ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #อัฉริยะไม่ใช่พยาน ! ดร.สุกิจชี้ คดีลุงพลส่อพลิก

#อัฉริยะไม่ใช่พยาน ! ดร.สุกิจชี้ คดีลุงพลส่อพลิก

7 June 2021
515   0

   ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชสญด้านกฎหมายได้โพสข้อความระบุว่า

   โดย ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฏหมาย ศึกษากรณี
เครื่องซินโครตรอน “พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เพียงใด

ผมได้ดูข่าอัมรินทร์แล้ว ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับพยานหลักฐานทางคดีที่มีการออกหมายจับคือ พยานทางนิติวิทยาศาสตร์ มีเส้นผม สามเส้น ไม่มีรากผม พิสูจน์แล้ว เป็นสารพันธุกรรมเป็นของฝ่ายทางมารดา น้องชมพู่ ผู้ตาย

การรับฟังพยานหลักฐาน (Admissibility of Evidence) ทางนิติวิทยาศาสตร์ในคดีอาญา ที่มีโทษจำคุก นั้น เจ้าหน้าทีต้องมี ความรู้ด้านการสืบสวน ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการรับฟังพยานหลักฐาน ประกอบด้วย คําให้การของ คู่ความ พยาน ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายโจทก์และจําเลย รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม และ ขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการพิจารณา รับฟัง และชั่งน้ําหนัก พยานหลักฐานเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม

สามารถระบุถึงสาเหตุ ขั้นตอน วิธีการในการกระทําผิดและสามารถ นําตัวผู้กระทําความผิดมาลงโทษ ซึ่งการพิจารณาพยานหลักฐานของศาลในการรับฟังและชั่งน้ําหนัก พยานหลักฐานนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพียงแต่อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อํานาจในการพิจารณา ศาลฎีกาได้ให้แนวทางไว้ตามหลักฏหมาย ป.วิ.พ. มาตรา 95 บัญญติว่า ห้ามมิให้ยอมรับฟังพยานบุคคลใดเว้นแต่พยานประเภทแรก คือ เป็นผู้ที่ได้เห็นได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นมาด้วยตนเองโดยตรงหรือที่เรียกกันว่า ประจักษ์ พยาน ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2558

พยานหลักฐาน เทคโนโลยี ความรู้ รวมถึงกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ไม่อาจทําให้ศาลรับฟังพยานหลักฐาน ประกอบการวินิจฉัยความผิดหรือบริสุทธิ์ของคู่ความได้ทุกกรณี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขั้นตอนการรวบรวม พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ถูกกระทําอย่างไม่มีมาตรฐาน หรือเป็นเพียงความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญ “อันนี้สำคัญมาก” ที่ฝ่ายทนายจำเลย”จะใช้ประกอบการถามค้าน.

แต่ผมจะไม่เจาะลึกถึงว่าต้องถามค้านอย่างไร แต่จะแจงรายละเอียดว่า
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญตามกฎหมาย อันมีความสําคัญ อย่างยิ่งในกระบวนการยุติธรรมยุคใหม่ที่มุ่งเน้นพิสูจน์การกระทําความผิดของคนร้ายโดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย นั้น

ปราแรก..เครื่องตรวจพิสูจน์เป็นสากลหรือไม มีกฏหมายรองรับให้ใช้เครื่องเทคโนโลยี่ชิ้นนี้เป็นเครื่องพิสูจน์หรือไม ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่มีกฏหมายรับรองตรวจพิสูจน์อย่างไง

หากพยานผู้เชี่ยวชาญไม่ได้ให้การจากต่อศาลจากองค์ความรู้ของตนเอง หรือไม่ใช่องค์ความรู้ทางวิทยาศาตร์ที่ได้รับการยอมรับ..ต้องถือว่า พยานผู้เชี่ยวชาญนั้น ไม่น่าเชื่อถือ..

เป็นพยานที่ไม่มีน้ำหนักให้เชื่อว่า สิ่งที่เขาพูดนั้น เป็นความรู้จริง เป็นเพียงพยานบอกเล่าเพื่อให้ศาลนั้นสงสัย ศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่า ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญนั้น ไม่จำเป็นต้องให้ศาลเชื่อเสมอไป นัยคำฎีกที่4299/2534และนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2535

คดี”ลุงพล”ให้การปฎิเสธ “มาโดยตลอด ตามข่าวตำรวจฝ่ายสอบสวนมีพยานหลักฐานตั้งแต่การตรวจสถานที่เกิดเหตุ การเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน การส่งมอบวัตถุพยาน การตรวจพิสูจน์ จนกระทั่งการสรุปมีความสําคัญมาก

ฝ่ายโจทก์ต้องพิสูจน์ให้สินกระแสความ ทั้งนี้การเก็บวัตุพยานตามระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แม้แต่ก้อนกรวดในที่เกิดเหตุ.ที่ใกล้ชิดกับศพ ตำรวจต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน

เบื่องต้นตามข่าว พยานแวดล้อมฝ่ายตำรวจให้การไม่อยู่กับร่องกับรอย กลับไปกลับมา ย่อมมีเหตุสงสัยตามสมควร ก็เป็นหน้าที่ฝ่าย”ลุงพล”ต้องพิสูจน์มีแนวฎีกาคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2536

ดังนั้นคำแถลงของตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่แถลงข่าวแต่ละครั้ง ถือว่าเป็นพยานหลักฐานอย่างหนึ่งที่ทางฝ่ายจำเลยจะหยิบฉวยโอกาสใช้เป็นประโยชน์ในศาลได้

ยิ่งคำให้สัมภาษ ของ นาย นายอัจฉริยะ เรืองรัตน์พงค์ ได้ให้รายละเอียดกับ”คุณมดดำ”ในรายการ”แฉ”ว่าตำรวจพบเส้นผมที่กระเป๋าถือของป้า. ต. ถือว่าเป็นพยานสำคัญในที่เกิดเหตุ

ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ลงพื้นที่สืบสวนเรื่องนี้ มานานกว่า 6เดือน นั้นเค้ารู้หมดว่าใครคือคนร้าย อันนี้ถือว่า เป็นพยานสำคัญที่คู่ความทั้งฝ่ายโจทก์หรือจำเลยต้องนำมาศาล เพื่อพิสูจน์ถึงขั่นตอนต่างในการแถลงข้อเท็จจริงต่อสือมวลชนว่าตนเอง นั้น

( 1 )เป็นพยานผู้เชียวชาญ(ก็ไม่น่าจะใช่ ) (2)นักกฏหมาย”หรือไม่(ยังเรียนไม่จบ) (3) เส้นผมที่พยานอ้างว่าอยู่จุดไหนในตัวป้า. ต. นั้น มีความยาวสั่นเท่าไรเป็นสารสำคัญ สีของผมเป็นองค์ประกอบ (4) พยานเห็นกับหู หรือเห็นกับตา ที่สามารถต่อจิ๊กซอ ได้สมจริง เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนได้ คู่ความน่าจะเอามาเป็นพยานศาลเพื่อให้ได้คำตอบที่สิ้นกระแสความ

ฉะนั้น พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ นั้น ด้วย “เครื่องซินโครตรอน “หรือ”เครื่องจับเท็จ “ มีลักษณะเป็นเพียงความเห็นในทางวิชาการ ย่อมไม่อาจนำมาพิสูจน์ทราบถึงข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลยเป็นที่แน่ชัดได้ ความเห็นของผู้ชำนาญด้านทางนิติวิทยาศาสตร์ ยังไม่อาจรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายกระทำความผิดตามข้อกล่าวหาตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2553.

จึงเป็นกรณีศึกษา

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม