ส.ว.สมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้โพสต์ข้อความหลังมีเจตนาของ ส.ส.ละเว้นการปฏิบัติหน้าจนทำสภาล่มถึง 17 ครั้งว่า
#ปัญหาสภาล่ม17ครั้งแก้ไม่ยาก
#ไม่ต้องยุบสภาแต่ต้องแก้เด็ดขาด
#ถึงคราวประชาชนต้องจัดหนักจัดเต็ม
“หน้าที่ของสมาชิกสภา
คือการเข้าประชุมเพื่อทำหน้าที่
การที่สมาชิกเข้าอยู่ในที่ประชุมแล้วไม่แสดงตน
เพื่อไม่ให้นับตนเป็นองค์ประชุม
เป็นการจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้สภาเสียหาย
ทำไมไม่ผิด157
ทำไมไม่ผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง”
ลูกจ้างที่ลาป่วยเป็นนิจ ลากิจเป็นประจำ ขาดงานเป็นอาจิณ
นายจ้างยังต้องไล่ออก?
เหตุใดนายจ้างตัวจริงประชาชนผูเสียภาษี
ไม่คิดไล่ออกผู้แทนที่ชอบล่มสภากันบ้าง?
ผมเคยเสนอทางออกเรื่องนี้แบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่นมาแล้ว3ข้อคือ
แก้ไขรัฐธรรมนูญข้อบังคับและพระราชกฤษฎีกาดีๆไปแล้ว
แต่ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยากเพราะ
“เสือย่อมไม่กินเนื้อเสือ
แมลงวันย่อมไม่ตอมแมลงวัน”
ฝากบอกนายกลุงตู่ว่าไม่ต้องคิดยุบสภา
ตามที่คนเดินเกมส์ให้เสียงบประมาณเลือกตั้งใหม่กัน
อยู่ยาวเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคปลายปีไปเลยครับ
แค่นายจ้างตัวจริง หาคนรวบรวมข้อมูลนำข้อกฎหมายร้องต่อปปชให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนเอาผิดจริยธรรมร้ายแรงและส่งดำเนินคดีต่อศาลฎีกาก็พอครับ
โดยมีข้อกฎหมายและแนวทางดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1)ยื่นคำร้องต่อสภา เพื่อตรวจสอบรายชื่อและพฤติกรรมว่ามีใครบ้าง ที่ไม่ร่วมประชุมไม่ร่วมแสดงตนเป็นองค์ประชุมหรือลงมติ เป็นประจำ จนถือเป็นการจงใจทำให้สภาผู้แทนราษฎรล่ม17ครั้ง และเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายหรือขัดขวางให้สภาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ทางนิติบัญญัติได้
2)ตรวจสอบและสรุปการกระทำของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นว่า เป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 234(1) และมาตรา 235 (1)
ประกอบ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 28 (1) และมาตรา 87
และมีความผิดร้ายแรงตามมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ.2561 หมวด 1 ข้อ 7 หมวด 2 ข้อ 12 ข้อ 17 ข้อ21 และข้อ22
และข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสภาผู้แทนราษฎรราษฎรและกรรมาธิการ พศ 2563 ข้อ 4 ข้อ7 ข้อ8 ข้อ14 หรือไม่
3)ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ(ปปช) ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนว่าเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่
หากปปชมีมติชี้มูลความผิด ปปชต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกา
เพื่อวินิจฉัยต่อไป
4)เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งให้รับคำร้องไว้ สสหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที !!!
และหากศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าเป็นการกระทำผิดฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง สสหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น
ต้องพ้นจากตำแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่
และอาจถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไม่เกิน 10 ปีด้วย
#งานนี้อาจมีสสต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือหลุดเก้าอี้เว้นวรรคการเมือง10ปีเป็นร้อย
ปล : ไม่สงวนสิทธิที่ประชาชนผู้เสียภาษีที่เป็นนายจ้างโดยตรงของสสสสวและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะนำข้อกฎหมายและข้อเสนอแนะนี้ไปศึกษาหรือยื่นร้องต่อ
คณะกรรการปปชโดยตรง