ดร.สุกิต พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้ายกฎหมายได้โพสข้อความระบุว่า
ประมาทร่วม กับคำสั่งไม่ฟ้อง
………………………\\\\\\\………………………
โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม
คดีเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนน หากไม่ใช่ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนทั่วไปพึงกระทำนั้น เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น เจตนาของกฏหมายบัญญัติเป็นความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 291 นั้น
อย่างไรถึงเป็นประมาทร่วม พูดกันง่ายๆคือ ผู้ตายมีมีส่วนร่วมกระทำผิดด้วย จะฟ้องผู้ตายประมาทร่วมไม่ได้”เพราะตายไปแล้ว” สิทธินำคดีอาญามาฟ้องผู้ตายย่อมระงับ
เหตุด้วย อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง “ผู้กระทำ” ตำรวจสงสัยตำรวจต้องจับหากศาลสงสัยก็มีกฏหมายบัญญัติ”รับรอง”ไว้ตามประมวลหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227วรรคสอง “ต้องปล่อย”
การทำหน้าที่ของอัยการนั้น ก็ต้องทำตามพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนประกอบกับคดีประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายนั้น คดีมีอัตราโทษไม่สูงนัก หากมีการบรรเทาผลร้ายด้วยการชดใช้ค่าเสียหาย เพื่อเป็นการบรรเทาผลร้าย “มีเหตุรอการลงโทษได้
เมื่ออัยการสูงสุดเห็นว่าพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง หรือพยานหลักฐานผู้กระทำผิดนั้น เป็นเหตุสุดวิสัย หากขับรถยนบนท้องถนนใช้ความระมัดระวังอย่างวิญญูชนแล้ว ถึงแม้จะระวัง ก็ต้องเกิดอุบัติเหตุ “ย่อมเป็นเหตุไม่ต้องรับผิด” เช่นผู้กระทำขับรถมมาในทางช่องทางเดินรถของตน แต่ผู้ตายเปลี่ยนช่องทางเดินรถอย่าวกระทันหันย่อมเกิดอุบัติเหตุได้อัยการก็ต้องปล่อยให้พ้นข้อหาไปคือ”สั่งไม่ฟ้อง ” คดีย่อมถึงที่สุด” แต่ไม่ตัดสิทธิที่ผู้เสียหายจะนำคดีไฟฟ้องต่อศาลด้วยตนเอง
แต่ถ้าผู้เสียหายมีพยานหลักฐานใหม่ ที่ไม่เคยปรากฏในสำนวน”ที่สั่งไม่ฟ้อง” ก็สามารถนำพยานหลักฐานนั้น ไปยื่นคำร้องขอให้พิจารณาพยานหลักฐานใหม่ได้
ส่วนข้อมูลที่ว่า อัยการสูงสุด และ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไม่ทราบถึงเหตุสั่งไม่ฟ้องนั้น
ไม่”ก็ใช่พยานหลักฐานใหม่” แต่เป็นเรื่องระเบียบภายในของหน่วยงานนั้นๆที่ทวงดุลกัน