ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ขั้นอึ้ง ! เต้..มงคลกิตติ์ ดึงนัยนา-พลเอกกิติศักดิ์ ทนายบุญถาวร นั่งที่ปรึกษาพรรค

#ขั้นอึ้ง ! เต้..มงคลกิตติ์ ดึงนัยนา-พลเอกกิติศักดิ์ ทนายบุญถาวร นั่งที่ปรึกษาพรรค

11 September 2020
786   0

เมื่อวันที่ 11 ก.ย.เพจเฟซบุ๊ก “มงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์” หัวหน้าพรรคไทยศรีวิไลย์ ได้โพสต์ข้อความระบุว่า คำสั่งพรรคไทยศรีวิไลย์  แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้ 1.พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เป็น ประธานที่ปรึกษา 2.นางนัยนา ชีวานันท์ เป็น รองประธานที่ปรึกษา 3.นายบุญถาวร ปัญญาสิทธิ์ เป็น ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย จึงแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน

ประวัตินัยนา ชีวานันท์ เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ดารานักแสดงหญิง ที่มีผลงานการแสดงได้รับความนิยมสูงสุดช่วง พ.ศ. 2514 – 2521 โดย นัยนา ชีวานันท์ มีชื่อจริงว่า มะลิ ชีวานันท์ เกิดที่อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ จบการศึกษาจากโรงเรียนวัดเทพสถาพร เข้าสู่วงการจากการประกวดนางงามในจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2512 ได้ตำแหน่ง ขวัญใจ ชาวไร่-ชาวนา

ต่อมา ประวิทย์ ลีลาไว ได้ส่งเธอเข้าประกวดนางงามยาสระผมแฟซ่าที่จังหวัดนครสวรรค์ จนได้ตำแหน่งนางงามแฟซ่าประจำจังหวัด พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อจาก มะลิ เป็น นัยนา จากนั้นจึงได้ถูกส่งตัวเข้ามาประกวดต่อยังเวทีใหญ่ที่สนามมวยลุมพินีเพื่อเข้าไปประกวดมิสแฟซ่าในระดับประเทศ จนได้ตำแหน่งรองนางงามและขวัญใจช่างภาพ  และได้ขึ้นแบบถ่ายปกนิตยสารต่าง ๆ เช่น สกุลไทย, กุลสตรี เป็นต้น

ต่อมาหม่อมอุบลยุคล ได้ชักชวนนัยนาให้ร่วมงานกับ ละโว้ภาพยนตร์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ อำนวยการสร้างโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ให้มาแสดงภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง มันมากับความมืด  คู่กับ สรพงศ์ ชาตรี ตามด้วย แหวนทองเหลือง,เพชรตาแมว, ไผ่ลอดกอ, ไอ้แกละเพื่อนรัก, เขาชื่อกานต์ และกลายเป็นนางเอกชั้นแนวหน้าตั้งแต่นั้นโดยมักจะรับบทเป็นผู้หญิงเรียบร้อยแบบเศร้า ๆ ส่วนมาก เธอแสดงภาพยนตร์ทั้งสิ้นประมาณ 100 เรื่อง และเคยได้รับรางวัลนักแสดงดีเด่นจากการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิกที่เมืองปูซาน เมื่อปี 2519 จากเรื่อง ขุนศึก กำกับโดย สักกะ จารุจินดา

ปัจจุบัน นัยนา ชีวานันท์ ใช้ชีวิตครอบครัวกับสามีที่พบรักกันมาตั้งแต่ก่อนเข้าวงการ มีผลงานแสดงละครโทรทัศน์เป็นครั้งคราว ล่าสุดเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ ฟ้าทะลายโจร (2543) เยาวราช (2546) และ ทองดี ฟันขาว (2560)

 


 พลเอก กิตตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ

พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ นักการเมืองและอดีตทหารบกชาวไทย ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยศรีวิไลย์ อดีตผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายชวน หลีกภัย) เคยเป็นอดีตเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ และประธานที่ปรึกษาพรรคประชาสันติ และพรรคต้นตระกูลไทย รวมถึงอดีตกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่[1]

กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ
เลขาธิการพรรคความหวังใหม่
ดำรงตำแหน่ง
7 กันยายน พ.ศ. 2545 – 14 มกราคม พ.ศ. 2546
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2489 (74 ปี)
จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมือง พรรคไทยศรีวิไลย์
คู่สมรส ดร.บวรพรรณ รัฐประเสริฐ
ศาสนา พุทธ
การเข้าเป็นทหาร
สังกัด กองทัพบกไทย
ยศ RTA OF-9 (General).svgพลเอก

เนื้อหา

ประวัติ

กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2489 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรชายของ นายบุญยืน รัฐประเสริฐ (แซ่เตียว) กับ นางสุพรรณี รัฐประเสริฐ (นามสกุลเดิม ยศไกร) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา, โรงเรียนสารวิทยาและโรงเรียนอำนวยศิลป์, โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 7, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 18 (ตท.7 และ จปร.18-รุ่นเดียวกับ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ,พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ,พล.อ.อ.สมหมาย ดาบเพ็ชร ,พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ และ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์) , โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 57, โรงเรียนศูนย์รักษาความปลอดภัย หลักสูตรการต่อต้านการก่อวินาศกรรม, นักยุทธศาสตร์รุ่นที่ 1 จากกรมยุทธการทหาร, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 32, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 41 (วปอ.รุ่นที่ 41), ปริญญาโท พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต ทางรัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า),ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

ชีวิตส่วนตัว กิตติศักดิ์มีชื่อเล่นว่า “อู๊ด” จึงมักถูกเรียกว่า “เสธ.อู๊ด” สมรสกับ ดร.บวรพรรณ รัฐประเสริฐ (นามสกุลเดิม วีระปรีย) บุตรสาวของ พลเอกประลอง วีระปรีย กับคุณหญิงวัลลีย์ วีระปรีย (เสนาณรงค์) มีบุตรชาย 2 คนคือ บวรศักย์ รัฐประเสริฐ และ บวรสิทธิ์ รัฐประเสริฐ[2]

การทำงาน

การรับราชการ กิตติศักดิ์เคยได้รับโปรดเกล้าเป็นนายทหารราชองครักษ์เวร เคยเป็นผู้บังคับบัญชาสำนักงานทหารพัฒนา ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 253630 กันยายน พ.ศ. 2539 เมื่อครั้งมียศ พลตรี[3] เป็นผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (อัตรา “พลโท”) และได้รับโปรดเกล้าฯเป็น พลเอก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2543 และเข้าโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดเมื่ออายุได้ 53 ปี โดยมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นเลขานุการส่วนตัวและหน้าห้องของ นายชวน หลีกภัย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

บทบาทในทางการเมือง กิตติศักดิ์ เคยลงรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 1 กรุงเทพมหานคร(เขตบางซื่อ, เขตดุสิต, เขตราชเทวี) ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นได้ไปช่วยเหลือ นายชิงชัย มงคลธรรม ฟื้นฟูพรรคความหวังใหม่ ขึ้นอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2545 และได้ลาออกไปเมื่อต้นปี พ.ศ. 2546

จากนั้นได้เข้าร่วมกับทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เข้าร่วมการชุมนุมทั้งในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นได้เข้าร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ของทางกลุ่มพันธมิตรฯ โดยมีชื่อเป็นกรรมการบริหารพรรคด้วย

ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ที่ประชุมของพรรคการเมืองใหม่ ได้มีมติส่ง กิตติศักดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 6 กรุงเทพมหานคร (เขตบึงกุ่ม, เขตคลองสามวา, เขตคันนายาว, เขตหนองจอก ) ในการเลือกตั้งแทนที่ นายทิวา เงินยวง ส.ส.เก่าของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถึงแก่กรรมไป ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่ทางพรรคการเมืองใหม่ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งด้วย

แต่ทว่าในวันรุ่งขึ้น กิตติศักดิ์ ได้ประกาศถอนตัว เนื่องจากอ้างว่า สำรวจคะแนนเสียงแล้วไม่ดี และไม่ต้องการแข่งกับผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย คือ นายก่อแก้ว พิกุลทองเนื่องจากได้รับข้อหาผู้ก่อการร้ายในระหว่างเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง พ.ศ. 2553 ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่อมามากมาย[4][5]

ต่อมา กิตติศักดิ์ได้ลาออกจากพรรคการเมืองใหม่และยุติบทบาททั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแล้ว เพราะเหตุความไม่โปร่งใสในการเป็นกรรมการบริหารพรรคของสมาชิกบางคน[6][7]เป็นปัจจุบันมีตำแหน่งเป็น ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของชาติ (ปปช.ภาคประชาชน) และเป็นวิทยากรประจำรายการ ห่วงบ้านห่วงเมือง เป็นประจำทุกวันศุกร์ เวลา 21.00-22.00 น. ทางช่องไททีวี

ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคประชาสันติ[8] โดยลงสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 2 ของพรรค[9] ต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่10/2558 มีขอเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514ซึ่งในที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พล.อ.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นกรรมาธิการวิสามัญและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญฯในเวลาต่อมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ดูเพิ่ม

  1. อ้างอิง

ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่

    ส่วนทนายบุญถาวร ปัญญาสิทธิ์ นั้น เป็นที่ปรึกษา3พรรคร่วมรัฐบาล เคย ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ถูกเสนอชื่อเป็น สว. ในรอบสุดท้าย ทำคดีดัง อย่างหวย 30 ล้าน และคดี ไห ทองคำ เป็นต้น