เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #ศาลสั่งจ่าย ! ให้นิพนธ์ ชดใช้ 52 ล้านสมัยเป็น นายก อบจ. อ้างฮั้วประมูลทำงานฟังไม่ขึ้น

#ศาลสั่งจ่าย ! ให้นิพนธ์ ชดใช้ 52 ล้านสมัยเป็น นายก อบจ. อ้างฮั้วประมูลทำงานฟังไม่ขึ้น

9 June 2022
271   0

 

   วันนี้(9มิ.ย.)ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนให้บริหารส่วนจังหวัดสงขลาชำระเงินจำนวน 52,062,041 บาทให้แก่บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 50,850,000บาท นับถัดจากวันฟ้องจนถึงวันที่ 10 เม.ย.64 และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน50,850,000บาท ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย.64จนกว่าจะชำระเสร็จ

ทั้งนี้คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากปี2556 นายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขณะนั้น ละเว้นไม่เซ็นจ่ายเงินค่ารถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ชนิด 10 ล้อจำนวน 2 คันเป็นเงิน 50,850,000บาท ให้แก่ บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด คู่สัญญาทั้งที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจรับรถทั้งสองแล้วและเห็นว่ามีปริมาณและคุณภาพถูกต้องครบถ้วน ทำให้บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ได้รับความเสียหายและยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสงขลาขอให้ศาลฯมีคำสั่งให้อบจ.สงขลาชำระเงินค่ารถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ดังกล่าวและชดใช้ค่าเสียหายรวมเป็นเงิน73,504,023 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน50,850,000บาท นับถัดจากวันฟ้อง

ส่วนเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้อบจ.สงขลาชดใช้ ระบุเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า
บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ได้ส่งมอบรถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์จำนวน 2 คันตามสัญญาให้กับอบจสงขลาวันที่ 8 ต.ค 56 คณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ทำการทดสอบและตรวจรับรถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ดังกล่าว ซึ่งไม่ปรากฏว่ารถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ที่บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ส่งมอบมีข้อบกพร่องหรือไม่ถูกต้องตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในสัญญา ซึ่งต่อมาบริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ได้ดำเนินการจดทะเบียนรถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดสงขลาและส่งมอบคู่มือจดทะเบียนพร้อมป้ายทะเบียนรถยนต์ให้กับอบจสงขลาซึ่งถือว่า บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด ได้ปฏิบัติตามสัญญา พระเจ้าสงขลาจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายสัญญาเลขที่ 22/2556 ลงวันที่ 31 พ.ค 56 เป็นเงิน50,850,000บาทซึ่งบริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัดมีหนังสือลงวันที่ 19 ก.พ 57 เรือไพ่อบจสงขลาชำระเงินตามสัญญาภายใน 21 ก.พ.57 เมื่ออบจ.สงขลาไม่ได้ชำระหนี้ภายในวันดังกล่าวจึงถือว่าอบจ.สงขลา ตกเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่22ก.พ.57 ตามมาตรา204วรรคหนึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัดจึงมีสิทธิ์เรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 50,850,000บาทนับตั้งแต่ 22 ก.พ 57 -17 มิ.ย 57ซึ่งเป็นวันฟ้องคดีเป็นเวลา 116 วันคิดเป็นดอกเบี้ยจำนวน 1,212,041บาท อบจ.สงขลาจึงต้องชำระเงินให้แก่บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด จำนวน52,062,041บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน50,850,000บาทณัฐจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามมาตรา 224 วรรค 1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ส่วนที่อบจสงขลาอุทธรณ์ว่าสัญญาพิพาทเป็นโมฆะเนื่องจากบริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด กับบริษัทเอส พี เค ออโต้เทค จำกัด มีการตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์ทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมเห็นว่า คณะประมูลซื้อรถซ่อมบำรุงทางอเนกประสงค์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ไม่ปรากฏว่านายอิทธิพล ดวงเดือนกรรมการผู้จัดการของ บริษัทพลวิศว์ เทค พลัส จำกัด มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหารหรือเชิงทุนที่สามารถใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการของบริษัทเอส พี เค ออโต้เทค จำกัด ที่ร่วมเสนอราคาในการประมูลซื้อพิพาท หรือมีความสัมพันธ์ในลักษณะไขว้กันระหว่าง 2 บริษัทดังกล่าว อีกทั้งการเสนอราคาของ2บริษัทก็เสนอต่างกันจำนวน 50,000 บาทและเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่อบจสงขลากำหนดวงเงินเริ่มต้นในการประมูลไว้คือ 51ล้านบาทโดยไม่มีไหนสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าเป็นราคาที่สมยอมกันอันเข้าลักษณะเป็นความผิดตามพ.ร.บ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 2542 อุทธรณ์นี้จึงฟังไม่ขึ้น ดังนั้นที่ศาลปกครองสงขลาพิพากษาให้อบจ.สงขลาต้องชดใช้ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย

ทั้งนี้กรณีดังกล่าวเป็นผลให้ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดนายนิพนธ์ บุญญามณี และคดีอยู่ระหว่างอัยการสูงสุดพิจารณาส่งฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขณะเดียวกันรมว.มท.มีคำสั่งปลดนายนิพนธ์ผลจากนายกอบจ.ส่งผลให้ขณะนี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวเป็นเหตุให้ความเป็นรมต.ของนายนิพนธ์สิ้นสุดลงหรือไม่