ข่าวประจำวัน » ข่าวเด่น » #ไม่มีความผิด !ดร.สุกิจชี้มูลคดี “ เสรีพิศุทธ์ ”ให้รื้อถอน สิ่งล่วงล้ำลำน้ำแควน้อย

#ไม่มีความผิด !ดร.สุกิจชี้มูลคดี “ เสรีพิศุทธ์ ”ให้รื้อถอน สิ่งล่วงล้ำลำน้ำแควน้อย

30 July 2021
399   0

   ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาว่าคำสั่งกรมเจ้าท่าให้รื้อถอน สิ่งล่วงล้ำลำน้ำแควน้อยเป็คำสั่งที่ชอบด้วยกฏหมาย
…………………\\\\\\\\………………;

โดย ดร. สุกิจ พูนศรีเกษม นักวิชาการด้านกฎหมาย ศึกษากรณี พล.ต.อ.เสรีพิศุทร์ฯฟ้องกรมเจ้าท่าให้เพิกถอนคำสั่ง

เมื่อข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า อธิบดีกรมเจ้าท่าจริงมีคำสั่งให้ รื้อถอนสิ่งล่วงล้ำลำน้ำแควน้อย ชี้เป็นการถมที่ดินลงน้ำเพื่อหาประโยชน์ สร้างสวนหย่อมโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม ม. 119 แห่ง พ.ร.บ.เดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456
อันเป็นความผิดฐานฝ่าฝื่นคำสั่งเจ้าพนักงานตามมาตรา ๒๙๗ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับตั้ง แต่ห้าร้อยบาทถึงห้าพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับชึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง

หลักกฎหมายเกี่ยวกับอายุความการลงโทษในคดีอาญา จะมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๘ (4) มีอายุความ 5 ปี สำหรับโทษต้องแต่ 1ปีลงมา ในทางแพ่งจึงมีอายุความ 10 ปี ที่ยาวกว่า

  • ในคดีอาญา พล.ต.อ.เสรีพิศุทร์ฯ ได้ถูกดำเนินคดีแล้ว ไม่มีความผิดหรือโทษทางอาญา หรือมีคำพิพากษาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์และยาเสพติดถึงที่สุด ในส่วนแพ่ง กรมเจ้าท่ามีคำสั่งให้รื้อถอน

คดีมีปัญหาสู่สำนักงานกฤษฎีกาตีความ ตามคําส่ังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ท่ี ๓๒/๒๕๖๐ เรื่อง การบรรเทาความเสียหายให้แก่ ประชาชนในกรณีปลูกสร้างอาคารหรือส่ิงอื่นใดล่วงล้ำลําแม่นํ้า นั้น ผู้ที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แต่ปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใด ไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต แจ้งให้เจ้าท่าทราบถึงการฝ่าฝืนหรือการปลูกสร้างซึ่งไม่เป็นไปตามที่ก่อนวันท่ีพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ําไทย (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ ใช้บังคับให้ผู้ที่แจ้งภายในกําหนดระยะเวลาดังกล่าวได้รับยกเว้นโทษทางอาญา และโทษปรับทางปกครองสําหรับความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐

คดีมีปัญหาคดีของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทร์ฯ เกิดก่อน วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีความผิดหรือไม ได้ความว่าคดีนี้ได้มีการขออนุญาต โดยความยินยอมของกรมเจ้าท่า แต่ภายหลังผู้ขอไปขัดแย้งทางการเมือง จึงเกิดปัญหาให้มีคำสั่งให้รื้อถอนเกิดขึ้น นั้น เนื่องจากขออนุญาตใช้ผิดประเภท นั้นเป็นช่องว่างในทางกฏหมาย

แท้จริงแล้วความยินยอมที่เป็นเหตุยกเว้นความผิดมาจากหลักที่ว่า “Volenti non fit injuria” ซึ่งมีความหมายว่า “ความยินยอมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ทำให้เป็นละเมิด” ซึ่งหลักการนี้ถูกนำมาใช้ยกเว้นความรับผิดทางแพ่ง (กฎหมายละเมิด) และยังถูกนำมาใช้เพื่อยกเว้นความรับผิดทางอาญาด้วย

#แม้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่าคำสั่งอธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นคำสั่งที่ถูกต้องโดยชอบด้วยกฎหมาย #

ก็ไม่เป็นเหตุให้ พล.ต.อ.เสรีพิศุทร์ฯ ต้องรับผิดในทางปกครองได้ ทั้งนี้โดยที่หลักความยินยอมนี้แม้ไม่ถูกบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในกฎหมายทั้งกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา แต่ก็ถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นหลักกฎหมายทั่วไป (General principle of law)ซึ่งในทางอาญาก็สามารถนำหลักดังกล่าวมาใช้ได้ เพราะเป็นคุณหาได้เป็นโทษแต่ประการใด

พล.ต.อ.เสรีพิศุทร์ฯ จึงมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม พรบเลือกตั้ง และไม่ได้ฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พศ2560 มาตรา 45ประกอบมาตรา 93 แต่อย่างไร จึงเป็นกรณีศึกษา

ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม