ทีมงาน ฤๅ ได้นำเสนอในหลายๆ บทความก่อนหน้านี้แล้วว่า สาเหตุของการเกิด “คณะกู้บ้านกู้เมือง” หรือ “กบฏบวรเดช” นั้น ไม่เกี่ยวกับการพยายามทวงคืนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่เป็นความขัดแย้งกันเองของฝ่ายการเมือง
หากจะปักจุดเริ่มต้นคงต้องว่ากันตั้งแต่การคัดค้าน “สมุดปกเหลือง” หรือร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจที่ทำให้ปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบไปอยู่ฝรั่งเศสชั่วคราว ซึ่งเป็นรอยร้าวแรกระหว่างชนชั้นนำในรัฐบาลขณะนั้น และนำไปสู่เหตุการณ์ “ระทึกขวัญ” ในรัฐสภา จนพระยามโนปกรณ์นิติธาดาตัดสินใจ “ปิดสภา” ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
เหตุการณ์ระทึกขวัญสั้นๆ แต่เป็นสิ่งร่วมส่งแรงสั่นสะเทือน กลายเป็น “สงครามกลางเมือง” (Civil War) ครั้งแรกของประเทศไทยสมัยใหม่
คณะราษฎรมองว่าการปิดสภาครั้งนั้นเป็นการกีดกันพวกตนออกจากเวทีการเมือง จึงทำการยึดอำนาจล้มรัฐบาลพระยามโนฯ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 และตั้งพระยาพหลพลพยุหเสนาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งปฏิบัติการกดปราบบรรดารอยัลลิสต์ไม่ให้มีปากมีเสียงทางการเมือง
และความขัดแย้งนี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนกระทั่งฟางเส้นสุดท้ายขาดสะบั้นลง ทำให้ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” นำกำลังเข้ากรุงเทพฯ เพื่อล้มล้างรัฐบาลพระยาพหลฯ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476
เห็นได้ชัดว่าการเกิดขึ้นของ “คณะกู้บ้านกู้เมือง” ล้วนมีที่มาจากความไม่พอใจที่รัฐบาลคณะราษฎรบริหารประเทศอย่าง “คณาธิปไตย” ไม่ใช่ “ประชาธิปไตย” แบบที่สมอ้างต่อประชาชน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรื้อฟื้นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่อย่างใดเลย
เบื้องหลังที่แท้จริงของเหตุการณ์ “กบฏบวรเดช” เป็นอย่างไร ? เหตุระทึกขวัญในรัฐสภาที่เป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของสงครามกลางเมืองครั้งนั้นคืออะไร ? ไปพบคำตอบในบทความกบฏบวรเดชฉบับกระชับได้ที่นี่ครับ https://bit.ly/3IDfN2R