****ประเด็นมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า”..คำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไว้เป็นการชั่วคราวและให้ยกเลิกการเลือกตั้งและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่เป็นการกระทำโดยสุจริตและเป็นคำสั่งที่เป็นที่สุดหรือไม่
ตามพรป.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ.2561 บัญญัติว่า..
มาตรา 132 ก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ถ้าคณะกรรมการสืบสวนหรือไต่สวนแล้วเห็นว่า มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครผู้ใดกระทําการอันเป็นเหตุให้การเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยสุจริตหรือ เที่ยงธรรม หรือมีหลักฐานอันควรเช่ือได้ว่าผู้สมัครผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทํา สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจ ให้บุคคลอื่นกระทําการดังกล่าว หรือรู้ว่ามีการกระทําดังกล่าวแล้วไม่ดําเนินการเพื่อระงับการกระทําน้ัน ให้คณะกรรมการสั่งระงับสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครท่ีกระทําการเช่นน้ันทุกรายไว้เป็นการชั่วคราว เป็นระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่คณะกรรมการมีคําสั่ง และในกรณีที่ผู้นั้นได้คะแนนอยู่ในลําดับที่ จะได้รับการเลือกตั้ง ให้สั่งยกเลิกการเลือกตั้งและให้มีการเลือกตั้งใหม่
คําสั่งของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นที่สุด
…………………………………………………………
เมื่อวรรคสองบัญญัติไว้ว่าคำสั่ง.กกต.ให้ใบส้มและสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ให้เป็นที่สุดก็ถือว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมายเพราะว่ากฏหมายบัญญัติไว้เพียงว่า”..มีหลักฐานอันควรเชื่อว่า..”ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดกระทำเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรมแล้วย่อมมีอำนาจตามกฎหมาย…!
เมื่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง”ยกคำร้อง”ของคณะกรรมการที่ร้องขอให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งนายสุรพลฯแล้วจะทำให้นายสุรพลฯได้ตำแหน่ง.ส.ส.กลับคืนมาหรือไม่นั้น…?
ตอบเลยว่า”..ไม่ได้คืน..”เพราะว่ากฏหมายให้อำนาจ.กกต.ยกเลิกการเลือกตั้งไปแล้วและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ที่ได้คุณศรีนวล(อนาคตใหม่)มาแทนที่และคุณศรีนวลฯก็ไม่พ้นสภาพความเป็นส.ส.แต่อย่างใด(อยู่ยาวต่อไป)
คุณสุรพลฯเสียสิทธิในความเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกคำสั่ง.กกต.ให้ใบส้มและถูกยกเลิกผลการเลือกตั้งที่ชนะการเลือกตั้งไปแล้วย่อมถือว่าไม่เคยได้รับเลือกตั้งให้เป็น.ส.ส.แต่อย่างใด
ความเสียหายที่เกิดขึ้นใครจะรับผิดชอบในการกระทำ…?
กกต.ออกคำสั่งโดยตรงจากบทบัญญัติของกฏหมายให้อำนาจไว้ถ้าการออกคำสั่งเป็นคำสั่งที่สุจริตและเที่ยงธรรมไม่มีเจตนากลั่นแกล้งผู้ใดแล้วย่อมได้รับการรับรองคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญและกฏหมายที่เกี่ยวข้องจึงไม่ต้องรับผิดทางอาญาและทางแพ่งอันเป็นค่าเสียหายที่ถูกฟ้องร้องคดี…?
***** คําสั่งของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นที่สุด*******
เมื่อบทบัญญัติของกฏหมายให้อำนาจ.กกต.ออกคำสั่งย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและคำสั่ง.กกต.เป็นที่สุด(หมายถึงเด็ดขาดห้ามโต้แย้งหรือคัดค้านไม่ได้แล้ว)ย่อมเป็นที่สุดโดยผลของกฏหมายทันที
“หลักฐานอันควรเชื่อ”เป็นถ้อยคำสำนวนที่บัญญัติไว้ในตัวบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อให้อำนาจ.กกต.ซึ่งสมควรที่จะต้องมีการ”ตีความ”โดยเฉพาะและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในอนาคต..!
ทำใจและทำใจ….กฎหมายประเทศไทยขัดแย้งกันเองมีมากมายก่ายกองที่รอการชำระสะสางแต่คนที่ถูกกระทำหรือถูกคำสั่งโดยที่เป็นไปโดยไม่ชอบอย่างคุณสุรพลฯถือว่าเป็น”ผู้เสียหาย”มีสิทธิ์ยื่นฟ้องคดีทั้งคดีอาญาและแพ่งต่อศาลตามหลักการแห่งกฏหมายอยู่แล้ว…!
คดีนี้..ประเด็นมีปัญหาต้องวินิจฉัยเป็นประการแรกว่า”คณะกรรมการ(กกต)เป็นปฎิบัติหน้าที่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมหรือไม่/ถ้าหากเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมก็ถือว่าคณะกรรมการกระทำโดยเจตนาบริสุทธิ์ย่อมถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญาแต่อย่างใด
สุดท้าย…..รอคำพิพากษาของศาลครับ
ศาลยุติธรรมเสมอไม่มีสองมาตราฐานประเทศไทยเรามีระบบความยุติธรรมที่ดีครับ
ผมวิเคราะห์ในฐานะนักกฎหมายที่พิจารณาตามตัวบทกฏหมายมิได้มีเจตนาที่จะไปก้าวล่วงอำนาจหน้าที่ของผู้ใดนะครับ
ด้วยความปรารถนาดี(ทนายหัวใจเพชร)
https://www.dailynews.co.th/article/572173
ทนายบุญถาวร ปัญญาสิทธิ์หรือปัญญามณีโชติ
30 กันยายน 2563