ดร.สุกิจ พูลศรีเกษม ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ได้โพสต์ระบุข้อความว่า..
วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ บทพิสูจน์รัฐธรรมนูญ
ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2560 กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯ จะดำรงตำแหน่งเกิน 8 ปี ตามมาตรา 158วรรค4 ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งนายกฯ ติดต่อกันหรือไม่ติดต่อกันก็ตาม แต่ทว่า การเริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์ ยังเป็นข้อถกเถียงอยู่ว่าจะเริ่มนับเมื่อไร
ปัญหาข้อเท็จริง
ข้อเท็จจริงรับฟังได้เป็นที่ยุติ ตามประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ผู้รับสนองพระราชองค์การ คือนายชวน หลีกภัย ประธานสภา ผู้แทนราษฎร์ ให้ประกาศว่า ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ลงมติ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562
เห็นชอบด้วยแต่งตั้ง พล อ.ประยุทธ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา ประกาศณ.วันที่ 9 มิถุนายน 2562
ด้วยเหตุนี้ การตีความวาระการดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกประยุทธ นับตั้งแต่วันดำรงค์ตำแหน่งเป็นนายกหลังจากเลือกตั้งในปี 2562 หรือวันที่ 9 ทมิถุนายน 2560
ปัญหาข้อกฏหมาย
แม้ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา จะเป็นนายยกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 ในขณะนั้น ก็ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองใช้บังคับ จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ 2560
ด้วยเหตุดังกล่าว การตีความตามรัฐธรรมนูญ พศ.2562 นั้นเจตนาของรัฐธรรมนูญจึงไม่มีผลย้อนหลัง จึงต้องตีความนับตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2562 เป็นต้นไป
วาระนายกฯ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ดำรงค์ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 5 มิถุนายน 2570
แม้จะมีข่าวความเห็นส่วนตัวของผู้ร่างกฏหมายออกมามีความเห็นต่างกับประกาศ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ก็เป็นความเห็นส่วนตัวไม่ใช่ข้อกฏหมาย
เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฏหมายสูงสุด
ความเห็นส่วนตัวของผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญเป็นเพียงความรู้สึก ที่กฏหมายยอมรับกันหรือไม นะครับ
ดร.สุกิจ พูนศรีเกษ