
3.ด้านโอกาส
4. ด้านอำนาจ
5. ด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เมื่อถูกกระแทกจาก 7 วิกฤตสงคราม ก็ยิ่งสร้างปัญหาภายในให้รุนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้น จำเป็น จะต้องปรับปรุงแก้ไข ปัญหาภายใน และปรับตัว ตั้งรับวิกฤตจากภายนอก โดยหาร ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ให้เข้าสู่ภาวะ 3 สมดุล 3 แบ่งปัน คือ
1. สมดุล ระหว่าง เศรษฐกิจภายใน กับ เศรษฐกิจภายนอก
2. สมดุล ระหว่าง เศรษฐกิจครัวเรือน กับ เศรษฐกิจธุรกิจ
3. สมดุล ระหว่าง การแข่งขัน กับ การแบ่งปัน
จาก 5 เพิ่ม มี 3 เพิ่มไปเสริมสร้าง 3 สมดุล คือ
1. เพิ่มกำลังซื้อภายใน ไปสร้างสมดุล กับ การพึ่งตลาดภายนอก
2. เพิ่มรายได้ครัวเรือน ไปสร้างสมดุล การสร้างรายได้ภาคธุรกิจ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
3. เพิ่มความเข้มแข้งของเศรษฐกิจฐานราก ไปสร้างสมดุลกับการแข่งขันในตลาดที่ภาคธุรกิจครอบงำอยู่
อีก 2 เพิ่ม คือ “เพิ่มนโยบายและมาตรการเพื่อคนฐานราก” และ “เพิ่ม GDP จากภายใน” เป็นการสร้างเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ ให้พึ่งตนเองมากขึ้น เพื่อ ตั้งรับความไม่แน่นอน อันเกิดจาดวิกฤติ 7 สงคราม และการแบ่งขั้นอำนาจใหม่ของโลกยุคใหม่
.
โครงสร้าง 3 สมดุล 3 แบ่งปัน เป็น แนวคิดเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่เป็น “ศาสตร์ของรัฐบุรุษ” เพื่อให้ประชาชน มีกิน มีใช้ อย่างพอเพียง และสร้างรายได้ให้รัฐ และรัฐนำรายได้นั้นไปบริการสาธารณะ
.
โครงสร้าง เศรษฐกิจ 3 สมดุล
1 สมดุล ระหว่าง ตลาดภายใน กับ ตลาดภายนอก
ประเทศไทยหวังพึ่งตลาดภายนอก และการท่องเที่ยวมากเกินไป ขณะที่ตัวเลข GDP กลับชี้ว่า GDP ไทย มาจากการบริโภคของครัวเรือน ถึงประมาณ ร้อยละ 55-58 หมายความว่า ตลาดภายใน ที่มาจากการบริโภคของประชาชน สำคัญที่สุดต่อ เศรษฐกิจไทย
การบริโภคของครัวเรือน จะมากจะน้อย ขึ้นอยู่กับรายได้ การเพิ่มรายได้ ของครัวเรือนที่ยั่งยืน จึงมีความสำคัญยิ่งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ไทย เพราะฉะนั้น จึงต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญ กับตลาดภายในให้มากขึ้นประกอบกับโลกกําลังอยู่ในภาวะแบ่งขั้ว ทั้ง ทางการเมืองและเศรษฐกิจ นําไปสู่ภาวะ 7 สงคราม คือ สงครามการค้า การลงทุนสงครามเงินตรา สงครามเทคโนโลยี สงครามข่าวสาร สงครามวัฒนธรรม สงครามความเชื่อ และสงครามอาวุธ นําไปสู่ภาวะ ความไม่แน่นอน ของตลาดและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประเทศไทย จึงจำเป็นต้องหันมา พึ่งตลาดภายในให้มากขึ้น และจำเป็นต้องปรับ โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้เกิดความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจพึ่งตลาด ภายในกับเศรษฐกิจพึ่งตลาดภายนอก คือ
1. เพิ่มรายได้หรือกําลังซื้อของครัวเรือน เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของ ตลาดภายใน
2. กําลังซื้อหลักของตลาดภายใน มาจาก คนฐานราก คือคนงานและ เกษตรกร คิดเป็นประมาณ 65% ของกําลังซื้อทั้งหมดในประเทศ จึง จำเป็นต้องเพิ่มรายได้ของคนกลุ่มนี้
3. กําลังซื้อหลักจากคนฐานราก จะทำให้ภาคเศรษฐกิจธุรกิจ ที่ต้องพึ่ง ตลาดภายใน สามารถเติบโตก้าวหน้าต่อไปได้
สมดุลระหว่างภาคครัวเรือนกับภาคธุรกิจ
.
2 สมดุลระหว่างภาคครัวเรือนกับภาคธุรกิจ
การพัฒนาความเข้มแข็งของตลาดภายใน คือการให้ความสำคัญกับ เศรษฐกิจภาคครัวเรือน จะไปพึ่งพาภาคธุรกิจมากเกินไปไม่ได้ จึงต้อง ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้เกิดความสมดุล ระหว่างเศรษฐกิจภาค ครัวเรือน กับเศรษฐกิจภาคธุรกิจ กล่าวคือ
1. เพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่า ของผลิตภัณฑ์จากครัวเรือน โดยการส่ง เสริมให้ครัวเรือน แปรรูปวัตถุดิบต่างๆ ที่เป็นผลผลิตของครัวเรือน เช่น การแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร แปรรูป ไผ่ เป็นเฟอร์นิเจอร์และวัสดุ ก่อสร้าง แปรรูปผลไม้ เป็นอาหารสําเร็จรูปและเครื่องดื่ม เป็นต้น
2. ส่งเสริมให้คนฐานราก มีองค์กรทางเศรษฐกิจของตนเอง เช่น สถาบัน การเงิน วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ เป็นต้น องค์กรทางเศรษฐกิจ จะช่วยยก ระดับเศรษฐกิจครัวเรือน จากระดับทำมาหากินของครัวเรือน ไปสู่การทำ มาค้าขาย ในตลาดแข่งขันและการส่งออก
3. ส่งเสริมให้คนฐานรากเป็นเจ้าของ “ปัจจัยเงินทุน” เพราะเงินทุนเป็น ปัจจัยการผลิตหลักของระบบทุนนิยม ธุรกิจการเงินการธนาคาร ที่ กระจุกตัวอยู่ที่คนกลุ่มเล็กๆของสังคม ทำให้ ปัจจัยเงินทุน และกําไรจาก การค้าเงิน กระจุกตัวอยู่ที่คนกลุ่มน้อย และคนกลุ่มน้อยนั้น นําปัจจัยเงิน ทุน ไปสร้างธุรกิจอื่นๆ ในกลุ่มของตนเองและพวกพ้อง ทำให้เกิดความ เหลื่อมล้ำของ “ความมั่งคั่งในชาติ”อย่างรุนแรง เพราะโดยระบบที่เป็น อยู่ ปัจจัยเงินทุน ที่กระจายไปสู่คนฐานราก เป็นไปอย่างจํากัด และ ดอกเบี้ยสูง แต่ปัจจัยเงินทุน ที่กระจายไปยังกลุ่มธธุรกิจร่ำรวย กระจายได้ ง่ายและดอกเบี้ยต่ำ เกิดความไม่เป็นธรรมเชิงระบบในการแข่งขัน
ดังนั้น การทำให้คนฐานราก เป็นเจ้าของปัจจัยเงินทุน ในรูปของ สถาบัน การเงินของคนฐานราก เช่น ธนาคารผู้ประกันตน (ธนาคารแรงงาน) ธนาคารของเกษตรกร (เช่น Rabo Bank ในเนเธอร์แลนด์) ธนาคารของคนจนอาชีพอิสระรายย่อย (เช่น ธนาคารกรามีนในบัง คลาเทศ) เป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริม
4. ส่งเสริมองค์กรไม่แสวงหากําไร ที่ทำงานช่วยคนฐานราก พิทักษ์สิ่ง แวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นปัจจัยการ ผลิตของชาติที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น องค์กรไม่แสวงหากําไร ที่ทำหน้าที่ดูแล สิ่งเหล่านี้ รัฐจริงต้องส่งเสริม
5. ทำให้คนฐานรากเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่า ภูเขา เกาะแม่น้ำ ทะเล และการเข้าถึงนั้น จะต้องควบคู่กับการดูแลรักษา ให้เกิดความ มั่นคงยั่งยืน เพื่อทำให้คนฐานราก มีปัจจัยการผลิตที่ต้นทุนต่ำ สร้าง
ผลผลิตเลี้ยงตนเอง และสร้างรายได้ให้ครัวเรือนได้
.
3. สมดุลระหว่างการแบ่งปันกับการแข่งขัน
การให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานราก จะต้องดูแล ไม่ให้คนฐานราก ถูกกดทับ จากธุรกิจใหญ่และธุรกิจผูกขาด เพราะธุรกิจเหล่านี้ ก็คาดหวัง เพียงให้คนฐานราก เป็นลูกค้า เป็นพลังการบริโภคของตน และเป็นผู้ ขายแรงงานให้ตน ไม่ต้องการให้คนฐานราก มีพลังทางเศรษฐกิจ พอที่ จะมาแข่งขัน ต่อรอง กับธุรกิจของตน ปัจจุบันนี้ รัฐบาลทุกรัฐบาล ก็ ปล่อยให้เป็นเช่นนั้น จึงทำให้เศรษฐกิจฐานรากอ่อนแอ และทำให้ตลาด ภายในอ่อนแอไปด้วย
ดังนั้น เพื่อดำรง ความสมดุล ของตลาดภายในกับตลาดภายนอก สมดุล ของเศรษฐกิจภาคครัวเรือน กับเศรษฐกิจภาคธุรกิจ จำเป็นต้อง ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ให้เกิดความสมดุล ระหว่าง การแบ่งปัน กับการแข่งขัน เพราะคนฐานราก เป็นคนเล็กคนน้อย ไม่สามารถไป แข่งขัน กับคนที่มีพลังอำนาจและพลังทางเศรษฐกิจได้ จำเป็นต้องใช้ มาตรการแบ่งปันจากรัฐ เข้าไปสร้างสมดุล นั่นคือ ต้องแบ่งปันอำนาจ แบ่งปันโอกาส แบ่งเป็นตลาด และในกระบวนการแข่งขัน ก็ต้องมีความ เป็นธรรม มีความโปร่งใส ตรวจสอบข้อมูลได้ง่าย
ระบบเศรษฐกิจ 3 สมดุล 3 แบ่งปัน คือ เศรษฐกิจของความเป็นธรรม หรือ อาจเรียกว่าเป็น “ระบบเศรษฐกิจธรรมาธิปไตย”
โครงสร้าง เศรษฐกิจ 3 แบ่งปัน การแบ่งปันอำนาจรัฐ
ใช้กระบวนการประชาธิปไตยจากฐานราก หรือประชาธิปไตยเพื่อสังคม (soicial democracy) คือ การสร้างประชาธิปไตยในสามระดับ ระดับ ชุมชน ระดับสถานประกอบการ และระดับรัฐสภา
ระดับขุมชนและระดับสถานประกอบการ จะช่วยหลอหลอมให้เกิด ตัวแทนที่แท้จริงของประชาชน ผ่านการกลั่นกรองจากประชาชนใน ชุมชนและในสถานประกอบการ ประชาธิปไตยจากภาคประชาชน สามารถสร้างข้อเสนอและแรงกดดัน ให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายแห่งรัฐได้ เท่ากับว่าประชาชนมีส่วนแบ่งในอำนาจรัฐ
.
การแบ่งปันอำนาจต่อรอง
การสร้าวประชาธิปไตย ผ่านองค์กรมวลชน เช่น สหกรณ์ สหภาพแรงงาน กลุ่มออมทรัพย์ วิสาหกิจชุมชน ทำให้เกิดการรวมกลุ่ม ทำให้เกิดการปฏิบัติการร่วม (collective action) และสร้างอำนาจต่อ รอง ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง
.
การแบ่งปันอำนาจความรู้และข่าวสารข้อมูล
เมื่อประชาธิปไตยจากฐานราก ทำให้เกิดการแบ่งปันอำนาจรัฐและอำนาจการต่อรอง ทั้งสองอำนาจนี้ จะทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ ต่างๆได้ง่ายขึ้น
.
การแบ่งปันโอกาสในกรศึกษา
1. ให้ทุกคนได้รับการศึกษาถึงระดับมัธยมปลายอย่างทั่วถึงและถ้วน หน้า ผ่านสถาบันการศึกษาในระบบประเภทต่างๆ
.
การแบ่งปัน อาหาร ยา และการแพทย์
1. อาหาร รัฐต้องสร้างความมั่นคงทางอาหาร ให้ทุกครัวเรือน โดยการ ส่งเสริมแนวคิด เกษตรทฤษฎีใหม่ (ปลูกไผ่ประจำสวน) และเศรษฐกิจ พอเพียงของ ร. 9
2. ป้องกันการผูกขาด และการครอบงำาตลาดวัตถุดิบอาหาร ของทุน ผูกขาด
3. ฝึกอบรมให้ทุกคนสามารถปรุงอาหารเลี้ยงตนเองได้ตั้งแต่วัยเด็ก
4. ยา ส่งเสริมให้ใช้ยาสมุนไพร ทดแทนยาเคมีให้มากขึ้น และทดแทน ยานําเข้า ส่งเสริมการวิจัยผลิตยาจากสมุนไพรไทย และกําหนดให้ยา สมุนไพร เป็นยาในบัญชียาหลัก ของโรงพยาบาลต่างๆ
5. ส่งเสริมให้หมอพื้นบ้าน ผลิตยาสมุนไพรเป็นยาประจำบ้าน และรักษา โรคทั่วไปได้โดยสะดวด
6. ให้ทุกคนเข้าถึงการแพทย์ การพยาบาล โดยง่าย และเปิดโอกาสให้ หมอพื้นบ้าน และหมอแพทย์แผนไทย ทำการรักษาโรคได้โดยสะดวก
.
การแบ่งปันตลาด
1. ทำให้ประชาชนผู้ทําการผลิตทุกคน เข้าถึงตลาดได้โดยง่าย 2. ทำให้ผู้ผลิตในครัวเรือน มีส่วนแบ่งตลาดของตนเอง ไม่ถูกทุนผูกขาด ครอบงำ หรือใช้อำนาจเหนือตลาด สร้างอุปสรรคทางตลาด แก่ผู้ผลิต รายย่อย,
3.ส่งเสริมให้ผู้ผลิตรายย่อย สมารถขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้
โดยตรง
4. สร้างพื้นที่ตลาดให้แก่รายย่อย อย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องผ่านผู้ค้าราย ใหญ่
5. ต้องทำให้ผู้ค้ารายย่อย สามารถเข้าถึงการส่งงออกได้ โดยไม่ต้อง ผ่านรายใหญ่ เช่น ให้ผ่านสหกรณ์ ผ่านวิสาหกิจชุมชน ผ่านเครือข่าย องค์กรที่ไม่แสวงกําไร เป็นต้น
6.แบ่งพื้นที่ตลาด ระหว่างธุรกิจรายย่อยกับรายใหญ่ ให้ชัดเจน เช่น อาชีพประมง มีการแบ่งชัดเจนว่า ชายฝั่งเป็นพื้นที่ประมงชายฝั่งสําหรับ ประมงรายย่อย บริเวณน้ําลึกเหมาะกับประมงรายใหญ่ ในการ ค้าขายก็เช่นกัน พื้นที่และเวลา ที่เหมาะสมกับรายใหญ่ควรเป็นอย่างไร พื้นที่และเวลา สําหรับรายย่อยควรเป็นอย่างไร พื้นที่และเวลาของราย ย่อยกับรายใหญ่ ไม่ควร ทับซ้อนแข่งขันกันมาก เพราะรายย่อยย่อมสู้ รายใหญ่ไม่ได