การจ่ายเงิน 30 ล้านที่ให้อภัยร้อยเปอร์เช็นต์ กับเงินที่ทำประกันภัยชีวิต ที่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก คดี ดาราสาวแตงโม นิดา เสียชีวิต
การจ่ายเงินจำนวนมากสูงถึง 30 ล้านบาท นั้น กรณีแรก ก็เพื่อบรรเทาผลร้ายจากการกระทำผิดแล้วรู้สำนึก กรณีนี้ ผู้ต้องต้องให้กาารับสารภาพผิดตามฟ้อง ถึงจะมีเหตุบรรเทาโทษ แม้จะเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดิน ศาลจะลงโทษน้อยกว่ากฏหมายกำหนดก็ได้หรือโทษจำคุก ศาลอาจรอการลงโทษก็ได้ กรณีนี้ จะต้องจบที่ศาล
กรณีที่สอง การจ่ายเงินสูงถึง สามสิบล้านบาท จ่ายให้กับคุณแม่ดาราสาว เพื่อมนุษย์ธรรม ในกรณีนี้สามารถทำได้ เพราะเพื่อนกับเสี่ยที่ร่วมชะตากรรมในเรือสำราญนั้น ถ้าเห็นใจที่ดาราสาวได้สูญเสียไปอย่างน่าเวทนา กรณีนี้ทายาทโดยธรรมหรือผู้มีส่วนได้เสียต้องไม่ติดใจสาเหตุการตายของดาราสาวแตงโม จึงจะทำได้ การให้อภัย”ร้อยเปอร์เช็น”นั้น ไม่ใช่สาเหตุ ไม่ติดใจการตาย
แม้ จะ มีคลิ๊บเสียง “เอาเพื่อนมานี่” เพื่อประสงค์ต่อผล ในตัวผู้ตายแต่มีคำพูด “โมมันพูดยาก” นั้น ดาราสาว เลยเสียหลักตกน้ำตาย ถ้า “กรณีนี้ ตำรวจบอกว่าไม่ผิด ถ้าผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดที่อยู่ในเรือ จะจ่ายเงินแม่ดาราสาว ก็จ่ายได้ เพราะคนมีสตางค์ ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ที่ชักชวนให้ดาราสาว แตงโม นิดา ไปกินข้าวแล้ว ตาย
กรณีที่สาม เรื่องเงินประกันชีวิต ดาราสาว แตงโม นิดา เป็นสัญญาเพื่อบุคคลภายนอก ผิดหรือไม่ผิดต้องเป็นไปตามสัญญา กรมธรรม์ เป็นเอกสารที่ผู้รับประกัน จะต้องออกให้ผู้เอาประกันถือไว้เป็นหลักฐาน. ผู้รับประโยชน์จากสัญญานั้น
ต้องเป็นไปตามลายลักษณ์อักษรในสัญญา แม้แม่ดารสาวแตงโม นิดา จะเป็นทายาทโดยธรรม ไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนนี้ได้เลย
คดี แตงโม นิดา ดาราสาวนั้น ถ้า”จบ”ที่ตำรวจน่าจะมีปัญหาแน่นอน ขอยกตัวอย่างคดี”บอส อยู่วิทยา เป็นอุทหรณ์ คดีเสร็จสิ้นแล้วก็ยังไม่จบ
คดีนี้ แม้ประจักษ์พยานในที่เกิดเหตุจะใหญ่แค่ไหนก็ไม่จบ เพราะประจักษ์ พยานในที่เกิดเหตุ ทั้งหมดเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ที่อาจจะถูกดำเนินคดีทั้งหมด ก็เป็นได้
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม