พลเอกกิตติ รัตนฉายา อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 ได้โพสข้อความระบุว่า ที่นี่ประเทศไทย : การนำประเทศออกจากวิกฤติ
1. กองทัพไทยมีบทบาทสำคัญยิ่งทางการเมืองที่ต้องพิทักษ์รักษาสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน กองทัพประกอบด้วยเสรีชนในเครื่องแบบ กองทัพย่อมตระหนักดีอยู่แล้วว่า ในสภาพการณ์พิเศษหรือประเทศอยู่ในภาวะวิกฤติ กองทัพจะต้องทำอย่างไร เพราะผู้ที่จะนำประเทศออกจากภาวะวิกฤติคือ กองทัพ โดยยึดถือเป้าหมายของชาติ คือ มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสันติสุข
2. การเลือกตั้งไม่ได้ทำให้ประชาธิปไตยดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง เอื้อประโยชน์และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติหรือการที่ผู้นำและรัฐบาลมีคุณธรรมและจริยธรรมเท่านั้น แต่อยู่ที่การตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่จำต้องมีการปฎิรูปประเทศครั้งใหญ่ขึ้นอีกครั้งหนึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ โดยคำนึงและเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทุกส่วนอย่างแท้จริง โดยมีหลักเป้าหมายของชาติ คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสันติสุข
3. เพลโต้ ปรมาจารย์ทฤษฎีประชาธิปไตยตะวันตก บรรยายว่า ทหารแท้ เป็นชนชั้นผู้พิทักษ์แห่งชาติ (Guardian Class)มีลักษณะแกล้วกล้าสามารถ (Courage of Characters and Brave ) มีมัชฌิมาปฎิปทา (Moderation) แต่มิใช่และมิใช้คำว่าเป็นกลางเด็ดขาด,มีวินัยและปราศจากความทะเยอทะยาน (disciplined and no ambition ) หาไม่แล้วจะปฏิบัติภารกิจผู้พิทักษ์มิได้
4. วันที่ 21-22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) เรียกประชุมผู้แทนรัฐบาล, วุฒิสภา, คณะกรรมการการเลือกตั้ง, พรรคเพื่อไทย, พรรคประชาธิปัตย์, นปช. และ กปปส. ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อหาข้อสรุปในการก้าวผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ไม่อาจหาข้อสรุปได้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และผู้บัญชาการเหล่าทัพ จึงประกาศกระทำรัฐประหารในที่ประชุม และควบคุมตัวผู้เข้าร่วมประชุม ยกเว้นตัวแทนวุฒิสภา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยนำตัวไปยังกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ทหารแจกใบปลิวให้ประชาชนที่สัญจรย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เนื้อหาระบุเหตุผลที่ คสช. ยึดอำนาจว่า
1.มีความขัดแย้งทางความคิดการเมืองอย่างรุนแรง หยั่งลึกจากระดับประเทศไปถึงระดับครอบครัวคนไทย
2. การใช้อำนาจการปกครองที่กระทำอยู่เดิม ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก และการกระทำผิดของกลุ่มต่าง ๆ ได้อีกต่อไป
3. แนวทางการเลือกตั้งในรูปแบบเดิมมีการต่อต้านอย่างกว้างขวาง ถ้าเลือกตั้งต่อไปในสถานการณ์เช่นนี้ อาจเกิดปัญหาความวุ่นวายไม่จบสิ้น
4. การชุมนุมทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมาถึง 6 เดือน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางความคิด และการแก่งแย่งผลประโยชน์ทางการเมือง ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา (วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 และ พ.ศ. 2556–2557) ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทุกหมู่เหล่า ทำให้ประชาชนแตกความสามัคคี จนไม่อาจปรองดองกันได้
5. ปัญหาทุจริต มีคดีความจำนวนมากอยู่ในชั้นศาล และยังรอกระบวนการยุติธรรมตัดสิน
6. การบังคับใช้กฎหมายปกติต่อปัญหาข้างต้น บังคับใช้ไม่ได้ทุกกลุ่ม ทำให้เกิดความหวาดระแวง เกลียดชังกันในหมู่ประชาชนเป็นวงกว้าง ความเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย โดยเฉพาะแกนนำที่มีความผิด ตามกระบวนการยุติธรรม นำไปสู่การยุยงปลุกปั่นแนวร่วมของฝ่ายตน ให้พร้อมที่จะกระทำการใด ๆ ต่อฝ่ายตรงข้ามด้วยความรุนแรง
7. การบริหารราชการแผ่นดินในห้วงที่ผ่านมาไม่สามารถกระทำได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของชาติ และก่อปัญหาความเดือดร้อนต่อประชาชนทุกระดับจนถึงรากหญ้า
8. มีการล่วงละเมิดสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 112 ทั้งทางลับและเปิดเผย สร้างความไม่พอใจและเกลียดชังของประชาชนโดยรวม ที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ
9. การปลุกระดมมวลชนที่มุ่งเอาชนะฝ่ายตรงข้ามโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ทวีความรุนแรงและเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
10. ปรากฏชัดว่ามีการจัดตั้งและใช้กองกำลังติดอาวุธรวมถึงการตระเวนอาวุธสงครามจำนวนมาก เพื่อปฏิบัติการอย่างรุนแรงต่อฝ่ายตรงข้ามของตน โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ซึ่งกองทัพจะยอมให้เกิดขึ้นในประเทศชาติไม่ได้โดยเด็ดขาด
คณะรัฐประหารชุดนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ในระยะเริ่มแรก ต่อมาเริ่มมีผู้ต่อต้านมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดจากสาเหตุด้านเศรษฐกิจที่คณะรัฐประหารไม่สามารถจัดการได้ดีพอ ราคายางพาราที่ตกต่ำอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน การสูญเสียผลประโยชน์ของชาติที่เกิดจากการทำสนธิสัญญาอย่างเสียเปรียบกับรัฐบาลจีน และการไม่รักษาสัญญาที่จะคืนสิทธ์การเลือกตั้งสู่มือประชาชน อีกทั้งคณะรัฐบาลที่เข้ามาด้วยการอ้างความชอบธรรมที่จะขจัดปัญหาการทุจริตในประเทศไทยให้หมดไป กลับกลายเป็นผู้ทุจริตเสียเอง
ในปี 2561 การต่อต้านตีแผ่เป็นวงกว้างมากขึ้น จากปัญหาดังกล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะในสังคมออนไลท์ที่มีเพจต่างๆเกิดขึ้นมากมายเพื่อวิจารณ์และล้อเลียนการทำงานของคณะรัฐประหาร ทั้งทางด้านความเห็นในโลกออนไลท์อย่าง
Twitter และFacebook ต่างมีความเห็นต่อต้านเป็นจำนวนมาก เพราะ คสช.ไม่ทำการปฏิรูปประเทศตามที่ประชาชนต้องการโดยที่จะทำการเลือกตั้ง ก่อนการปฏิรูปประเทศ ทำให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นมากมาย แนวโน้มของสถานการณ์จะนำไปสู่สถานการณ์ก่อน 22 พ.ค. 2557 คืนกลับ การเมืองเกิดวิกฤติใหญ่อีกครั้งหนึ่ง นำไปสู่สถานการณ์ที่เรียกว่า วงจรอุบาทว์ คือ เลือกตั้ง – คอรัปชั่น – ยึดอำนาจ – ร่างรัฐธรรมนูญ – เลือกตั้ง เป็นสถานการณ์เดียวกันกับ รสช. ปี 2533 และ คมช.ปี 2549 ประเทศไม่เกิด สันติสุข
หลักการนำประเทศออกจากวิกฤติ
1.หลักความมุ่งหมาย (Objective) เป็นหลักการสงครามข้อแรกจากทั้งหมด 10 ข้อ หลักการข้อนี้คือการกำหนดเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในทุกระดับเพื่อให้การปฏิบัติในทุกส่วนของหน่วยระดับรองลงมามีความเข้าใจชัดเจน และไม่สับสนที่จะนำไปปฏิบัติ อีกทั้งการดำรงรักษาความมุ่งหมาย ย่อมจะนำมาซึ่งผลที่มุ่งไปสู่ความมุ่งหมายเดียวกัน
สิ่งที่สำคัญของหลักการในข้อนี้คือการไม่เปลี่ยนความมุ่งหมายง่ายๆ ทั้งนี้เพราะเป้าหมายต่างๆ ได้ถูกคิดมาโดยผ่านกระบวนการและกลไกต่างๆ การเปลี่ยนเป้าหมายกลางทางโดยไม่มีการไตร่ตรองพิจารณาที่เหมาะสมแล้ว อาจจะทำให้เราไม่สามารถเดินทางไปถึงเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ถ้ากล่าวง่ายๆ คือ เราถอดใจก่อนที่จะประสบความสำเร็จ กองทัพจะต้องยึดหลักความมุ่งหมาย คือ ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสันติสุข
2. ยุทธโยบายชั้นยอดก็คือ
อันดับแรก เอาชนะข้าศึกในทางยุทธศาสตร์
อันดับต่อไป เอาชนะข้าศึกทางการทูต
อันดับต่อไป เอาชนะข้าศึกด้วยยุทธวิธีทางทหาร
และอันดับสุดท้ายเมื่อ วิธีที่กล่าวข้างต้นไม่ได้ผล คือ การเข้าโจมตีเมืองของข้าศึก (การใช้กำลัง)
การใช้กำลังเข้าโจมตีข้าศึก ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการเข้าโจมตีต้องรีบเผด็จศึกโดยเร็วดังที่กล่าวมาแล้ว ถ้ายังตีไม่ได้ นานวันเข้าอันตรายก็จะเข้ามาเยือน
แม่ทัพผู้มีสติปัญญาในการใช้กำลังทหาร สามารถสยบข้าศึกได้โดยไม่ต้องรบ ยึดเมืองได้โดยไม่ต้องเข้าโจมตี และทำลายข้าศึกได้โดยใช้เวลาไม่นาน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือพึงเอาชนะศัตรูด้วยการชนะทางยุทธศาสตร์ อีกทั้งกองทัพก็จะไม่เพลี่ยงพล้ำ และอ่อนล้า ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างสมบูรณ์ นี่คือกลยุทธเชิงรุก
เมื่อต้องใช้กำลังทหารก็ให้ควรยึดหลัก
– ถ้ามีกำลังมากกว่าข้าศึกสิบเท่า ให้พึงล้อมเอา
– ถ้ามีกำลังมากกว่าข้าศึกห้าเท่า ให้พึงบุกตีเอา
– ถ้ามีกำลังมากกว่าข้าศึกหนึ่งเท่า ให้กระหนาบเอา
– ถ้ามีกำลังเท่ากับข้าศึก ให้ทำการแบ่งแยกกำลังของข้าศึก
– ถ้ามีกำลังน้อยกว่าข้าศึก ให้ทำการสร้างป้อมปราการที่แข็งแกร่ง
– และถ้ามีกำลังอ่อนแอกว่าข้าศึก จงหลีกเลี่ยงการรบขั้นแตกหัก พร้อมกับหนทางถอยทัพ เตรียมเข้าตีเมื่อมีกำลังเหนือกว่า เพราะถ้ากองทัพที่อ่อนแอเข้าสู่รบ ก็มีแต่ที่จะตกเป็นเชลยศึก
ผู้นำทัพจึงเปรียบได้กับหลักชัยของประเทศชาติ ถ้าผู้นำทำหน้าที่อย่างครบถ้วน และทำงานอย่างสุดความสามารถ ประเทศชาติย่อมเข้มแข็ง หากผู้นำทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ และทำงานไม่เต็มความสามารถ เมื่อนั้นประเทศชาติย่อมอ่อนแอ
3. แนวทางการปฎิบัติในการนำประเทศออกจากภาวะวิกฤติ
1. ยึดอำนาจโดยการประกาศกฎอัยการศึก เพื่อให้ได้มาซึ่ง รัฐาธิปัตย์ ได้ทำมาแล้ว และได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลาม
2. ใช้อำนาจรัฐาธิปัตย์ ปฏิรูปประเทศโดยไม่ชักช้า โดยยึดหลักดำรงความมุ่งหมาย คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสันติสุขซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ทำ
3. ถอยทางยุทธศาสตร์ ปรับตัวเป็นผู้พิทักษ์ความมั่นคง ประเทศชาติ โดยไม่ชักช้า มิฉะนั้นกองทัพจะพ่ายแพ้ทางการเมืองในสงครามยือเยื้อหรือการต่อสู้เอาชนะกันอย่างยืดเยื้อ
* คัมภีร์พิชัยสงครามทุกฉบับว่าไว้ตรงกันว่า ความยืดเยื้อของการศึกสงครามนั้นไม่เป็นผลดีแก่ฝ่ายใด ดังนั้นขุนพลผู้สามารถจึงต้องคิดอ่านทำการทั้งปวงเพื่อเผด็จศึกเสียโดยเร็วดังนั้นในสภาพการณ์ที่เป็นจริง ขุนพลผู้ปรีชาสามารถจึงต้องสามารถมองให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่าสภาพการณ์นั้นเป็นสภาพการณ์การศึกสงครามที่สามารถทำการให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้หรือไม่ หากสามารถทำได้ก็ต้องทำทันทีโดยไม่ชักช้า
ในทางตรงกันข้าม หากไม่สามารถเอาชนะข้าศึกได้อย่างรวดเร็วและรวบรัดย่อมจำเป็นอยู่เองที่จะต้องค้นคว้ากฎเกณฑ์ของความยืดเยื้อ และการแปรสถานการณ์ของความยืดเยื้อ และจะต้องถอยทางยุทธศาสตร์ การแปรสถานการณ์ของความยืดเยื้อให้เป็นฝ่ายกระทำผันแปรจากรับเป็นยัน ยันเป็นรุกทางยุทธวิธี อย่างพลิกแพลง ความรวดเร็ว นำประเทศออกจากวิกฎติทางการเมือง โดย
1.ถอนตัวจากการเป็นรัฐบาล ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์แห่งชาติ ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง
2.โดยการถวายพระราชอำนาจคืนพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับรัฐบาลเคยถวายคืนพระราชอำนาจ ผ่าทางตัน การแต่งตั้ง สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20
3. ขอพระราชทานผู้นำในการปฏิรูปประเทศ เพื่อนำประเทศไปสู่เปาหมาย มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสันติสุข
กฤษฎาดาอภินิหารอันบดบังมิได้ จะทำให้ประเทศไทยถึงเป้าหมายที่ทุกคนต้องการคือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนและสันติสุขอย่างแน่นอน
บทสรุป
1. พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ ยกเว้นพระราชอำนาจบางประการที่ทรงใช้ได้ตามพระราชอัธยาศัย คือ ตั้งและถอดองคมนตรีกับบรรดาข้าราชการในพระองค์
2. พระมหากษัตริย์เป็น”ธรรมราชา” พระมหากษัตริย์ปกครองประชาชนโดยธรรม
3. พระมหากษัตริย์สมัยกรุงสุโขทัยปกครองแบบพ่อปกครองลูก
4. การปกครองแบบราชประชาสมาสัย คือพระมหากษัตริย์ กับราษฎร์ ร่วมกันปกครองประเทศ เพื่อให้บ้านเมือง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และสันติสุข ประชาชน อยู่ดี กินดี มีสุข
5. พระเจ้าอยู่หัว คือ พ่อของแผ่นดิน และพระเจ้าอยู่หัวคือ Stale Man ของประเทศ
6. พระราชา คือ พ่อของแผ่นดิน
7. กองทัพเป็นสถาบันที่มีอำนาจและมีพลัง ถ้าขับเคลื่อนไปในแนวทางที่ดี ส่วนอื่นก็จะดีตามไปด้วย ระบบละระบอบก็จะดีตามไปด้วยเพราะกองทัพทำหน้าที่ เป็นผู้พิทักษ์แห่งชาติ (Guardian Class ) เป็นผู้พิทักษ์ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน
ทำความดีเพื่อความดี
สำหรับเกียรติประวัติที่สำคัญทางราชการทหารของ พลเอกกิติ รัตนฉายา
▪ ปี 2506 ปฏิบัติหน้าที่นายทหารการข่าวประจำกองอำนวยการฝึกและปราบปราม จคม.ร่วมกับตำรวจสนามมาเลเซีย บริเวณชายแดนไทย-มาเลเซีย จ. สงขลา จ.ยะลา และจ.นราธิวาส
▪ ปี 2514-2520 เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 5 รับผิดชอบในการปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ผกค. ใน จ.นครศรีธรรมราช และจ. สุราษฎร์ธานี เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งชุดต่อต้าน ผกค. ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ( บ้านบางระจัน 1 ) ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็น ทสป และทสปช.
▪ ปี 2522-2524 เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 15 ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองผู้บัญชาการพลเรือนตำรวจทหาร ที่ 42 รับผิดชอบความมั่นคงภายใน จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ตรัง กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ชุมพร และพังงา
▪ ปี 2528 เป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 และผู้บัญชาการกองกำลังผสมเฉพาะกิจไทย-มาเลเซีย รับผิดชอบปราบปราม จคม.ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซียมีผลงานด้านยุทธการมากมาย
▪ เป็นผู้ริเริ่มใช้นโยบายยุติสงครามตามแนวชายแดนไทยมาเลเซีย กับ จคม.โดยการเจรจา ไทย-มาเลเซีย ทางลับ ตั้งแต่ปี 2528 จนประสบความสำเร็จร่วมกันระดับชาติ เมื่อ 2 ธ.ค. 2532
▪ เป็นประธานคณะทำงานแก้ปัญหามุสลิม (โครงการไทย-มุสลิมแก้ปัญหามุสลิม ) อย่างไม่เป็นทางการได้ผลเป็นที่ยอมรับของชาวไทยมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างกว้างขวาง
จบหลักสูตรผู้บังคับหมวด รร.ร. ทบ.ฟอร์ดเบนนิ่ง สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2505 หลักสูตรรบในป่า ณ ยะโฮร์บารู มาเลเซีย หลักสูตรการเคลื่อนย้ายทางอากาศ ประเทศสิงคโปร์
▪ พ.ศ. 2530 ได้รับคัดเลือกจาก CEORGETOWN UNIVERSITY และ ASIA FOUNDATION ร่วมใน “ GEORGETOWN LEADRSHIP SEMENAR” กับผู้นำนักบริหาร นักการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ ระดับสูง ซึ่งได้รับคัดเลือก จำนวน 27 คน ในจำนวน 24 ประเทศ ที่วอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา
▪ พ.ศ. 2533 ได้รับพระราชทานสายสะพายจากพระราชาธิบดีมาเลเซีย มีบรรดาศักดิ์เป็น DATO
สำนักข่าววิหคนิวส์