ข่าวประจำวัน » #อย่าเข้าใจผิด !! นักกฏหมายมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการยินยอม การยินยอมคืออะไร?

#อย่าเข้าใจผิด !! นักกฏหมายมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการยินยอม การยินยอมคืออะไร?

22 November 2019
754   0

. ทนายเข้าใจผิดถ้า’หมอฉาว’กิ๊ก’คนไข้’ ขืนใจกลายเป็นสมยอม. จากข่าวเดลินิวส์ นั้น
 “คำว่า กิ๊ก. นั้น แม้เคยยินยอมมาแล้วก่อนหน้านี้ การยินยอมในอดีตไม่ได้หมายความว่าจะต้องยอมในปัจจุบันเสมอไป(ไม่ใช่ของตายนะครับ) การถามความสมัครใจถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางเพศทุกๆ ครั้ง การคบหาหรือมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นคู่แต่งงาน กำลังคบหาดูใจ หรือมีความสัมพันธ์ทางเพศกันมาก่อน การ”จีบกันทางสื่อออนไลน์”ไม่ได้หมายถึงการยินยอมเสมอไปไม่
การไม่ตอบโต้หรือขัดขืนทางกาย ไม่ได้หมายถึงการยินยอมแต่งกายพูดจาหยอกล้อ ยั่วยุอารมณ์ทางเพศจะถือว่ายินยอมได้นั้น ต่อเมื่อตอบตกลงเท่านั้น การล่วงละเมิดทางเพศหมายถึงกิจกรรมทางเพศ. ที่ผู้ถูกกระทำไม่ต้องการ ไม่ว่าจะกับใครก็ตามการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดจากคู่รักหรือคู่ครองเกิดขึ้นบ่อยมากกว่าครึ่งของเหยื่อที่ถูกข่มขืนนั้น เกิดจากคู่รักหรือคู่ครองของตนเอง และ”กิ๊ก”การกระทำนั้น หากปราศจากความยินยอมย่อมมีความผิด
กฏหมายที่แก้ไขไหม่นั้น กำหนดให้กรณีสามีข่มขืนภรรยาของตัวเอง ก็เป็นความผิด ถ้าปราศจากความยินยอม การไม่พบน้ำอสุจิในช่องคลอด ก็ผิดฐานพยายาม เรามาดูแนวฎีกา คำพิพากษาฎีกาที่ 1133/2509 จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย จนของลับของจำเลยได้เข้าไปในของลับของผู้เสียหายราว 1 องคุลีเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำชำเราสำเร็จตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 แล้ว การที่ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่ามีน้ำอสุจิของจำเลยออกมาอยู่ที่ของลับของผู้เสียหายที่ของลับจำเลยนั้นเป็นเรื่องสำเร็จความใคร่แล้วหรือไม่ เป็นอีกส่วนหนึ่งไม่เป็นเหตุให้เห็นว่าจำเลยกระทำชำเราไม่สำเร็จหรือเป็นเพียงขั้นพยายาม
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม