เรื่องฮอต ประเด็นฮิต » #3 นิ้วเงิบ ! ศาลยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว ฟ้องนายก-ผบ.สส. ปม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

#3 นิ้วเงิบ ! ศาลยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราว ฟ้องนายก-ผบ.สส. ปม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

23 August 2022
188   0

    เมื่อวันที่ 23 ส.ค.65 ศาลเเพ่งนัดอ่านคำสั่งในคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวการชุมนุมในคดีที่ เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ที่ผ่านมา นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความประจำศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยตัวแทน นิสิต และนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย นายกองค์การบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ

ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) เป็นจำเลย ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเพิกถอน มาตรา 9 พรก.ฉุกเฉินฯ เเละข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 47 และ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ฉบับที่ 15 และขอให้ศาลเปิดไต่สวนเพื่อคุ้มครองชั่วคราว

โดยศาลมีการไต่สวนฉุกเฉินเเละมีคำสั่งในวันนี้ว่า พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าโจทก์ทั้ง 7 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 47) ลงวันที่ 27 ก.ค.65 ข้อ 3 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ

ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ลงวันที่ 1 ส.ค.65 ข้อ 5 และวรรคท้าย ความตามทางไต่สวนว่า เมื่อวันที่27 ก.ค.65 จำเลยที่ 1 ในฐานะนายกรัฐมนตรี ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 3 ความว่า “การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพ ของประชาชนที่ย่อมกระทำได้ภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย

โดยให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กำหนด ในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและ ป้องกันการระบาดของโรค ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบ ระงับยับยั้ง หรือยุติการ ชุมนุม การทำกิจกรรม หรือมั่วสุม ที่จัดขึ้นโดยมีลักษณะต่อการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) กำหนดมาตรการขึ้นเป็น การเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชน

รวมทั้งการอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม รวมไปถึงกำหนดมาตรการอื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์ได้…” ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ส.ค.65 จำเลยที่ 2ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบได้ออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ลงวันที่ 1 ส.ค.65 ข้อ 5 ความว่า “ให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม

รวมทั้งหน้าที่ ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมการสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม” และ ในวรรคท้าย ความว่า “หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา 18 แห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน4 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ”

ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว โจทก์ทั้ง 7 อ้างว่า เป็นกฎหมายระดับรอง ซึ่งออกมาเพื่อเพิ่มโทษบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะซึ่งเป็นพรบ.และกฎหมายระดับสูงกว่าโดยมีการกำหนดโทษ หนักขึ้นไปกว่าที่กำหนดไว้ในพรบ.การชุมนุมสาธารณะฯ ทั้งการระบุเนื้อความ ไว้ในข้อกำหนด ฯ ข้อ 3 ยังเป็นการเปิดช่องให้จำเลยที่ 2ในฐานะหัวหน้า

ศปม. กำหนดมาตรการขึ้นเองเป็นการเฉพาะให้สามารถระงับยับยั้ง หรือยุติการชุมนุม ได้ด้วยตนเองทันที โดยไม่ต้องผ่านกลไกการร้องขอต่อศาลเหมือนที่ได้รับ การคุ้มครองไว้ตามพรบ.การชุมนุมสาธารณะฯ ข้อกำหนดฯ และประกาศฯ ซึ่งออกโดยจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการสร้างภาระให้แก่โจทก์เกินสมควรแก่เหตุ เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของโจทก์ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

เห็นว่าแม้ว่าข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พรก.ฉุกเฉินฯลงวันที่ 27 ก.ค.65 ข้อ 3 วรรคท้าย ให้อำนาจศปม. กำหนด มาตรการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกและดูแลการ ชุมนุม แต่การออกมาตรการดังกล่าวย่อมต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อที่ 3 กล่าวคือ ต้องออกมาตรการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการ ระบาดของโรค

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประกาศของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วน ที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องการห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดฯข้อ 5 ซึ่งเป็น มาตรการที่ออกโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับความมั่นคง

โดยอาศัยนัยยะตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏว่าเนื้อความในข้อกำหนดส่วนใดว่า ผู้ที่จะชุมนุมหรือจัดให้ชุมนุมจะต้องดำเนินการตามมาตรการของประกาศ ดังกล่าวอย่างไร และไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดมาตรการใดอย่างไรที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใน การควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค

ดังนั้นประกาศฉบับดังกล่าวจึงถือว่า ยังไม่ได้ออกตามความ ในข้อ 3 วรรคท้าย ของข้อกำหนดที่จำเลยที่ 1 ประกาศ อันน่าจะเป็นผลให้ประกาศของจำเลยที่ 2 ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อกำหนดดังกล่าวที่จะนำมาบังคับใช้กับผู้ชุมนุม ซึ่งรวมถึง โจทก์ทั้ง 7 ในการจัดการชุมนุมภายใต้สิทธิที่มีอยู่โดยชอบตามรัฐธรรมนูญได้

แต่ตามทางไต่สวนของ โจทก์ทั้ง 7 ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้ง 7 ดำเนินการใดๆ ตามข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวจน ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ประกอบกับเนื้อความในข้อ 3 วรรคท้าย ของข้อกำหนดดังกล่าว เป็นเพียงการวางเงื่อนไขในการออกมาตรการเท่านั้น

เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ออกมาตรการย่อม ไม่ถือว่าโจทก์ทั้ง7 จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการการทำของจำเลยทั้ง 2 ในชั้นนี้ จึงยังไม่มีเหตุจำเป็น และสมควรในการที่จะนำวิธีการชั่วคราว ก่อนพิพากษามาใช้เพื่อระงับการบังคับใช้ ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) มาตรา 255(2) (ข) ประกอบมาตรา 267 วรรคหนึ่ง ยกคำร้อง