7 รมต.ภูมิใจไทย ไม่ร่วมสังฆกรรม “ครม.” หลัง “มท.” จ่อเข็นวาระต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปี
.
เว็บไซต์ข่าว The Journalist Club รายงานว่า ในการประชุม ครม. วันนี้ (8ก.พ.) ทาง รัฐมนตรีในสังกัดพรรคภูมิใจไทย จำนวน 7 คน ซึ่งประกอบด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข , นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม , นายทรงศักดิ์ ทรงศรี รมช.มหาดไทย ,นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา , นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ และ นางกนกวรรณ วิลาวัลย์ รมช.ศึกษาธิการ ได้ยื่นหนังสือขอลาการประชุม ครม. เนื่องจากติดภาระกิจ และแสดงออกถึงความเห็น ที่ไม่เห็นด้วยกรณีกระทรวงมหาดไทย เสนอวาระเพื่อพิจารณา ขอความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ของกรุงเทพมหานคร(กทม.) เพื่อขยายสัญญาสัมปทานให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC บริษัทในเครือ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ออกไปอีก 30 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2572 ออกไปเป็นปี 2602 แลกกับเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย ให้ ครม.พิจารณาอนุมัติ ประกอบกับมองว่า กระทรวงมหาดไทยไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย และ หลักธรรมาภิบาล หากมีการอนุมัติวาระดังกล่าวจะส่งผลทางด้านกฎหมายในอนาคตได้
ซึ่งเรื่องดังกล่าวทาง กระทรวงคมนาคม ได้แสดงความเห็นคัดค้านต่อการขยายสัญญาสัมปทานมาโโยตลอด พร้อมเสนอความเห็นเพิ่มเติม เข้า ครม. ทุกครั้งที่จะมีการเสนอ โดยเฉพาะใน4 ประเด็นหลัก คือ 1.ประเด็นความครบถ้วนตามหลักการของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 2.ประเด็นการคิดค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดได้ต่ำกว่า 65 บาท
3.ประเด็นการใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรพิจารณาให้เกิดความถ่องแท้ถึงการใช้สินทรัพย์ว่ารัฐควรได้ประโยชน์จากการขยายสัญญาสัมปทานเป็นจำนวนเท่าไร อย่างไร จนกว่าจะครบอายุสัญญา 4.ประเด็นข้อพิพาททางกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นจากกรณี กทม.ได้ทำสัญญาจ้าง BTSC เดินรถส่วนต่อขยายที่ 1 และ ส่วนต่อขยายที่ 2 ไปจนถึงปี 2585 และได้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ดังนั้นจึงสมควรรอผลการไต่สวนข้อเท็จจริงก่อนเพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยกระทรวงคมนาคมได้ขอให้กทม.ชี้แจงทั้ง 4 ประเด็นนี้ให้ชัดเจนก่อน
และล่าสุดในการประชุม ครม. วันนี้ทางกระทรวงคมนาคมยังได้เสนอความเห็นเพิ่มเติมเสนอเข้าไปประกอบด้วย ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลที่ กทม. จัดทำเพิ่มเติมนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อเท็จจริงที่ทำให้การวิเคราะห์ของกระทรวงคมนาคมแตกต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะในประเด็น 1.การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างและที่ดินตลอดแนวโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ช่วงยังคงเป็นของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เนื่องจากยังไม่มีการโอนไปยัง กทม. เนื่องจากยังไม่มีการจ่ายค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง 2.การคำนวณค่าโดยสาร ,และการรองรับระบบตั๋วร่วม รวมถึงความชัดเจนของประเด็นข้อกฎหมาย ที่ทาง กทม.ยืนยันว่าจะเข้าดำเนินการตั๋วร่วมแต่จะไม่ยอมลงทุนเ