ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสข้อความระบุว่า ข่าวกรณึทนายครูปรีชา ใคร่ครวญ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ไต่ส่วนเอาผิดกับ. ทนายความชื่อดังพร้อมด้วยลุงจรูญในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้น
ผมในฐานะนักกฏหมายเห็นว่าการกระทำทนายดังกับคุณลุงนั้นยังไม่น่ามีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้ ความผิดฐานละเมิดอำนาจนั้นในกรณีที่คู่ความฝ่ายทนายดังไปขอคัดถ่ายคลิ๊ปเสียง ศาลก็ได้อนุญาต (กรณีดังกล่าวศาลได้วางข้อกำหนดหรือไม่ว่า”ห้ามคู่ความไปเผยแพร่” ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามข่าวว่าศาลได้วางข้อกำหนดไว้
ถ้าไม่มีข้อกำหนดอันนี้ กรณีจึงไม่น่ามีความิดฐานละเมิดอำนาจศาลได้ เรามาดูคำพิพากษาศาลฎีกาได้ชี้ขาด ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามแนวฎีกาที่ได้ตัดสินเป็นบรรทัดฐานว่า”ไม่มีความผิด”
ตามนัย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8912/2551 แหล่งที่มา: กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา เผยแพร่เมื่อ: 16 ต.ค. 2552 10:24:09
คำพิพากษาย่อสั้น
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) ประกอบ มาตรา 30 การที่ศาลจะออกข้อกำหนดใดๆ ตามมาตรา 30 ได้จะต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 ประการ คือ ออกข้อกำหนดใดๆ แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือแก่บุคคลภายนอกที่อยู่ต่อหน้าศาลตามที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามเที่ยงธรรมและรวดเร็วประการหนึ่ง และออกข้อกำหนดใดๆ โดยสั่งห้ามคู่ความมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรประการที่สอง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยในบริเวณศาลหรือมีการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางก่อความรำคาญหรือในทางประวิงให้ชักช้าหรือในทางฟุ่มเฟือยเกินสมควรทั้งสองประการตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด
ส่วนที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) ตามภาพถ่ายรายงานกระบวนพิจารณาเอกสารหมาย ผ.1 นั้นก็ไม่ใช่การออกข้อกำหนดตามมาตรา 30 ดังนี้ แม้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 จะนำเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงที่คัดลอกสำเนาจากเทปวีดีทัศน์และเทปบันทึกเสียงหมาย ร.35 และ ร.36 ไปให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 เปิดเผยหรือไม่ ก็ไม่ทำให้การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 30 ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
อนึ่ง ปัญหาที่ว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ออกข้อกำหนดตามมาตรา 36 (2) จะเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลหรือไม่นั้น ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัย จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยแต่อย่างใด
สำนักข่าววิหคนิวส์