ข่าวประจำวัน » อาชญากรรม » #ดร.สุกิจ ตอก !! สมบัติหน้าหงาย จับขรก.ต้องรองปปช.

#ดร.สุกิจ ตอก !! สมบัติหน้าหงาย จับขรก.ต้องรองปปช.

23 February 2018
1305   0

23 กพ.2561 เพจสมบัติ บุญงามอนงค์ได้โพสข้อความระบุว่า “ดร.เทอดศักดิ์ กล่าวถว่าจับกุมข้าราชการต้องไปร้อง ปปช. ตามมาตรา 157 ครับท่าน คืนปริญญาด่วน” และยังได้แนบคลิปตอนหนึ่งในรายการโหนกระแสทางช่อง 3 ที่ ดร.เทอดศักดิ์ ได้ไปออกรายการกับนายอัจฉริยะ ประเด็นการเอาผิดครูปรีชาว่าเป็นข้าราชการ

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ชี้ว่า คดีหวย 30 ล้าน ตำรวจมีอำนาจออกหมายจับครูกับตำรวจหรือไม่

สังคมได้พิพากษาไปก่อนศาลแล้วว่า ครูและท่านผู้การเมืองกาญจน์กับผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมกับครูกระทำผิดเป็นขบวนการนั้น

ตำรวจบอกใบ้ว่าจะออกหมายจับ 2พยานและมีตำรวจแน่นนอน ชมรมต่างๆออกมาแฉคลิ๊ปและบอกว่า เจ้บ้าบินให้การรับสารภาพแล้วมีการสอบสวนตำรวจ 4 นาย มีการย้ายตำรวจการจังหวัดกาญจน์ออกจากพื้นที่ เพจอีจันทร์ออกมาแฉ เอกสารลับทางกองบังบัญชาการสอบสวนกลางและตำรวจว่า เหตุที่ย้ายผู้การนั้น เนื่องจากกรณีหวย 30 ล้าน

หลังจากนั้นผู้การกองปราบออกมาสัมภาษน้ำตาคลอเบ้าว่า (สื่อเค้าว่าอย่างนั้นนะ)ยังไม่มีการสรุปหรือพูดคุยในทีมงานสอบสวนถึงเรื่องนี้

มีปัญหาประการแรกคือ หากตำรวจกองบัญชาการสอบสวนกลางและกองปราบ ดำเนินคดีกับตำรวจและครูและพยานนั้น ถ้าเป็นการกล่าวหาตำรวจมีเอี่ยวกับครูและพยาน ตำรวจไม่มีอำนาจสอบสวนเกี่ยวกับมูลความผิดดังกล่าวเป็นอำนาจ ปปช ที่จะแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนขึ้นมาเอาผิดกับตำรวจเมืองกาญกับพวก

ตำรวจมีอำนาจเพียงรวบรวมพยานหลักฐานส่งให้ ปปช ตั้งอนุกรรมการไต่ส่วนเอาผิดกับตำรวจการและครูกับพยานที่เป็นตัวการผู้ใช้หรือสนับสนุนตามที่กฏหมายกำหนด 30 วันหากเกินกำหนดตำรวจผิดอีกละเว้น

ตำรวจไม่มีอำนาจสอบสวนตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 103/9 นั้นเป็นการคุ้มครองสิทธิของบุคคลและผลกระทบต่อรูปคดีรวมถึงผู้ใช้และสนับสนุนที่เป็นพลเรือนด้วย

หากตำรวจฝ่าฝืนมีความผิดตาประมวลกฏหมายอาญา 157 คดีนี้ต้องชมเชย ดร . เทอดศักดิ์ ฯชึ่งเป็นสื่อมวลชนคนหนึ่งที่สวนกระแส ล่อเป้าให้ประธานชมรมแห่งหนึ่งติดกับดัก ออกมาพูดถึงรูปคดีและบอกประชาชนว่าตนเองจบวิศวกร แต่ออกมาพูดเรื่องกฏหมาย

ขี้ถูกชี้ผิดเพื่อให้สังคมคล้อยถามสื่อมวลชนเสนอข่าวถือบุคคลดังกล่าวว่า เป็นฮีโล้ทางสังคมแต่แท้จริงนั้นชมรมแห่งนี้เป็นเพียงพยานบอกเล่า

ใช้ความเชื่อ(ไม่ใช่ไสยศาตร์นะ)เป็นหลักในการชี้เป็นชี้ตาย ผู้การกองปราบยืนยันต่อสื่อว่าเค้าเอามาจากไหนไม่รู้ แต่ที่รู้ๆนั้นคลิ๊ปอยู่ในความครอบครองของใคร
ได้ผ่านการสอบสวนตำรวจภูธรภาค 7มาแล้ว

ผมในฐานะนักกฏหมายเห็นว่า การที่ครูปรีชาฯฯถูกสังคมพิพากษาให้เป็นจำเลย เมื่อครูปรีชาฯเชื่อโดยสุจริตว่าล๊อตลี่เจ้าปัญหาเป็นของตนการไปแจ้งความนั้นเป็นการใช้สิทธิตามกฏหมาย เรามาดูแนวฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่21908/2555
ศาลฎีกา วางหลักไว้ว่า ขั้นตอนหลังจากจำเลยร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วนั้น ตามกฎหมายก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนผู้รับการร้องทุกข์ที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานจากการสอบสวนและสรุปสำนวนเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการ และพนักงานอัยการได้ตรวจสำนวนดังกล่าวเห็นว่า มีหลักฐาน เพียงพอที่จะฟ้องได้ จึงฟ้องโจทก์ต่อศาล

ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยในฐานะผู้เสียหายคดีอาญาได้อาศัยกระบวนการดังกล่าวจงใจกลั่นแกล้งโจทก์หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อ การที่จำเลยใช้สิทธิของตนในฐานะผู้เสียหายร้องทุกข์กล่าวหาโจทก์ในฐานะผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามที่ได้รับแจ้งจากพยานบุคคลที่อ้างว่าเห็นการกระทำของโจทก์ดังกล่าว เป็นการใช้สิทธิแห่งตนโดยสุจริต

ตำรวจต้องรับแจ้งความดำเนินคดีกับหมวดจรูญครูปรีชาจะไปร้องทุกข์กล่าวโทษหมวดจรูญวันไหนไม่ใช้สารสำคัญ สารสำคัญ ศาลฎีกาวางหลักไว้ว่า ผู้ได้รับความเสียหายต้องแจ้งภายในอายุความตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13499/2553

การชี้มูลจะผิดของตำรวจและครูกับพวกจะผิดหรือถูกยังไม่รู้ หากข้อมูลตามข่าวเป็นความจริง

“ตำรวจกองบัญชาการสอบสวนกลางและกองปราบจะไปคิดแทน ปปช. ไปเที่ยวออกหมายจับตำรวจกับครูโดยลำพังไม่ได้”

สำนักข่าววิหคนิวส์