ความผิดฐานฉ้อโกงเป็นประติธุระ กับความผิดฐานฉ้อโกงธรรมดา มีความแต่งต่างกันอย่างไร
……………;\\\\\………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ความผิดอาญาฐานฉ้อโกงอันเป็นปกติธุระ ไม่มีในบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาแต่อย่างใดในประมวลกฎหมายอาญา มีแต่ความผิดฐานฉ้อโกง กับฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฏหมายอาญา อันเป็นลักษณะเป็นปกติธุระ นั้นกฏหมายอาญาไม่ได้บัญญัติไว้
แม้ความผิดมูลฐานการฟอกเงิน ตามาตราม๓(๑๘)ของมูลฐานการฟ้องเงินเกี่ยวความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง หรือยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ นั้น “จะต้องมีเหตุฉกรรจ์ อันเป็นความผิดยอมความกันไม่ได้ และเป็นทรัพย์ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ฐานฟอกเงินที่มีความผิดทางอาญาเกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่ง
ตามมาตรา ๓“หมายความว่า (๑) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินหรือจากการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการกระทำซึ่งเป็นความผิดมูลฐาน หรือความผิดฐานฟอกเงินและให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้หรือสนับสนุนการกระทำความผิดมูลฐานตาม (๘)
ตามบทนิยามคำว่า “ความผิดมูลฐาน” ด้วย เมื่อมูลฐานความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ จึงไม่ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งตามประมวลกฏหมายอาญา แต่บัญญัติไว้ตามกฏหมายฟอกเงิน มาตรา ๓ (๘) ตามกฏหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด
ศาลฎีกาได้ให้แนวทางไว้ตอนหนึ่งใน”คดีแพ่ง“ว่าแม้ความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3(18) ที่บัญญัติว่า “ความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง หรือยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ”
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ฉบับที่ 4ป พ.ศ.2556 มีผลใช้บังคับในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556 ภายหลังที่ไดมีการกระทำความผิดมูลฐานตามมาตรา 3(18) ก็ตาม
ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้ย่อมตกอยู่ภายใต้บังคับย้อนไปทันทีนับแต่วันที่มีการกระทำความผิดมูลฐานนี้ได้ ขณะที่พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องยังไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคหก ที่บัญญัติว่า ในกรณีตามวรรคหนึ่ง
ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน ให้เลขาธิการขอให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับมการกระทำความผิดไปคืนหรือชดใช้คืนให้แก่ผู้เสียหายแทนการสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินก็ได้ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกา 5655-5656/2561 (หน้า 2261 เล่ม 8)(ประชุมใหญ่)
หมายเหตุ ถึงอย่างไรศาลต้องใช้กฏหมายขณะกาะทำความผิด ถ้าผู้เสียหายไม่ร้องขอหรือใช้สิทธิติดตามเอาทรัย์คืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ทรัพย์นั้นย่อมตกเป็นของแผ่นดิน
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม