ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายได้โพสต์เฟสบุ๊คถึงการที่รองผู้กำกับไม่รับมอบตัวทนายตั้มไว้ดังนี้ว่า
การมอบตัว ตามหมายจับ ไม่ถือว่าเป็นบุคคลที่ถูกจับ ตามหมายจับ ษิทรา เบี้ยบังเกิด ทนายความชื่อดัง
ข่าวทนายษิทรา ฯ ได้ไปมอบตัวกับตำรวจ สน.กระทุ่มแบน ภายหลังจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จาก สน.มีนบุรี เพียงข้ามวัน
เนื่องจาก ทราบข่าวว่า ตำรวจกระทุ่มแบบไปขอออกหมายจับที่ศาลจังหวัดสมุทรสาคร เมื่อเวลา 20.00น.เศษ จึงเดินทางได้ไปที่ สถานตำรวจกระทุมแบนตอน22.00น.เศษ ท่านรองผู้กำกับสถานีตำรวจที่ไปออกหมายจับท่านนั้น เพื่อแสดงเจตจำนงค์ขอมอบตัว แต่ท่านรองผู้กำกับ ท่านนั้นไม่รับมอบตัวและแจ้งกับทนายตั้มว่ายังไม่เห็นหมายจับตามข่าว
ทนายตั้ม จึงได้ลงบันทึกประวันไว้เป็นหลักฐานว่าไม่ได้หลบหนีไปไหน หากต้องการตัวเมื่อใด ขอให้ท่านรองผู้กำกับท่านนั้น แจ้งไปที่สำนักงานทราบจะได้มามอบตัวตามหมายจับโดยแสดงเจตนาว่าต้องการเข้าสู่ขบวนการยุติธรรมอย่างสง่างาม ทั้งนี้คดีที่ถูกกล่าวหานั้น มีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมการที่ตำรวจไม่รับมอบตัว ย่อมมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ทางราชการได้
การนำหมายศาลมาตรวจค้นที่สำนักงาน และไม่พบผู้ต้องหาตามหมายจับ เมื่อทนายตั้มฯทราบข่าว ก็นั่งซ้อนรถจักยานยนต์ไปมอบตัวตำรวจสอบปากคำแล้วอนุญาตให้ประกันตัวไปในวงเงินหนึ่งแสนบาทแล้ว ทนายตั้มฯ แจ้งความดำเนินคดีกับรองผู้กำกับท่านนั้น ว่าละเลยต่อหน้าที่ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องส่ง ปปท ภายใน 30วันไม่อย่างนั้นมีความผิดอีก
หากคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตภาครัฐ “ถามท่านรองผู้กำกับว่าทนายตั้มไปมอบตัวทั้งที่มีการกล่าวหาว่า “มีการกระทำผิดเกิดขึ้น เหตุใดจึงไม่รับมอบตัวเพื่อจัดการให้เป็นไปตามกฏหมาย ท่านรองจะตอบว่าอย่างไร ท่านรองจะอ้างว่ายังไม่เห็นหมายจับ เพื่อปฎิเสธความรับผิดนั้น ไม่ได้ การค้นบ้าน ทนายตั้มในตอนเช้า นั้น ตำรวจมีอำนาจเพียงเหตุเดียวคือ ค้นหลักฐานที่มีไว้เป็นความผิด และหรือหลักฐานที่ใช้ในการกระทำผิดถ้าไม่พบสิ่งใดสิ่งหนึ่งตำรวจอาจมีความผิดอีกฐานหนึ่ง นี่แหละคือปัญหาทนายตั้มอาจตั้งข้อสังเกตุได้ว่า “ถูกกลั่นแกล้ง”ได้
ที่ทนายตั้มให้สัมภาษสื่อมวลชนว่า ว่ารู้ๆกันอยู่นั้น ตำรวจเค้าไม่เข้าใจอีกทั้งตำรวจจะอ้างว่าจะไปค้นบุคคลตามหมายจับในที่รโหฐานก็ไม่ได้ อีก เจตนาของกฎหมายไม่เปิดช่องให้ตำรวจกระทำได้โดยชอบ สังคมเกิดความสงสัยว่า “การที่ทนายตั้มฯไปมอบตัวตามหมายจับเป็นการถูกจับตามหมายจับหรือไม
ผมในฐานะนักกฏหมาย มีความไปในทิศทางเดียวกันกับปราจารย์ทางกฏหมาย คำบรรยายเนติของท่านอาจารย์เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์ ว่า การมอบตัวตามหมายจับ ไม่ถือว่าผู้ต้องหาถูกจับตามหมายจับ ตำรวจจึงไม่มีอำนาจทำบันทึกการจับกุม คงทำได้เพียงแจ้งข้อกล่าวหาสอดคล้องกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกา คดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง วินิจฉัยว่า แม้ตำรวจมีหมายจับ แต่ผู้ต้องหาไปมอบตัว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจับตามหมายตำรวจ ต้องปล่อยตัวไปโดยไม่ทีหลักประกัน หากฝ่าฝืนอาจมีความผิดได
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
7 กุมภาพันธ์ 2563