ข่าวประจำวัน » “คุกเต็ม! ดร.สุกิจ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศึกษากรณี ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาล้นคุก

“คุกเต็ม! ดร.สุกิจ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต ศึกษากรณี ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาล้นคุก

26 November 2024
73   0

ผู้ต้องหาหรือจำเลยล้นคุก
…………………\\\\\\\……………………………

โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศึกษากรณี ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาล้นคุก

การร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว ในระหว่างฝากขังและระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ทนายความต้องคำนึง ถึงข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยปล่อยตัวชั่วคราว และวิธีเรียกประกัน พศ.2565 ข้อ15 ในกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นคนต่างประเทศขอปล่อยตัวชั่วคราว ให้ศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวต่อเมื่อต่อเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยยินยอม ส่งมอบหนังสือเดินทางไว้ต่อศาลด้วยด้วย และให้ศาลมีคำสั่งห้ามผู้ต้องหาหรือจำเลยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ศาลเห็นสมควรเป็นเป็นอย่างอื่น
ทั้งนี้ การอนุญาตให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยพ้นจากการควบคุมของเจ้าพนักงานหรือศาล ตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อไม่ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกควบคุมหรือขังเป็นเวลานานเกินกว่าจำเป็นในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี เพราะหากไม่จำเป็นต้องควบคุมหรือขังผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ก็ควรที่จะให้ปล่อยชั่วคราวไป ตามหลักการของรัฐธรรมนูญที่ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

เมื่อตำรวจยื่นคำร้องขอออกหมายจับนั้นเป็นพยานบอกเล่าศาลต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกออกหมายจับได้มีโอกาสชี้แจง หรือถามค้าน ลำพังตามเอกสารท้ายคำร้องท้าขอศาลออกหมายจับ ยิ่งจำเลยเป็นคนต่างชาติอ่านและฟัง เขียนภาษาไทยไม่ได้ ศาลจะต้องใช้ความระมัดระวังยิ่งกว่าวิญญูชนโดยทั่วไป และตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยปล่อยตัวชั่วคราว และวิธีเรียกประกัน พศ.2565 ข้อ15 ถ้าบุคคลต่างชาติยินยอมให้ยึดหนังสือเดินทาง ศาลต้องอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

นอกจากนี้ยังมีระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลสูง ว่าด้วยวิธีปฎิบัติ เกี่ยวกับการปล่อยตัวชั่วคราวในศาลสูง และแนวทางปฎิบัติต่อผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว พศ 2565 ให้เป็นไปตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวและวิธีเรียกหลักประกันในคดีอาญาพ.ศ.๒๕๖๕ ตามมาตรา๕ แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ศาลจึงเป็นองค์กรถ่วงดุลอำนาจของตำรวจ จึงได้เอาอำนาจในการออกหมายจับและออกหมายค้นให้เป็นอำนาจของศาล แต่สังคมกำลังจับตามองว่าศาลได้ออกหมายจับง่ายเกินกว่าความจำเป็น โดยไม่ให้ผู้ถูกออกหมายจับชึ่งเป็นบุคคลสาธารณะและมีชื่อเสียงในวงสังคมได้มีโอกาสชี้แจง ถึงความถูกต้องแท้จริงแห่งข้อกล่าวหา ให้สิ้นกระแสความ เสียก่อน บุคคลเหล่านี้ล้วนแต่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ย่อมไม่มีเหตุที่จะหลบหนี

เมื่อตำรวจนำผู้ต้องหาไปผลัดฟ้องและฝากขัง ตำรวจก็จะคัดค้านการประกันตัวในชั้นสอบสวนสอบสวน ถ้าคดีไหนประชาชนให้ความสนใจตำรวจจะอ้างเหตุว่าผู้ต้องหาจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือข่มขู่พยาน

ทั้งที่ข้อเท็จจริงผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้หลบหนี บางคดีผู้ต้องหาไปมอบตัวต่อพนักงานสอบสวนโดยไม่มีหมายจับ ข้ออ้างของพนักงานสอบสวนที่ตัดค้านการประกันตัว จึงเป็นสูตรสำเร็จ ที่อาศัยอำนาจศาล มีคำสั้งไม่อนุญาตใหประกันตัว โดยศาลจะอ้างเหตุการไม่อนุญาตให้ประกันตัวว่าคดีมีความผิดหลายกรรมประกอบพนักงานสอบสวนคัดค้าน จึงไม่มีเหตุให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นนี้ จึงใหยกคำร้อง

ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องเดินทางเข้าคุกโดยยังไม่ผ่านขั้นตอนขบวนการยุติธรรม เป็นเหตุให้ผู้ต้องหา“ล้นคุก ” จึงเป็นปัญหาสำคัญที่ศาลสูงควรพิจารณาถึงมูลเหตุุนี้ด้วย

การที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชัวคราว แม้จะเป็นดุยพินิจแต่การใช้ ดุลพินิจนั้นต้องขัดต่อสิทธิมนุษย์ชนและหลักนิติธรรม ตามข้อบังคับปรธานศาลฎีกาพศ. 2565 และยังต้องไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 อีกด้วย

โดยศาลต้องคำนึงถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดใต้ การถูก ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครอง และได้รับความยุติธรรมจากรัฐ

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษ