การรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นับเป็นเวลา 15 ปี ที่ผ่านมาส่งผลกระทบมาจนถึงปัจจุบัน และการรัฐประหารที่เกิดขึ้นทุกครั้งก็ทำลายประเทศทั้งเศรษฐกิจ และสังคมรวมไปถึงโอกาสในการพัฒนาประเทศ ปัจจัยหลักของการรัฐประหาร คือ การรักษาอำนาจ การกลัวการสูญเสียอำนาจ และใช้อำนาจของผู้นำเหล่าทัพ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 1 เป็นผู้ร่วมสนับสนุนนำกองกำลังเข้าทำการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549
.
ซึ่งต่อมาได้รับการคุ้มครองนิรโทษกรรม ไม่ให้เป็นความผิดจากรัฐธรรมนูญ 2550 แต่เมื่อ พลเอกประยุทธ์ ได้ทำการยึดอำนาจ เมื่อปี 2557 ล้มรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ทำให้การนิรโทษกรรมผู้ทำการรัฐประหาร ปี 2549 ถูกยกเลิกไป และไม่ได้ บัญญัติใว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 และรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งบัญญัติรองรับ นิรโทษกรรมเฉพาะ ผู้ทำการรัฐประหาร ปี 2557 เท่านั้น รวมทั้งไม่ได้เขียนนิรโทษกรรมไว้ในกฎหมายอื่นใด
.
นายแพทย์ ชลน่าน กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ผู้ทำการรัฐประหารและผู้สนับสนุน มีความผิดฐานกบฏ สมควรรับผิดชอบการกระทำ แต่กลัวความผิด จึงมีการนิรโทษกรรมไว้ในรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มิให้ถือเป็นความผิด
.
“การกระทำของพลเอกประยุทธ์ ในครั้งนั้น ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เป็นความผิดฐานกบฏ ล้มล้างการปกครอง ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ตาม ป.อาญา ม.113 ซึ่งอายุความยังไม่หมด เป็นอาญาแผ่นดิน พี่น้องประชาชน สามารถที่จะก็ฟ้อง พลเอกประยุทธ์ได้และพรรคเพื่อไทยจะต่อสู้เรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพื่อให้คนที่กระทำความผิดได้รับโทษเพราะเป็นการกระทำที่ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนไร้อนาคต ทำลายประชาธิปไตย ประเทศชาติเสียหายขาดโอกาสในการพัฒนา และจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประหาร ทำลายประชาธิปไตยอีกในอนาคต ทั้งนี้ เห็นควรแก้กฎหมายเรื่องอายุความความผิดฐานกบฏจากรัฐประหาร ต้องไม่มีอายุความ”นายแพทย์ ชลน่าน กล่าว