ข่าวประจำวัน » เศรษฐกิจ » #ฝายชะลอน้ำแก้จน ! สังศิต ให้หลักคิด มวลชนยึดกุม “หลักคิด “ เอาไว้ได้ การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ

#ฝายชะลอน้ำแก้จน ! สังศิต ให้หลักคิด มวลชนยึดกุม “หลักคิด “ เอาไว้ได้ การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ

15 June 2022
363   0

เมื่อมวลชนยึดกุม “หลักคิด “ เอาไว้ได้ การเปลี่ยนแปลงก็ เริ่มต้นขึ้น

 

หลังจากที่กรรมาธิการแก้จนลดเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ได้นำเสนอ “ความรู้ใหม่” เรื่อง” ฝายชะลอน้ำแกน ดินซีเมนต์” ให้แก่สังคมไทยว่า การแก้ปัญหาด้วยแหล่งน้ำขนาดเล็กเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สามารถ ใช้เพื่อแก้จนให้แก่เกษตรกรไทยได้

ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ความรู้นี้ได้นำไปสู่การถกเถียงกับ”ความรู้แบบดั้งเดิม” ที่เน้น การสร้างแหล่งเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางเป็นหลัก ซึ่งจนกระทั่งถึงขณะนี้ก็ยังคงเป็นทฤษฎีที่ครอบงำสังคมไทยเอาไว้ได้อย่างมั่นคง

จากวันนั้นจนกระทั่งถึงวันนี้ ผมเริ่มเห็นว่าฝายชะลอน้ำแกน ดินซีเมนต์เริ่มที่จะมี “พื้นที่ในสังคม” (public sphey) มากขึ้น ทีละน้อยๆเป็นลำดับ ที่เป็นเช่นนี้ ผมคิดว่าเป็นเพราะมวลชนเริ่ม สามารถยึดกุม “ หลักคิด” ของฝายแบบใหม่ นี้ได้บ้างแล้ว

ในทางทฤษฎีแล้ว เมื่อไร ก็ตามที่ มวลชนสามารถยึดกุม “ หลักคิด” หรือ “ ทฤษฎี” ที่จะทำให้พวกเขามีความหวังต่ออนาคต ทฤษฎีที่พวกเขามั่นใจว่าหากทำแล้วจะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ เมื่อนั้นการเคลื่อนไหวทางสังคมก็จะค่อยๆ ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นไปเอง ตามธรรมชาติด้วย

เมื่อผมเห็นคลิปของอาจารย์ประดิษฐ์ จาก”ชมรมคนรักษ์ ดิน น้ำป่าน่าน” เรื่องฝายชะลอน้ำแก่นดินซิเมนต์ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา และฝายขนาดจิ๋วที่จังหวัดน่าน ก็ดี

รวมทั้งฝายแกนดินซีเมนต์ ที่บ้านไผ่แพะ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ที่ภาพถ่ายเมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมาก็ดี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่มวลชนทำกันเองเคลื่อนไหวกันเอง ถึงประโยชน์ของฝายประเภทนี้ ด้วยความปิติยินดีและเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆได้เข้าร่วมกับการแก้ปัญหาด้วยตัวเองให้มากยิ่งขึ้น (seif-help organization )

ผม เฝ้าสังเกต “พลังของหน่ออ่อนแห่งอนาคต” ในเรื่องของการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กที่กำลังค่อยๆเติบโตขึ้น ในภาคการเกษตรที่ห่างไกล และแร้นแค้นจากการขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในหน้าแล้งมาก่อน ในสังคมไทยด้วยความชื่นชม และคอยเอาใจช่วย หน่ออ่อน เหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในจังหวัดภาคเหนือตอนบนหลายๆจังหวัด ในเวลาไล่เลี่ยกัน ความรู้ที่ถ่ายเทจากกรรมาธิการแก้จนลดเหลื่อมล้ำ จากคณะสว. พบประชาชนภาคเหนือตอนบน จากภาคประชาสังคม จากชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทยจากกลุ่มพนักงานรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง จากผู้ว่าราชการจังหวัดและข้าราชการ ตลอดจนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้หน่ออ่อนเหล่านี้ สามารถมีกำลังผุดขึ้นมาจากผืนแผ่นดิน แห่งอาณาจักรล้านนาในอดีตได้สำเร็จ ผมคิดว่า “พวกเขาคืออนาคต” ที่แท้จริงของประเทศไทย

ผมมั่นใจว่านับวันจะมีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคมที่จะมาเข้าสู่ขบวนแถวของการจัดการปัญหาเรื่องน้ำด้วยตนเองมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ นี่เป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง นี่เป็นแนวโน้มที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้มากครับ

สวัสดีครับ… จากผมเอง

สังศิต พิริยะรังสรรค์

ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา

15 มิถุนายน 2565