ทึ่ง! ‘แกนดินซีเมนต์’ ชะลอน้ำหลาก
แก้ ‘น้ำยม’ ท่วมฉับพลัน !
‘สังศิต’ ควงที่ปรึกษาฯ พลเอกประวิตร เห็นจริงกับตา ‘ฝายแกนดินซีเมนต์’ แก้ท่วม เพิ่มน้ำ แก้แล้ง !!
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม เดินทางพร้อม พลเรือเอกพิเชฐ ตานะเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการดำเนินงาน “นวัตกรรมฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์” 2 จุดโดยมีนายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปเกี่ยวกับฝายทั้ง 2 แห่งที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วดังนี้
1. ฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ลำน้ำแม่หล่าย หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8 บ้านบุญเจริญตำบลแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งมีขนาดสันฝายกว้าง 4 เมตร สูง 2 เมตร ยาว 60 เมตร ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณครึ่งเดือน โดยแล้วเสร็จในวันที่ 21 มกราคม 2565 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างเพียง 462,300 บาท
✅ ลำน้ำแม่หล่าย เดิมในฤดูแล้งไม่มีน้ำเลย บางช่วงสามารถเดินข้ามผ่านไปมาได้ หลังจากมีฝายแล้ว ปัจจุบันมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรที่เพียงพอ ชาวบ้านสามารถทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมทำให้เกิดรายได้เพื่มมากขึ้น
2. ฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ในลำน้ำยมที่บ้านน้ำโค้ง ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ ขนาดสันฝายกว้าง 12 เมตร สูง 1.5 เมตร ยาว 92 เมตร ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 เดือน ดำเนินการแล้วเสร็จปลายเดือนมิถุนายน 2565 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 7,203,885 บาท
ฝายแกนดินซีเมนต์ดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 โดยจัดสรรงบประมาณผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในฐานะหน่วยรับงบประมาณ จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ จำนวน 30,854,150 บาท ทั้งนี้ เป็นโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ จำนวน 5 โครงการ งบประมาณรวม 19,359,400 บาท
นายสุภวัฒน์ ศุภศิริ นายกเทศมนตรีตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่รายงานให้นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ และพลเรือเอกพิเชฐ ตานะเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ถึงประโยชน์ที่ได้จากการสร้างฝาย ดังนี้
1. การประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่สามารถนำน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ ให้แก่ ประชาชนจำนวน 13,799 ราย
2. เป็นประโยชน์ต่อระบบประปาหมู่บ้านของตำบลป่าแมต จำนวน 2 หมู่บ้าน
3. โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่สามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ที่ระดับความลึก 30-40 เมตร เนื่องจากน้ำในผืนดินยกระดับสูงขึ้นกว่าเดิมมาก
4. ถ้าสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสูบน้ำได้เต็มที่จะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ทางการเกษตร 2,062 ไร่ ซึ่งจะทำให้ภาคการเกษตรมีรายได้รอบละประมาณ 15 ล้านบาท ถ้า 1 ปีทำได้ 3 รอบจะทำให้มีรายได้ถึง 45 ล้านบาท เป็นรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้น 3-4 หมื่นบาทต่อปี
5. สามารถพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือลานกิจกรรมต่าง ๆ ได้
พลเรือเอกพิเชฐ ตานะเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เผยหลังจากเยี่ยมชมฝายแกนดินซีเมนต์ทั้ง 2 แห่งว่า ‘ท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการน้ำ วันนี้จึงได้ลงมาศึกษาดูงานกับคณะกรรมาธิการฯ เกี่ยวกับนวัตกรรมฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพใช้เวลาและงบประมาณน้อย เพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนต่อไป’
‘ได้เห็นความร่วมมือของประชาชนในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ โดยใช้ฝายแกนดินซีเมนต์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชนในการแก้ไขปัญหาสำหรับแหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยได้รับหนังสือจากประชาชนชาวจังหวัดแพร่ที่ขอรับการสนับสนุนการสร้างแหล่งน้ำ และจะได้นำเสนอรองนายกรัฐมนตรีเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งสำคัญคืองบประมาณที่ต้องดูกันไปตามขั้นตอน อาจต้องใช้เวลาตามกระบวนการ ที่ปรึกษารองนายกฯ กล่าวในที่สุด
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการกล่าวต่อส่วนราชการต่างๆที่ร่วมประชุม ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ว่า การเดินทางลงพื้นที่ศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้เชิญพลเรือเอกพิเชษฐ ตานะเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมนวัตกรรมฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ในพื้นที่จริง ซึ่งในเบื้องต้นได้มีการหารือกันถึงเรื่องการกำหนดมาตรฐานและราคากลางของฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ซึ่งคณะกรรมาธิการ ‘จะรับไปดำเนินการต่อไป’
‘ผมขอชมเชยและขอบคุณ เพราะเป็นหนี้บุญคุณต่อท่านอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ที่กล้านำความรู้เรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ มาปฏิบัติจริง กล้าตัดสินใจลงมือก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์เป็นแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 3,000 ไร่ ประชาชนกว่า 2,000 ครอบครัวที่ได้ประโยชน์จากการตัดสินใจที่กล้าหาญนี้ ‘นายสังศิตกล่าวในที่สุด
ในพื้นที่ๆ เราลงไปนั้น ชาวบ้านบอกกับผมว่าเดี๋ยวนี้ที่บริเวณฝายชาวบ้านสามารถออกไปหาอาหารตามธรรมชาติทั้งปลา กบ หอย แมงดา จิ้งหรีด ได้เป็นจำนวนมาก นอกเหนือจากพืชผักอีกหลากหลายชนิด ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นกว่าเดิมมากนับตั้งแต่มีน้ำ
ผมมองว่าการมีนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี และมีน้ำช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจให้แก่พี่น้องเกษตรกรตกไปได้โดยพื้นฐาน รายได้ของชาวบ้านที่กำลังดีขึ้นจากการได้น้ำเพื่อใช้ในการผลิต การอุปโภคและบริโภคตลอดทั้งปี ยังจะช่วยส่งเสริมความเจริญทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้เจริญงอกงามตามไปด้วย ผมไม่คิดว่าศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นจะเจริญได้ หาก ปัญหาปากท้องของชาวบ้านยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ตกไปเสียก่อน
หากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่และผู้ว่าราชการแพร่ ตลอดจน ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนกลางยังไปในทิศทางเดียวกันแบบนี้อีกระยะหนึ่ง ผมมั่นใจว่าเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่จะเติบโตมากขึ้น การ กระจายรายได้ที่ระดับพื้นฐานจนกระทั่งถึงระดับบนของจังหวัด จะมีความเป็นธรรมมากขึ้นกว่าเดิม เศรษฐกิจของจังหวัดแพร่จะมีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ศิลปะและวัฒนธรรมของ ท้องถิ่นจะรุ่งเรืองขึ้น เป็นแรงส่งให้จำนวนนักท่องเที่ยว ที่มายังจังหวัดแพร่จะพลอยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามไปด้วย ผลที่ติดตามมาจะมีการใช้จ่ายเงิน และการหมุนเวียน ของปริมาณเงินภายในจังหวัดจะสะพัดมากขึ้นด้วย นี่เป็นอนาคตที่ผมคาดว่ารออยู่ๆ เบื้องหน้าของพี่น้องจังหวัดแพร่ครับ
สวัสดีครับ…จากผมเอง
สังศิต พิริยะรังสรรค์
ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
23 กรกฎาคม 2565
แก้ ‘น้ำยม’ ท่วมฉับพลัน !
‘สังศิต’ ควงที่ปรึกษาฯ พลเอกประวิตร เห็นจริงกับตา ‘ฝายแกนดินซีเมนต์’ แก้ท่วม เพิ่มน้ำ แก้แล้ง !!
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565 นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สาม เดินทางพร้อม พลเรือเอกพิเชฐ ตานะเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการดำเนินงาน “นวัตกรรมฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์” 2 จุดโดยมีนายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปเกี่ยวกับฝายทั้ง 2 แห่งที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้วดังนี้
1. ฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ลำน้ำแม่หล่าย หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8 บ้านบุญเจริญตำบลแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งมีขนาดสันฝายกว้าง 4 เมตร สูง 2 เมตร ยาว 60 เมตร ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณครึ่งเดือน โดยแล้วเสร็จในวันที่ 21 มกราคม 2565 ใช้งบประมาณในการก่อสร้างเพียง 462,300 บาท
✅ ลำน้ำแม่หล่าย เดิมในฤดูแล้งไม่มีน้ำเลย บางช่วงสามารถเดินข้ามผ่านไปมาได้ หลังจากมีฝายแล้ว ปัจจุบันมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรที่เพียงพอ ชาวบ้านสามารถทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริมทำให้เกิดรายได้เพื่มมากขึ้น
2. ฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ในลำน้ำยมที่บ้านน้ำโค้ง ตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่ ขนาดสันฝายกว้าง 12 เมตร สูง 1.5 เมตร ยาว 92 เมตร ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 4 เดือน ดำเนินการแล้วเสร็จปลายเดือนมิถุนายน 2565 โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 7,203,885 บาท
ฝายแกนดินซีเมนต์ดังกล่าวดำเนินการก่อสร้างโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 โดยจัดสรรงบประมาณผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ในฐานะหน่วยรับงบประมาณ จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ จำนวน 30,854,150 บาท ทั้งนี้ เป็นโครงการก่อสร้างฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ จำนวน 5 โครงการ งบประมาณรวม 19,359,400 บาท
นายสุภวัฒน์ ศุภศิริ นายกเทศมนตรีตำบลป่าแมต อำเภอเมืองแพร่รายงานให้นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ และพลเรือเอกพิเชฐ ตานะเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ถึงประโยชน์ที่ได้จากการสร้างฝาย ดังนี้
1. การประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่สามารถนำน้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคในเขตพื้นที่อำเภอเมืองแพร่ ให้แก่ ประชาชนจำนวน 13,799 ราย
2. เป็นประโยชน์ต่อระบบประปาหมู่บ้านของตำบลป่าแมต จำนวน 2 หมู่บ้าน
3. โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่สามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ที่ระดับความลึก 30-40 เมตร เนื่องจากน้ำในผืนดินยกระดับสูงขึ้นกว่าเดิมมาก
4. ถ้าสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าสูบน้ำได้เต็มที่จะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ทางการเกษตร 2,062 ไร่ ซึ่งจะทำให้ภาคการเกษตรมีรายได้รอบละประมาณ 15 ล้านบาท ถ้า 1 ปีทำได้ 3 รอบจะทำให้มีรายได้ถึง 45 ล้านบาท เป็นรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้น 3-4 หมื่นบาทต่อปี
5. สามารถพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือลานกิจกรรมต่าง ๆ ได้
พลเรือเอกพิเชฐ ตานะเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เผยหลังจากเยี่ยมชมฝายแกนดินซีเมนต์ทั้ง 2 แห่งว่า ‘ท่านรองนายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารจัดการน้ำ วันนี้จึงได้ลงมาศึกษาดูงานกับคณะกรรมาธิการฯ เกี่ยวกับนวัตกรรมฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพใช้เวลาและงบประมาณน้อย เพื่อหาแนวทางในการสนับสนุนต่อไป’
‘ได้เห็นความร่วมมือของประชาชนในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ โดยใช้ฝายแกนดินซีเมนต์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีของประชาชนในการแก้ไขปัญหาสำหรับแหล่งน้ำขนาดเล็ก โดยได้รับหนังสือจากประชาชนชาวจังหวัดแพร่ที่ขอรับการสนับสนุนการสร้างแหล่งน้ำ และจะได้นำเสนอรองนายกรัฐมนตรีเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สิ่งสำคัญคืองบประมาณที่ต้องดูกันไปตามขั้นตอน อาจต้องใช้เวลาตามกระบวนการ ที่ปรึกษารองนายกฯ กล่าวในที่สุด
นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการกล่าวต่อส่วนราชการต่างๆที่ร่วมประชุม ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ว่า การเดินทางลงพื้นที่ศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้เชิญพลเรือเอกพิเชษฐ ตานะเศรษฐ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมชมนวัตกรรมฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ในพื้นที่จริง ซึ่งในเบื้องต้นได้มีการหารือกันถึงเรื่องการกำหนดมาตรฐานและราคากลางของฝายชะลอน้ำแกนดินซีเมนต์ซึ่งคณะกรรมาธิการ ‘จะรับไปดำเนินการต่อไป’
‘ผมขอชมเชยและขอบคุณ เพราะเป็นหนี้บุญคุณต่อท่านอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ ที่กล้านำความรู้เรื่องนวัตกรรมใหม่ๆ มาปฏิบัติจริง กล้าตัดสินใจลงมือก่อสร้างฝายแกนดินซีเมนต์เป็นแห่งแรกในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 3,000 ไร่ ประชาชนกว่า 2,000 ครอบครัวที่ได้ประโยชน์จากการตัดสินใจที่กล้าหาญนี้ ‘นายสังศิตกล่าวในที่สุด
ในพื้นที่ๆ เราลงไปนั้น ชาวบ้านบอกกับผมว่าเดี๋ยวนี้ที่บริเวณฝายชาวบ้านสามารถออกไปหาอาหารตามธรรมชาติทั้งปลา กบ หอย แมงดา จิ้งหรีด ได้เป็นจำนวนมาก นอกเหนือจากพืชผักอีกหลากหลายชนิด ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้นกว่าเดิมมากนับตั้งแต่มีน้ำ
ผมมองว่าการมีนวัตกรรมทางด้านเทคโนโลยี และมีน้ำช่วยให้สามารถแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจให้แก่พี่น้องเกษตรกรตกไปได้โดยพื้นฐาน รายได้ของชาวบ้านที่กำลังดีขึ้นจากการได้น้ำเพื่อใช้ในการผลิต การอุปโภคและบริโภคตลอดทั้งปี ยังจะช่วยส่งเสริมความเจริญทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้เจริญงอกงามตามไปด้วย ผมไม่คิดว่าศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นจะเจริญได้ หาก ปัญหาปากท้องของชาวบ้านยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ตกไปเสียก่อน
หากองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่และผู้ว่าราชการแพร่ ตลอดจน ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลส่วนกลางยังไปในทิศทางเดียวกันแบบนี้อีกระยะหนึ่ง ผมมั่นใจว่าเศรษฐกิจของจังหวัดแพร่จะเติบโตมากขึ้น การ กระจายรายได้ที่ระดับพื้นฐานจนกระทั่งถึงระดับบนของจังหวัด จะมีความเป็นธรรมมากขึ้นกว่าเดิม เศรษฐกิจของจังหวัดแพร่จะมีความมั่นคงแข็งแรงขึ้น ศิลปะและวัฒนธรรมของ ท้องถิ่นจะรุ่งเรืองขึ้น เป็นแรงส่งให้จำนวนนักท่องเที่ยว ที่มายังจังหวัดแพร่จะพลอยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามไปด้วย ผลที่ติดตามมาจะมีการใช้จ่ายเงิน และการหมุนเวียน ของปริมาณเงินภายในจังหวัดจะสะพัดมากขึ้นด้วย นี่เป็นอนาคตที่ผมคาดว่ารออยู่ๆ เบื้องหน้าของพี่น้องจังหวัดแพร่ครับ
สวัสดีครับ…จากผมเอง
สังศิต พิริยะรังสรรค์
ประธานคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
23 กรกฎาคม 2565