ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 7/2562 ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา
จากรายงานระบุชัดว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยระบุว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้และต่ำกว่าศักยภาพมากขึ้นมากขึ้นจากการส่งออก สินค้าที่หดตัวและส่งผลกระทบไปสู่ตลาดแรงงานอย่างชัดเจน
ภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องจากผลกระทบของการกีดกันทางการค้า และเศรษฐกิจประเทศอุตสาหกรรมหลักชะลอลงตามการส่งออก ภาคการผลิต และการลงทุน ขณะที่ภาคบริการยังเป็นแรง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ การบริโภคภาคเอกชนยังได้รับแรงสนับสนุนจากค่าจ้างที่ขยายตัวต่อเนื่องและตลาดแรงงานที่ตึงตัว
ประเด็นสำคัญของการประชุมมีดังนี้
1) เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้เดิมและต่ำกว่าระดับศักยภาพมากขึ้น โดยการส่งออกสินค้าหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้และมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้ ขณะที่การจ้างงานมีแนวโน้มปรับลดลงเร็วทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ด้านการใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปเผชิญกับความเสี่ยงสูงทั้งปัจจัยต่างประเทศและปัจจัยในประเทศ
2) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี 2562 และปี 2563 มีแนวโน้มต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจากราคาพลังงานที่ต่ำกว่าคาดตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและอุปทานน้ำมันของซาอุดิอาระเบียที่กลับมาเร็วกว่าคาด ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มชะลอลงกว่าที่คาดตามแรงกดดันด้านอุปสงค์ที่ปรับลดลง
3) ความเสี่ยงในระบบการเงินได้รับการดูแลไปแล้วบางส่วนด้วยมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงินที่ ได้ดำเนินการไป อาทิ ความเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับดีขึ้นหลังมาตรการ LTV มีผลบังคับใช้สะท้อนจากการเก็งกำไรที่ชะลอลงและการปรับตัวของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อมาก ขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอลง
กรรมการส่วนใหญ่เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นจะช่วยสนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลงชัดเจนและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่เป้าหมาย ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะปัจจัยต่างประเทศ เพื่อให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีเวลาปรับตัวเพื่อรับมือกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยเร่งปรับโครงสร้างหนี้ทั้งในภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจ อาทิ การขยายขอบเขตของโครงการคลินิกแก้หนี้ให้ครอบคลุมลูกหนี้มากขึ้น การปรับโครงสร้าง หนี้ของธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถผ่อนชำระหนี้และดำเนินกิจการต่อไปได้ อีกทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายยังเอื้อให้นโยบายการคลังของภาครัฐช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่
อ่านเพิ่มเติม